ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Daisypalette (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขจำนวนรวมพระโอรสและพระธิดา เนื่องจากทราบแล้วว่าแฝดเป็นเพศหญิง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39:
}}
 
นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก '''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ''' (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) พระนามเดิม '''พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร''' เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประสูติแต่[[เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4|เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมเอก]] และเป็นองค์ต้น[[:หมวดหมู่:ราชสกุลดิศกุล|ราชสกุลดิศกุล]]<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=32|issue=0 ง|pages=137|title=ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/135.PDF|date= 18 เมษายน 2458|accessdate=7 มีนาคม 2562|language=ไทย}}</ref> ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า "เสด็จพระองค์ดิศ" ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญทางการทหารและพลเรือน เช่น เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก อธิบดีกรมศึกษาธิการ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร นายกราชบัณฑิตสภา และยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีใน[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
 
นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารถในด้านการศึกษา สาธารณสุข ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรม ทรงได้รับพระสมัญญานามเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย" ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ที่ประชุมใหญ่ของ[[องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ|องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม]]แห่ง[[สหประชาชาติ]] (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องพระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย<ref>UNESCO ยกย่อง "กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.trueplookpanya.com/blog/content/51031/-timhis-tim-], 2560. สืบค้น 8 มีนาคม 2562.</ref> และวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น "วันดำรงราชานุภาพ" กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์<ref>ขอให้กำหนดวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันดำรงราชานุภาพ" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=175952&key_word=%C7%D1%B9%B4%D3%C3%A7%C3%D2%AA%D2%B9%D8%C0%D2%BE&owner_dep=&meet_date_dd=27&meet_date_mm=11&meet_date_yyyy=2544&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=&meet_date_mm2=&meet_date_yyyy2=, 2544. สืบค้น 8 มีนาคม 2562.</ref>
 
== พระประวัติ ==
บรรทัด 49:
<blockquote>"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไปเทอญ"</blockquote>
 
ชาววังโดยทั่วไป เรียกกันว่า "เสด็จพระองค์ดิศ" โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำเอานามของ[[พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)]] ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาชุ่มมาตั้งพระราชทาน เนื่องจากทรงพระราชดำริว่าท่านเป็นคนซื่อตรง<ref>สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 2-3</ref>
 
=== ทรงศึกษา ===
บรรทัด 62:
 
=== สิ้นพระชนม์ ===
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่มประชวรด้วยโรคพระหทัยพิการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 จึงเสด็จกลับมารักษาพระอาการประชวรในประเทศไทย (ก่อนหน้านั้นทรงประทับอยู่ต่างประเทศ จากเหตุการณ์[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]]) พระอาการทรงและทรุดเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ที่[[วังวรดิศ]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]] สิริพระชันษา 81 ปี<ref name=":0" /><ref name=":1" />
 
== พระกรณียกิจ ==
บรรทัด 213:
== พระราชานุสาวรีย์ ==
[[ไฟล์:พระราชานุสาวรีย์กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.jpg|thumb|พระราชานุสาวรีย์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บริเวณหน้าศาลาว่าการ[[กระทรวงมหาดไทย]]]]
[[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] ได้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในลักษณะประทับนั่ง บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย [[ถนนอัษฎางค์]] แขวงวัดราชบพิตร [[เขตพระนคร]] กรุงเทพฯ[[กรุงเทพมหานคร]]
 
== วันดำรงราชานุภาพ ==
'''วันดำรงราชานุภาพ''' ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ สืบเนื่องจากการที่พระองค์เป็นบุคคลไทยพระองค์แรกที่ได้รับการยกย่องจาก[[องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ|องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม]]แห่ง[[สหประชาชาติ]] (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 และทรงได้รับการถวายพระนามเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==