ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมองมนุษย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pphongpan355 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8314025 โดย JBotด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 30:
เปลือกสมองมนุษย์เป็นชั้นเนื้อเยื่อประสาทหนาที่คลุมสมองส่วนใหญ่ ชั้นนี้พับเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวซึ่งสามารถจุในปริมาตรเท่าที่มี รูปแบบการพับเหมือนกันในแต่ละบุคคล แม้มีการแปรผันเล็กน้อยอยู่มาก เปลือกสมองแบ่งเป็นสี่ "กลีบ" เรียก [[กลีบหน้า]] [[กลีบข้าง]] [[กลีบขมับ]]และ[[กลีบท้ายทอย]] (ระบบจำแนกบางระบบยังรวมกลีบลิมบิกและถือเปลือกอินซูลาร์ [insular cortex] เป็นกลีบหนึ่งด้วย) ในแต่ละกลีบมีพื้นที่เปลือกจำนวนมาก แต่ละพื้นที่กลีบสัมพันธ์กับหน้าที่เฉพาะ ซึ่งรวมการเห็น การควบคุมสั่งการและภาษา เปลือกสมองฝั่งซ้ายและขวาโดยคร่าว ๆ มีรูปทรงคล้ายกัน และพื้นที่กลีบส่วนมากมีซ้ำกันทั้งสองขวา ทว่า บางพื้นที่มีเฉพาะข้างหนึ่งอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาษา ในคนส่วนมาก ซีกซ้าย "เด่น" สำหรับภาษา ขณะที่ซีกขวามีบทบาทเพียงเล็กน้อย มีหน้าที่อื่นเช่น [[มิติสัมพันธ์]] ซึ่งซีกขวาโดยปกติเด่น
 
แม้สมองมนุษย์ได้รับการป้องกันจากกระดูกที่หนาของ[[กะโหลก]] แขวนใน[[น้ำหล่อสมองไขสันหลัง]] และแยกจากกระแสเลือดด้วย[[blood–brain barrier|เยื่อกั้นเลือด–สมอง]] กระนั้น ยังไวต่อความเสียหายและโรค ความเสียหายทางกายภาพแบบที่พบมากที่สุด คือ การบาดเจ็บที่ศีรษะแบบปิด (closed head injury) เช่น การทุบศีรษะ [[โรคหลอดเลือดสมอง]] หรือภาวะเป็นพิษจากสารเคมีหลายชนิดที่เป็นพิษต่อประสาท การติดเชื้อของสมอง แม้รุนแรง แต่พบน้อยเนื่องจากมีเยื่อกั้นชีวภาพป้องกันอยู่ สมองมนุษย์ยังไวต่อโรคการเสื่อม เช่น [[โรคพาร์กินสัน]] [[โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง]]และ[[โรคอัลไซเมอร์]] มีภาวะพลังจิตจิตเวชจำนวนหนึ่ง เช่น [[โรคจิตเภท]]และ[[ภาวะซึมเศร้าหาย|ปกติธรรมด​า]] คาดว่าสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ปกติของสมอง แม้ธรรมชาติของวิกลภาพของสมองดังกล่าวยังไม่เข้าใจกันดีมาก
 
== โครงสร้าง ==
บรรทัด 40:
 
=== ลักษณะทั่วไป ===
สมองมนุษย์มีคุณสมบัติซึ่งพบร่วมในสมองสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดหลายประการ ซึ่งรวมการแบ่งพื้นฐานเป็นสามส่วน เรียก [[สมองส่วนหน้า]] [[สมองส่วนกลาง]]และ[[สมองส่วนหลัง]] โดยมี[[โพรงสมอง]]ซึ่งมีของเหลวบรรจุอยู่ และชุดโครงสร้างสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั่วไปซึ่งรวม[[ก้านสมองส่วนท้าย|ก้านสมองส่วนท้ายดี]]และ[[พอนส์]]ของ[[ก้านสมอง]], [[สมองน้อย]], [[optic tectum|สิ่งคล้ายหลังคาตา]] (optic tectum), [[ทาลามัส]], [[ไฮโปทาลามัส]], [[ปมประสาทฐาน]] (basal ganglia), [[olfactory bulb|ส่วนป่องรู้กลิ่น]] (olfactory bulb) ฯลฯ
 
เนื่องจากมนุษย์เป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] สมองมนุษย์จึงมีลักษณะพิเศษซึ่งพบร่วมในสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ที่สำคัญสุดคือ เปลือกสมองใหญ่หกชั้นและชุดโครงสร้างที่สัมพันธ์กัน เช่น [[ฮิปโปแคมปัส]]และ[[อะมิกดาลา]] สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีสมองส่วนหน้าซึ่งผิวด้านบนคลุมด้วยชั้นเนื้อเยื่อประสาท เรียก พัลเลียม (pallium) แต่ยกเว้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พลัลเยมเป็นโครงสร้างเซลล์สามชั้นค่อนข้างเรียบง่าย ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พัลเลียมมีโครงสร้างเซลล์หกชั้นที่ซับซ้อนกว่า และได้ชื่อใหม่ว่า เปลือกสมองใหญ่ ฮิปโปแคมปัสและอะมิกดาลายังกำเนิดจากพัลเลียมด้วย แต่ซับซ้อนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมาก