ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ยุคใหม่: เพิ่ม พ.ศ. เพื่อแยก ค.ศ. ในความเข้าใจของผู้อ่าน
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ยุคใหม่: เพิ่ม พ.ศ.
บรรทัด 154:
[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ผู้ชนะ สามารถขยายอำนาจและอาณาเขตในทวีปเอเชียต่อไปอีก ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีช่วง "ประชาธิปไตยไทโช" (พ.ศ. 2455–2469) แต่คริสต์ทศวรรษ 1920 (ประมาณพุทธทศวรรษ 2460) ประชาธิปไตยที่เปราะบางตกอยู่ภายใต้การเลื่อนทางการเมืองสู่[[ฟาสซิสต์]] มีการผ่านกฎหมายปราบปรามการเห็นต่างทางการเมืองและมีความพยายามรัฐประหารหลายครั้ง "[[ยุคโชวะ]]" ต่อมาอำนาจของกองทัพเริ่มเพิ่มขึ้นและนำญี่ปุ่นสู่การขยายอาณาเขตและการเสริมสร้างแสนยานุภาพ ตลอดจนเผด็จการเบ็ดเสร็จและ[[ลัทธิคลั่งชาติ]]ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ฟาสซิสต์ ในปี พ.ศ. 2474 ประเทศญี่ปุ่นบุกครองและยึดครอง[[แมนจูเรีย]] เมื่อนานาชาติประณามการครอบครองนี้ ประเทศญี่ปุ่นก็ลาออกจาก[[สันนิบาตชาติ]]ในปี พ.ศ. 2476<ref>{{cite web|url=http://www.drc-jpn.org/AR-6E/sugiyama-e02.htm|title=Fundamental Issues underlying US-Japan Alliance: 2. Lytton Report and Anglo-Russo-Americana (ARA) Secret Treaty|publisher=Defense Research Center|author=Katsumi Sugiyama}}{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> ในปี พ.ศ. 2479 ญี่ปุ่นลงนาม[[กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น]]กับ[[นาซีเยอรมนี]] และ[[กติกาสัญญาไตรภาคี]]ในปี พ.ศ. 2483 เข้าร่วมกับ[[ฝ่ายอักษะ]]<ref>{{cite web |url= http://www.friesian.com/pearl.htm |title= The Pearl Harbor Strike Force |author= Kelley L. Ross | publisher = friesian.com |accessdate=2007-03-27}}</ref> หลังพ่ายใน[[ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น|สงครามชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น]]ที่กินเวลาสั้น ๆ ประเทศญี่ปุ่นเจรจา[[กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น]] ซึ่งกินเวลาถึงปี พ.ศ. 2488 เมื่อ[[การบุกครองแมนจูเรียของโซเวียต|สหภาพโซเวียตบุกครองแมนจูเรีย]]
 
[[ไฟล์:Nagasakibomb.jpg|thumb|right|[[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโรชิมะและนางาซากิ|ระเบิดนิวเคลียร์แฟทแมนที่ถูกทิ้งลงนางาซากิ]]ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488]]
ในยุค[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น หลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกา ต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก (ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ [[สงครามมหาเอเชียบูรพา]]) ในวันที่ [[7 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2484]] โดย[[การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์|การโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล]] และการยาตราทัพเข้ามายัง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและ[[เนเธอร์แลนด์]] ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจาก[[ยุทธนาวีแห่งมิดเวย์]] ([[พ.ศ. 2485]]) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]โดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ[[ระเบิดปรมาณู]]ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่[[เมืองฮิโรชิมา]]และ[[นางาซากิ]] (ในวันที่ [[6 สิงหาคม|6]] และ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]] ตามลำดับ) และ[[ปฏิบัติการพายุสิงหาคม|การรุกรานของสหภาพโซเวียต]] (วันที่ [[8 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]]) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ [[15 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน<ref>{{cite web |url=http://library.educationworld.net/txt15/surrend1.html |title=Japanese Instrument of Surrender |publisher=educationworld.net |accessdate=2008-11-22}}</ref> สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนัก ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่ง[[พลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์]]เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ
 
ปี พ.ศ. 2490 ประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น|รัฐธรรมนูญฉบับใหม่]]ซึ่งเน้นวัตร[[ประชาธิปไตยเสรีนิยม]] [[การยึดครองญี่ปุ่น]]ของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนาม[[สนธิสัญญาซานฟรานซิสโก]]ในปี พ.ศ. 2499<ref>{{cite web|url=http://www.taiwandocuments.org/sanfrancisco01.htm|title=San Francisco Peace Treaty|publisher=Taiwan Document Project|accessdate=2008-11-22}}</ref> และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิก[[สหประชาชาติ]]ในปี พ.ศ. 2499<ref>{{cite web|url=http://www.un.org/News/Press/docs/2006/org1469.doc.htm|title=United Nations Member States|publisher=[[สหประชาชาติ]]|accessdate=2008-11-22}}</ref> หลังสงคราม ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก จนถูกประเทศจีนแซงในปี พ.ศ. 2553 แต่การเติบโตดังกล่าวหยุดในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อญี่ปุ่นประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย<ref name="webeco">{{cite web |url=http://web-japan.org/factsheet/pdf/ECONOMY.pdf|title=Japan Fact Sheet: Economy|publisher=Web Japan|accessdate=2008-11-22}}{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref> ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 การเติบโตทางบวกส่งสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป<ref>{{cite news |url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/business/5178822.stm |title=Japan scraps zero interest rates |publisher=BBC News |date=July 14, 2006 |accessdate=December 28, 2006}}</ref> วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ประเทศญี่ปุ่นประสบ[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554|แผ่นดินไหวครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศ]] ซึ่งยังส่งผลให้เกิด[[ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิชิ]]
 
== การเมือง ==
บรรทัด 164:
| style="text-align:center;"| [[ไฟล์:Emperor Akihito cropped 2 Barack Obama Emperor Akihito and Empress Michiko 20140424 1.jpg|126px]] || style="text-align:left;" | [[ไฟล์:Shinzo Abe (2017).jpg|140px]]
|-
| style="text-align:center;"|[[สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ]] <br/><small>[[จักรพรรดิญี่ปุ่น|จักรพรรดิ]]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532</small>
| style="text-align:center;"|[[ชินโซ อะเบะ]]<br/><small>[[นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น|นายกรัฐมนตรี]]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555</small>
|}