ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hokey176 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ความคืบหน้า: แก้ตัวเลขที่ตกหล่นเติมลงไปถูกต้องแล้วครับ
บรรทัด 272:
* 7 กันยายน พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ รฟม. ได้มีการจัดการประชุมนัดพิเศษ และมีมติเห็นชอบในรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และการให้ผู้ให้บริการรายเดียวเดินรถครบทั้งสายมูลค่าการลงทุนรวม 143,000 ล้านบาท ภายใต้รูปแบบสัญญาการร่วมลงทุน PPP-Net Cost โดยจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมเห็นชอบภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 เสนอให้คณะรัฐมนตรีรวมถึงคณะกรรมการพีพีพีเห็นชอบภายในปีนี้ และเปิดประมูลโครงการอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2562 เพื่อให้การดำเนินการเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสีส้มส่วนตะวันออกสามารถเปิดดำเนินการได้ใน พ.ศ. 2566 โดยในร่างสัญญาเอกชนผู้ประมูลงานจะต้องเสนอราคาค่าก่อสร้างงานโยธาโดยรวมทั้งระบบภายใต้งบประมาณไม่เกิน 96,000 ล้านบาท และเสนอความคุ้มค่าและความเสี่ยงในการรับภาระส่วนแบ่งค่าโดยสาร<ref>[https://www.khaosod.co.th/economics/news_1555238 บอร์ดรฟม. ไฟเขียวโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก คาดประมูลได้ปี’62]</ref>
* 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ คณะกรรมการพีพีพี มีมติไม่อนุมัติการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกภายใต้กรอบวงเงิน 128,000 ล้านบาท หลังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มีข้อกังขาในเรื่องการเปิดประมูลโครงการด้วยการรวมงานก่อสร้างและงานเดินรถเป็นสัญญาเดียว จากเดิมที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ดำเนินการโครงสร้างส่วนตะวันออกโดยการเปิดประมูลแยกเป็นรายสัญญาไป ว่าการประมูลจะเป็นการเอื้อผลประโยชน์แก่เอกชน หรืออาจเป็นการสมยอมราคากันหรือไม่ จึงขอให้ รฟม. ทบทวนรูปแบบการลงทุนใหม่เพื่อหาความเหมาะสมร่วมกัน<ref>[https://www.prachachat.net/property/news-269429 สภาพัฒน์ขวางแผนลงทุนสายสีส้มค่างาน 1.3 แสนล.]</ref>
* 9 มกราคม พ.ศ. 25612562 นายประคิน อรุโณทอง Senior Vice President สายงานการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 3 (โครงสร้างใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า) ได้จัดพิธีเริ่มดำเนินงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ โดยมีนายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นประธานในพิธี การก่อสร้างตามสัญญาดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นที่สถานีคลองบ้านม้า ถนนรามคำแหง มุ่งหน้าไปถนนพระรามที่ 9 และสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาที่ 3 ที่สถานีหัวหมาก ทั้งนี้อิตาเลียนไทยคาดว่ากระบวนการก่อสร้างอุโมงค์แรกจะใช้เวลาทั้งหมด 12 เดือน หลังจากนั้นจะดำเนินการรื้อถอนอุปกรณ์ทั้งหมดกลับมาติดตั้งที่สถานีคลองบ้านม้า แล้วดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ที่สองต่อทันที คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการภายในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี พ.ศ. 2564<ref>[https://www.prachachat.net/property/news-275692 กดปุ่มเจาะอุโมงค์ใต้ดินสายสีส้มช่วง “หัวหมาก-คลองบ้านม้า” ITD ทุ่ม400ล้าน เร่งงานเสร็จ2ปี]</ref>
* 9 มกราคม พ.ศ. 25612562 นายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดเผยว่า รฟม. ยืนยันที่จะเปิดประมูลโครงการส่วนตะวันตกทั้งหมดภายใต้สัญญาเดียว มูลค่าการลงทุนรวม 235,320 ล้านบาท หลังจากที่เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการพีพีพีมีมติไม่อนุมัติโครงการเนื่องจากสภาพัฒน์มีข้อกังขาเรื่องการรวมงานก่อสร้างและงานเดินรถเป็นสัญญาเดียว โดยทางสภาพัฒน์เกรงว่าหากรวมเป็นสัญญาเดียวจะทำให้มีเอกชนเข้าร่วมประมูลน้อยราย ดังเช่นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่มีเอกชนเข้ามาซื้อซองกว่า 31 ราย แต่มีผู้เข้าประมูลจริงเพียง 2 กลุ่มกิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของเอกชนเพียง 8 รายเท่านั้น ทั้งนี้ รฟม. ได้อธิบายให้สภาพัฒน์เข้าใจและเห็นชอบในรายละเอียดโครงการแล้ว โดยระบุว่าด้วยตัวเลขของวงเงินลงทุนที่เอกชนต้องลงทุน จะทำให้รัฐฯ ได้เอกชนที่มีศักยภาพในการลงทุนและดำเนินงานเข้ามาบริหารจัดการโครงการอย่างเป็นระบบ<ref>[https://mgronline.com/business/detail/9620000002707 รฟม.ยันโมเดล PPP สายสีส้มตะวันตก เอกชนลงทุนทั้งโยธา-ระบบ]</ref>
* 21 มกราคม พ.ศ. 25612562 นางปานทิพย์ ศรีพิมล ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เปิดเผยถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการพีพีพีครั้งที่ 1/2561 ว่า ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี ภายใต้กรอบวงเงินการลงทุนรวม 235,320 ล้านบาท โดยที่ประชุมมีมติให้ดำเนินโครงการภายใต้รูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนกรรมสิทธิ์และการจัดสรรที่ดินสำหรับโครงการ เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาเฉพาะส่วนตะวันตก จัดหาระบบรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการทั้งส่วนตะวันออกและตะวันตก บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานี และจัดเก็บค่าโดยสารภายใต้กรอบระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มเดินรถในส่วนตะวันออก<ref>[https://www.prachachat.net/property/news-280531?fbclid=IwAR10BSzEbFayTBSnl9PPBrI00H8OfytC7paCVIPTtdE5DcKQvCqU5icdq0E “สมคิด” ไฟเขียวเอกชนลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก 2.35 แสนล้านบาท แบบ PPP Fast Track]</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==