ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
}}
 
'''โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์''' เป็นโรงเรียนประจำชายล้วน เดิมคือ[[โรงเรียนราชวิทยาลัย]] พระราชทานกำเนิดโดย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ก่อนจะถูกยุบรวมเป็น[[วชิราวุธวิทยาลัย]] ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 และถูกฟื้นฟูใหม่อีกครั้งโดยพระมหากรุณาธิคุณของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]ได้ทรงพระมหากรุณารับโรงเรียนไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประกอบกับในนามโรงเรียน และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย [[สมเด็จพระนางเจ้าฯพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ราชชนนีพันปีหลวง]] ประกอบพิธีเปิดโรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2507 วันนี้จึงนับเป็นวันเกิดหรือวันสถาปนาโรงเรียน ณ ตำบลท่าตลาด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 39:
 
=== สมัยสามพราน (2507 ถึงปัจจุบัน) ===
ล่วงมาถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ซึ่งได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ขั้นตอนการจัดตั้ง[[โรงเรียนราชวิทยาลัย]]ก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ที่'''โรงเรียนเตรียมอุดมสามพราน''' ที่ดินแปลงในขณะนั้นมีพื้นที่ 51 ไร่ 1 งาน 68 ตารางวา มีตึกทำเนียบพร้อมห้องครัวหนึ่งหลัง อาคารเรียนกึ่งถาวร 8 ห้องเรียนฝาไม้ พื้นเทปูน1หลัง หอนอนบรรจุนักเรียนหอละ 105 คน 2 หลัง โรงอาหารมีเวทีใช้เป็นห้องประชุม 1 หลัง โรงเก็บเรือ 1 หลัง บ้านพักริมน้ำ 5 หลัง บ้านพักคนงาน 2 แถว พร้อมบ่อน้ำบาดาล เครื่องสูบน้ำ ซึ่งได้ใช้สถานที่ทำเนียบสามพรานหรือบ้านพักตากอากาศเดิมของ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น
 
นักเรียนเก่ามหาดเล็กหลวง [[หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล]] (บุตรของ[[เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี]] (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) ซึ่งเมื่อครั้งท่านยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้เคยเป็นผู้ตรวจการศึกษาและคอยควบคุมดูแล[[โรงเรียนราชวิทยาลัย]] และเป็นผู้กราบบังคมทูลรายงานพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น ได้ตระหนักถึงปณิธานอันแรงกล้าของชาวราชวิทย์ที่จักจัดตั้งโรงเรียนที่ตนเองรักและเทิดทูนกลับมาให้ได้ ม.ล.ปิ่น ท่านเลือกที่จะให้สมาคมราชวิทยาลัยเข้ามาใช้พื้นแผ่นดินแห่งนี้เพื่อเป็น[[โรงเรียนราชวิทยาลัย]]
บรรทัด 55:
โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีคณะกรรมการอำนวยการ ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัยฯ โดยมีผู้แทน กระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ และผู้แทนราชวิทยาลัยมูลนิธิเพื่อการศึกษา เป็นรองประธานกรรมการ ดำเนินการกิจการโรงเรียน และราชวิทยาลัยมูลนิธิเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเจ้าของโรงเรียน ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2497
 
* 1 มิถุนายน2507 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ราชชนนีพันปีหลวง]] เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนโรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
* 21 กุมภาพันธ์ 2511 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเรียนมัธยมศึกษา ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเข้าประจำกองลูกเสือสามัญ
 
* 18 สิงหาคม 2511 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานถ้วยรางวัลระเบียบแถวระหว่างบ้าน
 
* 1 ธันวาคม 2517 กระทรวงศึกษาธิการรับมอบ โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาเป็นของกระทรวงศึกษาธิการ