ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเขมราฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 23:
'''เขมราฐ''' แปลว่า ดินแดนแห่งความเกษมสุข<ref>อำเภอเขมราฐ อ่านว่า เข-มะ-ราด. เมือง "เขมราษฎร์ธานี" ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น "เขมราฐ" ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็มีความหมายเดียวกัน คือ "ดินแดนแห่งความเกษมสุข" (ราษฎร์ = รัฐ, รัฎฐ์ = แว่น แคว้น หรือ ดินแดน ส่วนคำว่า "เขม" หมายถึง ความเกษมสุข) (ที่มา : นามานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี) </ref> เป็นอำเภอหนึ่งใน[[จังหวัดอุบลราชธานี]] อยู่ริม[[แม่น้ำโขง]] อำเภอเขมราฐอยู่ริมแม่น้ำโขงเป็นระยะทางยาวกว่า 40 กิโลเมตร ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองสองคอน แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว เขมราฐเป็นเมืองที่มีทัศนียภาพแม่น้ำโขงที่สวยงาม หาดทรายที่มีชื่อเสียงคือ หาดทรายสูง และ จะมีการแข่งเรือยาวอำเภอเขมราฐซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
== ประวัติศาสตร์ ==
[[ไฟล์:พระเทพวงศา (เจ้าก่ำ).jpg|thumb|อนุสาวรีย์[[พระเทพวงศา (เจ้าก่ำ)]] ผู้ก่อตั้งเมืองเขมราษฎร์ธานี]]
เมื่อปี พ.ศ. 2357 เจ้าอุปราช (ก่ำ) แห่งเมืองอุบลราชธานี ขอแยกออกมาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่บ้านโคกก่งดงพะเนียง ต่อมา[[เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าทิดพรหม)]] เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี พระองค์ที่ 2 (ต้นสกุลพรหมวงศานนท์) จึงมีใบบอกลงไปกราบบังคมทูลทรงพระกรุณาทราบ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านโคกก่งดงพะเนียง ขึ้นเป็นเมือง พระราชทานนามว่า '''เขมราษฎร์ธานี''' ดำรงสถานะเทียบเท่าหัวเมืองชั้นเอกขึ้นตรงต่อ[[กรุงเทพมหานคร]] ตามที่พระพรหมวรราชสุริยวงศ์กราบบังคมทูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าอุปราช (ก่ำ) ซึ่งเป็นพระโอรสของ[[เจ้าพระวอ|เจ้าพระวรราชภักดี]] พระนัดดา[[เจ้าปางคำ|พระเจ้าสุวรรณปางคำ]] อันสืบมาจากราชวงศ์[[ราชวงศ์สุวรรณปางคำ|สุวรรณปางคำ]] เป็นที่[[พระเทพวงศา (เจ้าก่ำ)]] เจ้าผู้ครองเมืองเขมราษฎร์ธานีพระองค์แรก (พ.ศ. 2357-2369) ปกครองเมืองเขมราษฎร์ธานีโดยร่มเย็นสืบมา