ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเศวตอดุลยเดชพาหน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
</ref> ถูกคล้องได้ที่ บ้านหนองจูด [[ตำบลดินอุดม]] [[อำเภอลำทับ]] <ref>[http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=10423 ช้างต้นคู่พระบารมี 60 ปีองค์ราชันย์] จากหนังสือพิมพ์[[ไทยรัฐ]]</ref> จังหวัดกระบี่เมื่อ [[พ.ศ. 2499]] โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่องและนายปลื้ม สุทธิเกิด(หมอเฒ่า) เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่า พร้อมกับช้างอื่นๆ อีก 5 เชือกคือ พังสาคร พลายทอง พังเพียร พังวิไล และพังน้อย <ref>อำนวย สุวรรณชาตรี, ''พระเศวต'', องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2547</ref> โดยในตอนนั้นพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ได้ชื่อว่า "พลายแก้ว" <ref name="80พรรษา"/> มีความสูง 1.60 เมตร เมื่อพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ)ได้ตรวจสอบ[[คชลักษณ์]]แล้วพบว่าเป็นช้างสำคัญ จึงนำมาเลี้ยงไว้ที่[[สวนสัตว์ดุสิต]] เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
 
พลโท[[บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา]] ประธาน[[องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย]]ได้นำช้างพลายแก้วขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ [[10 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2501]] เพื่อประกอบพิธีขึ้นระวางเป็นช้างต้น
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกประจำรัชกาล ณ โรงช้างต้น [[พระราชวังดุสิต]] เมื่อวันที่ [[11 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2502]] เป็นปีที่ 13 ในรัชกาลที่ 9
 
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เติบโตขึ้นโดยการดูแลขององค์การสวนสัตว์ ที่สวนสัตว์ดุสิต และมีอาการดุร้ายมากขึ้นจนควาญช้างควบคุมไม่ได้ จึงต้องจับยืนมัดขาทั้งสี่ไว้กับเสา เป็นที่เกรงกลัวของบุคคลทั่วไป จนกระทั่ง[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]]มีพระราชเสาวณีย์ โปรดเกล้าฯ ให้นำพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เข้าไปยืนโรงในโรงช้างต้น ภายใน[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]]ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามถนน เมื่อ พ.ศ. 2519 [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]]ได้บันทึกไว้ว่า
บรรทัด 39:
''พอได้ก้าวเท้าเข้าไปในบริเวณพระราชวัง คุณพระก็เปลี่ยนไปทันที จากความดุร้ายก็กลายเป็นความสงบเสงี่ยม เดินอย่างเรียบร้อยไปสู่โรงช้างต้น และเข้าอยู่อย่างสงบเรื่อยมา'' <ref>คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์, คอลัมน์ ''ข้าวไกลนา'', 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519</ref>
 
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ย้ายไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น [[วังไกลกังวล]] [[อำเภอหัวหิน]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] โดยเคลื่อนย้ายคุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เมื่อวันที่ 17-18 มีนาคม [[พ.ศ. 2547]] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ [[24 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2547]]
 
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี [[พ.ศ. 2549]] มีกระแสพระราชดำรัสให้จัดสร้าง [[คชาภรณ์]] หรือเครื่องทรงช้างต้นชุดใหม่ พระราชทานแก่พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เนื่องจากคชาภรณ์ชุดเดิมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานให้ เมื่อ พ.ศ. 2502 มีสภาพเก่า และมีขนาดเล็กเกินไป โดย[[สำนักช่างสิบหมู่]] [[กรมศิลปากร]] [[กระทรวงวัฒนธรรม]] รับสนองพระบรมราชโองการจัดสร้างเครื่องคชาภรณ์ชุดใหม่ ด้วยงบประมาณ 4 ล้านบาท ใช้ทองคำ 96.5 % หนักกว่า 5,953 กรัม ประกอบด้วย <ref>[http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000075848 "คชาภรณ์" อาภรณ์สำหรับช้างต้นคู่พระบารมี] จาก ผู้จัดการ</ref><ref>[http://www.plakdee.com/postnews1/Post.asp?News_ID=1159 คชาภรณ์ชุดใหม่ แก่ช้างเผือกคู่พระบารมี] จาก มติชน</ref>
 
* ผ้าปกพระพอง ทำด้วยผ้าเยียรบับ