ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:King Bhumibol coronation audience 5 May 1950.jpg|thumb|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ระหว่างประทับบนพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ทอดบนพระราชบัลลังก์ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตรใน[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พุทธศักราช 2493|พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]]เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493]]
 
'''พระราชพิธีบรมราชาภิเษก''' เป็นพระราช[[พิธีราชาภิเษก]]ที่[[พระมหากษัตริย์ไทย]]ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการด้วยการถวายน้ำอภิเษก โดยแบ่งออกเป็น 2 พระราชพิธีสำคัญคือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร
บรรทัด 13:
จนกระทั่งถึงรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้ทรงทำพระราชพิธีนี้อย่างสังเขป เมื่อ พ.ศ. 2325 ครั้งหนึ่งก่อนแล้วทรงตั้งคณะกรรมการ โดยมี[[เจ้าพระยาเพชรพิชัย]] ซึ่งเป็น[[ข้าราชการ]]ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]เป็นประธาน สอบสวนแบบแผนโดยถี่ถ้วน ตั้งขึ้นเป็นตำรา แล้วทรงทำบรมราชาภิเษกเต็มตำราอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2328 และได้ใช้เป็นแบบแผนในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของรัชกาลต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละรัชกาล ก็ได้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อย ให้เหมาะแก่กาลสมัย ที่สำคัญคือ [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ซึ่งทรงเป็นปราชญ์ในทางอักษรศาสตร์ และโบราณราช[[ประเพณี]] ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกราบบังคมทูล ของ[[พราหมณ์]]และ[[ราชบัณฑิต]] ขณะถวายเครื่องราชกกุธกัณฑ์ กับพระราชดำรัสตอบเป็น[[ภาษาบาลี]] และคำแปลเป็น[[ภาษาไทย]] ทั้งนี้ อาจวิเคราะห์ได้ว่า พระราชพิธีนี้ มีคติที่มาจากลัทธิพราหมณ์ ผสมกับความเชื่อทางพุทธศาสนา ส่วนบทมนต์ต่างๆ ของพราหมณ์นั้น นักวิชาการภาษาตะวันออกโบราณ วินิจฉัยว่า เป็น[[ภาษาทมิฬ]]โบราณ
 
ส่วน[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่พุทธศักราช 92493|พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]][[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] เมื่อ พ.ศ. 2493 นั้น [[สำนักพระราชวัง]]ได้ยึดถือการบรมราชาภิเษก [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7 เป็นหลัก แต่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองที่ยังไม่อุดมสมบูรณ์ เพราะเพิ่งผ่านพ้น[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] และเพื่อให้เหมาะสมกับการปกครองระบอบ [[ประชาธิปไตย]] แบบ [[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]ด้วย
 
==การประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์==