ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กุ้งกุลาดำ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ตลาดกุ้ง: เคาะวรรค
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 114:
'''การรักษาและฟื้นฟูสภาพพื้นบ่อระหว่างเลี้ยง '''
 
สารอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษอาหารที่เหลือ ขี้กุ้ง ขี้แดด ตลอดจนซากสิ่งมีชีวิตต่างๆต่าง ๆ ในบ่อเลี้ยงกุ้งจะตกทับถมลงสู่ก้นบ่อ ดังนั้นก่อนที่น้ำในบ่อจะเน่าเสียมักพบว่าพื้นบ่อเน่าเสียก่อนเสมอ ซึ่งกุ้งเป็นสัตว์ที่หากินตามพื้น เมื่อสภาพพื้นบ่อเริ่มเสียย่อมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กุ้งเป็นโรคดังนั้นหลังจากปล่อยกุ้งลงเลี้ยงแล้วประมาณ 1/2 เดือน ควรตรวจสภาพพื้นบ่ออย่างสม่ำเสมอย่างน้อย 7-15 วันต่อครั้ง เมื่อพบว่าของเสียต่างๆต่าง ๆ ถูกกระแสน้ำพัดพาไปรวมที่ใดก็ควรจะกำจัดออกโดยเร็วก่อนที่พื้นบ่อจะเน่าเสีย ทั้งนี้การรักษาและฟื้นฟูสภาพพื้นโดยรอบชานและพื้นบ่อ นอกจากจะช่วยรักษาและฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมภายในให้เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยของกุ้งแล้วยังเป็นการป้องกันไม่ให้กุ้งเกิดโรคอีกด้วย
 
==อาหารกุ้ง==
บรรทัด 141:
1.ผู้เลี้ยงควรบันทึกจำนวนและราคาอาหารเพื่อทำให้รู้ปริมาณอาหารและต้นทุนที่ใช้ในการผลิตกุ้งแต่ละรุ่น
 
2.การให้อาหารควรจำกัดปริมาณ พึงระลึกไว้เสมอว่าเมื่อกุ้งมีขนาดโตขึ้นอัตราการกินอาหารจะลดน้อยลง (หลังจาก 6 สัปดาห์ไม่ควรเกิน 3-5 ของน้ำหนักตัวต่อวันหรือไม่ควรเกินความจุของกระเพาะลำไส้ต่อมื้อ) ควรแบ่งให้ในอัตราส่วนที่เหมาะสมครั้งละน้อยๆน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งอย่างน้อย 4-6 มื้อต่อวันเพื่อให้กุ้งมีอาหารกินอย่างต่อเนื่องในกรณีที่มีอาหารเหลือควรชะลอการให้อาหารในมื้อถัดไปไว้ก่อนจนกว่าอาหารที่เหลือจะหมด
 
3.การเลี้ยงกุ้งกุลาดำบริษัทผู้ผลิตอาหารมักจะกำหนดปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งแต่ละวัยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงถือปฏิบัติ เกษตรกรพึงระลึกไว้เสมอว่า ในทางปฏิบัตินั้น ควรให้อาหารน้อยกว่าปริมาณที่กำหนดไว้แต่จะมากน้อยเพียงใดจึงจะเหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของกุ้งและอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงนั้นด้วยและต้องคำนึงถึงเสมอว่า เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปการกินอาหารของกุ้งย่อมเพิ่มหรือลดตามไปด้วย
บรรทัด 156:
 
'''การคำนวณอาหารและหว่านอาหาร '''
ปริมาณอาหารที่จะให้กุ้งกิน ถ้าให้อาหารมากเกินควรอาหารที่เหลือสะสมเพิ่มความสกปรกของพื้นบ่อ เมื่อนานๆนาน ๆ ก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบางชนิดได้ เช่นโรคหางไหม้ โรคเหงือกดำ เป็นต้น แต่การอาหารน้อยเกินไปก็จะมีผลให้กุ้งกินกันเองและกุ้งได้รับอาหารไม่เพียงพอก็จะผอมอ่อนแอ ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย ดังนั้น หากผู้เลี้ยงเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ในการคำนวณอาหารที่ถูกต้องก็จะทำให้ลดปัญหาในการเลี้ยงได้มากทีเดียว เมื่อกุ้งอายุได้ 1 เดือน จะสามารถใช้ยอเช็คการกินอาหารได้แล้วคือ หลังจากหว่านอาหารเสร็จจึงใส่อาหารในยอและเช็คอาหารตามเวลาที่กำหนด การปรับปริมาณอาหารให้ดูจากการกินอาหารในยอ คือ หากกุ้งกินอาหารในยอหมดให้เพิ่มอาหาร แต่หากบางยอหมดบางยอยังเหลืออยู่ให้คงปริมาณอาหารไว้เท่าเดิม และถ้าปริมาณอาหารในยอเหลือทุกยอก็ให้ลดปริมาณอาหารลง เมื่อกุ้งอายุประมาณ 45 วัน (มีน้ำหนัก 4-5 กรัม) กุ้งจะมีขนาดโตพอที่จะทอดแห (ใช้แหเอ็นตาเล็กสุดคือ 0.5 ซม.) เพื่อสุ่มหาปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อ และดูการเจริญเติบโตของกุ้งไปพร้อม ๆ กันโดยมีการชั่งน้ำหนักและวัดความยาวของกุ้ง หลังจากนั้นนำมาคำนวณหาผลผลิตกุ้งทั้งหมดในบ่อ ปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อหาได้โดยการใช้แหสุ่มทอดในหลาย ๆ จุด จดบันทึกจำนวนและชั่งน้ำหนักของกุ้งแต่ละแห แล้วนำจำนวนกุ้งที่ทอดแหได้แต่ละครั้งมารวมกันจะได้จำนวนกุ้งที่ทอดแหได้ทั้งหมด ส่วนน้ำหนักที่ชั่งได้ แต่ละแหเมื่อนำรวมกัน ก็จะได้น้ำหนักกุ้งที่ทอดแหได้ทั้งหมด เมื่อทราบพื้นที่แหโดยการคำนวณจากสูตรพื้นที่วงกลม ซึ่งเท่ากับ 3.14 x รัศมียกกำลังสอง (3.14 x รัศมี x รัศมี) ข้อมูลที่ได้นำมาคำนวณหาปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อได้
เมื่อนำน้ำหนักเฉลี่ยมาคูณปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อก็จะได้น้ำหนักที่มีอยู่ทั้งหมด จากนั้นจึงไปคำนวณหาปริมาณอาหารที่กุ้งควรจะกินในช่วงนั้นโดยเทียบจากตารางเปอร์เซ็นต์การกินอาหารของกุ้งในช่วงอายุนั้น ๆ