ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิธีสำเร็จการศึกษาในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
นพดล คำกองแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{สากล}}
[[ไฟล์:The king and graduation ceremony.jpg|thumb|right|250px|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานปริญญาบัตร แก่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีประจำปีการศึกษา 2520 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
 
'''พิธีสำเร็จการศึกษา''' ({{lang-en|graduation ceremony}}) เป็นพิธีการพิเศษซึ่ง[[สถาบันอุดมศึกษา]]จัดขึ้นเพื่อมอบปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจัดให้มีขึ้นในต่างประเทศมาก่อน เช่นสหรัฐอเมริกาหรือหลายประเทศในทวีปยุโรป ต่อมาประเทศไทยจึงเริ่มรับเอาประเพณีดังกล่าวเข้ามา โดยกราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์ เพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน จึงบัญญัติศัพท์ให้เรียกว่า ''พิธีพระราชทานปริญญาบัตร'' ทั้งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ ภายหลังมีสถาบันอุดมศึกษาจัดพิธีอย่างเดียวกันโดยมิได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์ หรือกราบทูลเชิญพระบรมวงศ์เสด็จพระราชดำเนิน หรือทูลเชิญพระอนุวงศ์เสด็จไปทรงเป็นประธาน จึงบัญญัติเป็นศัพท์เรียกขึ้นใหม่ว่า ''พิธีประสาทปริญญาบัตร''
 
== พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ==
'''พิธีพระราชทานปริญญาบัตร''' มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473<ref name="ครั้งแรก"> [http://www.memocent.chula.ac.th/knowledge/kn01.html พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม]</ref> และปฏิบัติสืบต่อกันมา [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช]], [[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเป็นประจำทุกปี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[พระบรมวงศ์]]คือ [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี|สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]], [[สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี|สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี]], [[ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี]] และ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ]] เสด็จแทนพระองค์
 
=== พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ===
บรรทัด 21:
ในระหว่างเสด็จฯ นิวัตประเทศไทย เป็นครั้งที่สอง [[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร]] เสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์<ref>[http://www.chula.ac.th/chula/th/about/king_Ananda_mahidol_th.html จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร]</ref> และเมื่อวันที่ 23 เมษายน เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต[[มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์]] (หรือ[[มหาวิทยาลัยมหิดล]]ในปัจจุบัน) เป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัย โดยในครั้งนั้น มีพระราชประสงค์ให้ผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นให้เพียงพอแก่ประชาชน เพราะขณะนั้นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์รับนักศึกษาแพทย์ได้เพียงปีละ 50 คน ต่อมาจึงก่อตั้ง[[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์]] (หรือ[[คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ในปัจจุบัน) เพื่อรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มตามพระราชประสงค์ดังกล่าว<ref>[http://kanchanapisek.or.th/kp11/intro/index.th.html มูลนิธิอานันทมหิดล : ความเป็นมาและวัตถุประสงค์]</ref> <ref>[https://www.md.chula.ac.th/about.php ประวัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref>
 
=== พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ===
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรแก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ของรัฐตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา โดยเสด็จพระราชดำเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก[[มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์]] ประจำปีการศึกษา 2492-2493 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2493 นับเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชกาล หนังสือพิมพ์เคยคำนวณว่า หากเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับนั่งครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการพระราชทานลง โดยเสนอให้พระราชทานปริญญาบัตรเฉพาะระดับมหาบัณฑิตขึ้นไปเท่านั้น แต่มีพระราชกระแสตอบว่า ทรง "เสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปี ๆ เปรียบกันไม่ได้เลย"<ref name="ครองใจคน">อมิตา อริยอัชฌา, ครองใจคน : หลากเหตุผลที่คนไทยรักในหลวง, บลิสสิเนส, 2548</ref> นอกจากนี้ ทรงเห็นว่า การพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมีความสำคัญ เนื่องจากบางคนอาจไม่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ดังนั้นจึงมีรับสั่งว่า "จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"<ref name="ครองใจคน"/> พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเป็นระยะเวลามากกว่า 50 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2544 จึงต้องยุติพระราชกิจในการนี้ลง ด้วยพระชนมายุมากขึ้นประกอบกับทรงพระประชวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์
 
==== ผู้แทนพระองค์ ====
ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยประดับธงชาติไทย ธงประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และธงประจำพระองค์ในพระบรมวงศ์ซึ่งเสด็จแทนพระองค์ เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จไปถึง ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนพระแท่นหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับ ให้ทอดผ้าทิพย์อันประดับด้วย[[พระครุฑพ่าห์]]เพื่อสื่อความหมาย เสมือนเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
 
==== มหาวิทยาลัยเอกชน ====
บรรทัด 31:
 
=== พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ===
เสด็จพระราชดำเนินเพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]], [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] และ[[มหาวิทยาลัยราชภัฏ]]ทั่วประเทศ รวมทั้ง [[มหาวิทยาลัยสวนดุสิต]] [[มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์]] เป็นประจำทุกปีการศึกษา นอกจากนี้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาของสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่สถาบันที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินฯ) โดยประดับธงชาติไทย ธงประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และธงประจำพระองค์ในพระบรมวงศ์ซึ่งเสด็จแทนพระองค์ เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จไปถึง ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนพระแท่นหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับ ให้ทอดผ้าทิพย์อันประดับด้วย[[พระครุฑพ่าห์]]เพื่อสื่อความหมาย เสมือนเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
 
=== สถานที่พระราชทานและประทานปริญญาบัตร ===
บรรทัด 163:
| [[มหาวิทยาลัยแม่โจ้]] || ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยแม่โจ้<br/>[[อำเภอสันทราย]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] || || [[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] || [[ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี]]<br/>มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [[อำเภอหาดใหญ่]] [[จังหวัดสงขลา]]
|-
| [[สถาบันมหาวิทยาลัยการพลศึกษากีฬาแห่งชาติ]] || อาคารใหม่ สวนอัมพร [[พระราชวังดุสิต]]
[[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| || [[ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์]]