ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Paweeraphat Thasee (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูล - ประวัติที่มาสถานีรถไฟ
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{Infobox station|address=ถนนหลวงหมายเลข242(แก้ววรวุฒิ) บ้านมีชัย หมู่ที่ 2 ตำบลมีชัย [[อำเภอเมืองหนองคาย]] [[จังหวัดหนองคาย]] 43000|code=2209|image=ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย.jpg|image_caption=ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ทางทิศตะวันตก ในปี พ.ศ. 2561|levels=ที่หยุดรถไฟ|line=[[ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ]]|name=ป้ายหยุดรถไฟตลาดหนองคาย|opened=1 มกราคม พ.ศ. 2501|closed=พ.ศ. 2551|owned=[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]]|passengers=ยกเลิกการเดินรถมายังสถานีนี้|platform=1|services=-|signal=ไม่มี|structure=-ระดับดิน}}{{ป้ายสถานีรถไฟ|distance=623.58|name_en=Talat Nong Khai|name_th=ตลาดหนองคาย}}{{ปลายทางรถไฟ|prev_distance=2.48|prev_en=Nong Khai|prev_th=หนองคาย}}{{จบป้ายสถานีรถไฟ|สายตะวันออกเฉียงเหนือ}}
 
'''ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย หรือสถานีรถไฟหนองคาย(เก่า)''' อดีตเป็น[[ที่หยุดรถ|ที่หยุดรถไฟ]] และ[[สถานีรถไฟ]] ของ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] ปัจจุบันไม่มีขบวนรถไฟมายังสถานนีนี้แล้ว ตั้งอยู่ในบริเวณย่านสถานีรถไฟหนองคาย(เดิม) ริมฝั่งแม่น้ำโขง ติดถนนหลวงหมายเลข 242 (แก้วรวุฒิ)
 
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย อดีตเคยมีชื่อว่าสถานีรถไฟหนองคาย ซึ่งเป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดหนองคายในขณะนั้น และเป็นสถานีรถไฟปลายทางของขบวนรถไฟโดยสารภายในประเทศ[[ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ|เส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน]] ในระหว่างปี พ.ศ. 2501 - 2551
 
ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย เป็นที่หยุดรถไฟบริเวณ กม.623+580 ในปี พ.ศ. 2543 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการก่อทางรถไฟสาย[[สถานีรถไฟหนองคาย|หนองคาย(ใหม่)]]–[[สถานีรถไฟท่านาแล้ง|ท่านาแล้ง]]เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียของ[[สหประชาชาติ|องค์การสหประชาชาติ]] จึงย้ายสถานีรถไฟหลักจากสถานีรถไฟหนองคาย(เดิม) ไปยัง[[สถานีรถไฟหนองคายใหม่|สถานีรถไฟหนองคาย(ใหม่)]] และลดระดับจากสถานีรถไฟเป็นที่หยุดรถไฟ แล้วใช้ชื่อใหม่เป็น [[ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย]] ในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2548 จนในที่สุดในปี พ.ศ. 2551 ก็ยกเลิกการเดินรถไฟมาที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย และให้ใช้[[สถานีรถไฟหนองคาย]]แทน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยนำที่ดินของที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายจำนวน 30 ไร่ไปทำประโยชน์อื่นเพื่อสร้างรายได้
 
== ข้อมูลจำเพาะ ==
เส้น 24 ⟶ 22:
* สถานีก่อนหน้า : [[สถานีรถไฟหนองคาย]]
* ห่างจากสถานีกรุงเทพ : 623.58 กิโลเมตร
 
== ประวัติที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย ==
 
=== การก่อสร้างเส้นทาง ===
จากการก่อสร้าง[[ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ|ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน]] จากสถานีรถไฟขอนแก่นขึ้นไป ถูกระงับไว้ชั่วคราว ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบบประชาธิปไตย ต่อมาจึงลงมือก่อสร้าง ต่อ จนกระทั่งเปิดเดินรถ ระหว่างขอนแก่น-อุดรธานี ระยะทาง 120 กิโลเมตร ได้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 จากนั้น การสร้างทางรถไฟสายนี้ ก็ถูกระงับเรื่อยมา จนในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มการก่อสร้าง ต่อไปถึงจังหวัดหนองคาย ระยะทาง 49 กิโลเมตร โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ออกเงินสมทบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เป็นมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 80 ล้านบาท เพื่อให้สร้างเสร็จภายใน 7 เดือน ตามความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ การก่อสร้างเสร็จตามกำหนด สามารถเปิดเดินรถได้ถึง สถานีรถไฟหนองคาย(ปัจจุบันใช้ชื่อ[[สถานีรถไฟนาทา]]) ระยะทาง 49 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2498 ต่อมา[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] ได้ขยายการก่อสร้างต่อระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เพื่อสะดวกในการขนส่งสินค้า ผ่านไปยังประเทศลาว จากสถานีรถไฟหนองคายเดิม (สถานีรถไฟนาทาในปัจจุบัน) ไปถึงสถานีหนองคายแห่งใหม่(ที่หยุดรถตลาดหนองคายในปัจจุบัน) ในขณะนั้น<ref name=":0">[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=17 สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย Rotfaithai.Com] สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562</ref>
 
=== การเปลี่ยนชื่อ ===
[[ไฟล์:การเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟหนองคายเดมเป็นสถานีรถไฟนาทา.jpg|thumb|238x238px|ประกาศการตั้งชื่อสถานีที่ต่อจากสถานีหนองคายไปสู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงว่าสถานี "หนองคาย" และเปลี่ยนชื่อสถานีหนองคายเดิม เป็นสถานี "นาทา<ref name=":0" />]]
ซึ่งในการตั้งชื่อสถานีรถไฟสร้างใหม่ ริมฝั่งแม่น้ำโขง การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ติดต่อกับผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายแล้วเห็นควรตั้งชื่อว่า"หนองคาย" ใน ก.ม.623+588.11 โดยใช้ชื่อย่อว่า "นค." อภาษาอังกฤษว่า "Nong Khai" เนื่องจากตั้งอยู่ในตัวเมืองหนองคาย ส่วนสถานีหนองคายเดิมเห็นควรเปลี่ยนชื่อเสียใหม่เป็นสถานี"นาทา" ใน ก.ม. 617+840 ใช้อักษรย่อเพื่อมิให้พ้องกับแห่งอื่นว่า "ยน." ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Na Tha" เพราะเนื่องจากสถานีรถไฟอยู่ติดกับตำบลนาทา<ref>[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=10&postdays=0&postorder=asc&start=360 คำสั่งทั่วไป ที่ ก.๑๑๒/๗๕๙๙ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง '''ตั้งชื่อสถานีที่ต่อจากสถานีหนองคายไปสู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงว่าสถานี "หนองคาย" และเปลี่ยนชื่อสถานีหนองคายเดิม เป็นสถานี "นาทา''' ตำนานแห่งรถไฟไทย หน้า37 Rotfaithai.Com] สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562.</ref>
 
=== การเปิดเดินรถไฟ ===
หลังจาการก่อสร้างทางรถไฟ แล้วมีการตั้งชื่อและเปลี่ยนชื่อ ช่วงสถานีนาทา-สถานีหนองคายเสร็จแล้ว จึงเปิดเดินรถครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่เนื่องจากก่อสร้างอาคารสถานีหนองคายที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ [[การรถไฟแห่งประเทศไทย]]จะเปิดสถานีหนองคายเป็นที่หยุดรถไปพลางก่อน ที่ก.ม. 623+588 (บริเวณย่านสถานีหนองคาย ริมฝั่งแม่น้ำโขง) โดยใช้ชื่อว่า "ที่หยุดรถหนองคาย" มีอักษรย่อว่า "นค." ให้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Nong Khai" เป็นการชั่วคราวแทนสถานีหนองคาย ตามคำสั่งที่ ก.112/7599 ที่ลงวันที่ 16 กันยายน 2500 ซึ่งให้ใช้ความเร็วในการเดินรถในทางตอน[[สถานีรถไฟนาทา|สถานีนาทา]]-[[ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย|ที่หยุดรถไฟหนองคาย]] โดยใช้ความเร็วไม่เกิน 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง หลังจากก่อสร้างสถานีรถไฟหนองคายเสร็จครบถ้วน จึงเปลี่ยนชื่อกลับจากที่หยุดรถไฟหนองคาย เป็น[[ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย|สถานีรถไฟหนองคาย]] แล้วเปิดการเดินรถได้ตลอดทาง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 โดยความยาวของทางรถไฟสายนี้ ตั้งแต่สถานีชุมทางถนนจิระ ถึง สถานีหนองคาย ยาว 359 กิโลเมตร<ref>[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=10&postdays=0&postorder=asc&start=360 คำสั่งทั่วไป ที่ ก.๑๕๑/๑๐๑๘๐ การรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง '''เปิดการเดินรถต่อจากสถานีนาทาถึงสถานีหนองคาย ''']'''[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=17 ตำนานแห่งรถไฟไทย หน้า37 Rotfaithai.Com]''' สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2562.</ref>
 
=== การถูกลดระดับ และยุบสถานี ===
ที่หยุดจากเปิดใช้งานสถานีรถไฟตลาดหนองคาย เป็นที่หยุดรถไฟบริเวณ กม.623+580มาอย่างยาวนาน ในปี พ.ศ. 2543 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการก่อทางรถไฟสาย[[สถานีรถไฟหนองคาย|หนองคาย(ใหม่)]]–[[สถานีรถไฟท่านาแล้ง|ท่านาแล้ง]] เป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียของ[[สหประชาชาติ|องค์การสหประชาชาติ]] จึงย้ายสถานีรถไฟหลักจาก[[ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย|สถานีรถไฟหนองคาย(เดิม)]] ไปยัง[[สถานีรถไฟหนองคายใหม่|สถานีรถไฟหนองคาย(แห่งใหม่)]] และลดระดับจากสถานีรถไฟหนองคายเดิมเป็นที่หยุดรถไฟ แล้วใช้ชื่อใหม่เป็น [[ที่หยุดรถไฟตลาดหนองคาย]] เป็นที่หยุดรถไฟบริเวณ กม.623+580 ในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2548 จนในที่สุดในปี พ.ศ. 2551 ก็ยกเลิกการเดินรถไฟมาและปิดที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายอย่างถาวร และโดยให้ไปใช้[[สถานีรถไฟหนองคาย|สถานีรถไฟหนองคายแห่งใหม่]][[สถานีรถไฟหนองคายใหม่|(สถานีรถไฟหนองคายในปัจจุบัน)]]แทน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยนำที่ดินของที่หยุดรถไฟตลาดหนองคายจำนวน 30 ไร่ไปทำประโยชน์อื่นเพื่อสร้างรายได้
 
== อ้างอิง ==
<references />{{รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ}}