ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูจงอาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
'''งูจงอาง''' จัดอยู่ใน[[ไฟลัม]][[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]] ชั้น[[สัตว์เลื้อยคลาน]] เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 3.5–4.5 เมตร <ref>[http://www.2snake2fish.com/ งูพิษในวงศ์ Elapidae]</ref> จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดใน[[โลก]] ตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาว 5.85 เมตร<ref name="Chanhome2011">{{cite journal|author=Chanhome, L., Cox, M.J., Vasaruchapong, T., Chaiyabutr, N. and Sitprija, V.|year=2011|title=Characterization of venomous snakes of Thailand|journal=Asian Biomedicine 5|issue=3|pages=311–328|url=}}</ref> เป็นงูจงอางไทยลำตัวสีดำ ถูกจับได้ที่[[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] พ.ศ. 2468<ref name="งูพิษในประเทศไทย">ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 109</ref> น้ำหนักประมาณ 15–30 กิโลกรัม มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่[[แม่เบี้ย]]ได้เช่นเดียวกับ[[งูเห่า]] ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสี แต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว หรือลำตัวสีเขียวอมเทา สีดำ สีนํ้าตาล และสีเขียวอ่อนเกือบขาว ส่วนที่พบมากที่สุดคือ สีดำและเขียวอมเทา และสีนํ้าตาล น้อยสุดก็สีเขียวอ่อนเกือบขาว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มี[[พิษ]] มีผลทางระบบประสาทที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้<ref name="SS">{{cite book | last = Capula | first = Massimo | coauthors = Behler | title = Simon & Schuster's Guide to Reptiles and Amphibians of the World | year = 1989|publisher = Simon & Schuster | location= New York | isbn= 0671690981}}</ref> โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75%<ref name="SS"/><ref name="ophitoxaemia">
{{cite web|title=Ophitoxaemia (venomous snake bite)|url=http://www.priory.com/med/ophitoxaemia.htm|accessdate=2007-09-05}}</ref><ref name="thomas">
{{cite web|url=http://www.seanthomas.net/oldsite/danger.html|title=One most Dangerous Snakes in the World|author=Sean Thomas|accessdate=2007-09-05}}</ref> เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคืองูอื่น ๆ เช่น [[งูสิง]] งูทางมะพร้าวทุกชนิด [[งูเห่า]] [[งูเหลือม]] [[งูหลาม]] เขียดงูน้ำ [[งูสามเหลี่ยม]] งูกินปลา งูทับสมิงคลา [[งูเขียว]] และสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่า ตุ๊กแก กบหรือ ตะกวดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หนู พังพอนและ กระรอกกับและกระแต เป็นต้น
 
งูจงอางจัดอยู่ในสกุล ''Ophiophagus'' ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ โดยมีรากศัพท์จากภาษาละตินแปลว่า "กินงู" ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบใน[[ประเทศไทย]] [[ประเทศอินเดีย]] [[ประเทศพม่า]] [[ประเทศอินโดนีเซีย]] และ[[ประเทศมาเลเซีย]] สำหรับประเทศไทยมีมากในป่า[[จังหวัดนครสวรรค์]] [[เพชรบูรณ์]] และ[[นครราชสีมา]] และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุด<ref>[http://www.kanchanapisek.or.th/kp7/science/Snake.html สวนงู สถานเสาวภา]</ref> ใน[[ภาษาใต้]]เรียกว่า '''งูบองหลา'''<ref>หน้า 29 ข่าวทั่วไทย, '' 'เขาศูนย์' ดินแดนอาถรรพ์ในอดีต!! มีโอกาสได้สิทธิพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่?!?'' โดย นพดล ขจรจารุกุล. '''เดลินิวส์'''ฉบับที่ 23,384: จันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2556 แรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง</ref> ปัจจุบันเป็น[[สัตว์ป่าคุ้มครอง]] ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
 
== ลักษณะทั่วไป ==