ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิอำนาจนิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2:
'''อำนาจนิยม''' ({{lang-en|authoritarianism}}) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่อ[[อำนาจหน้าที่]] ตามปกติมักตรงข้ามกับ[[ปัจเจกนิยม]]และ[[อิสรนิยม]] ในทาง[[การเมือง]] รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก
 
อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บน[[อุดมการณ์ทางการเมือง]]แบบ[[เผด็จการ]]ชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือ[[รัฐ]] หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงดำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103)<ref>Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.</ref> โดยมักจะไม่คำนึงถึง[[สิทธิ]] [[เสรีภาพ]]ของ[[ประชาชน]] ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็น[[ปฏิปักษ์]]กับผู้นำ ควบคุม[[สื่อมวลชน]] ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ
 
กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของ[[มนุษยชาติ]] ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึง[[ระบอบการปกครอง]]ที่ไม่เป็น[[ประชาธิปไตย]] ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดย[[สิทธิ]] [[เสรีภาพ]] และ[[ความเสมอภาค]]ของ[[ประชาชน]] ในขณะที่[[สิทธิ]] [[เสรีภาพ]]ของ[[ประชาชน]]มีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าใน[[สังคม]] ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่[[เสรีภาพ]]ของ[[สื่อมวลชน]]และ[[ประชาชน]]ที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ