ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเล่นกีฬาของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45:
และเมื่อครั้งที่ [[แสน ส.เพลินจิต]] เดินทางไปป้องกันตำแหน่งแชมป์โลก ณ [[เมืองโอซากา]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] กับ[[ฮิโรกิ อิโอกะ]] เมื่อวันที่ [[17 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2538]] ผลการชกแสนเอาชนะน็อกไปได้ในยกที่ 10 หลังการพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงส่งพระราชสาสน์ผ่านทางกงสุลไทย ณ เมืองโอซากา ความว่า พระองค์ทอดพระเนตรการชกของแสนอยู่ผ่านทาง[[โทรทัศน์]] ทรงชมว่าแสนชกได้ดี ยังความปลาบปลื้มแก่แสนและคณะเป็นอย่างยิ่ง
 
นอกจากนี้แล้ว เมื่อ [[สมรักษ์ คำสิงห์]] ชนะเลิศในการแข่งขัน[[มวยสากลสมัครเล่น]]รุ่น[[เฟเธอร์เวท]] ใน[[โอลิมปิกฤดูร้อน 1996|กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 26]] ที่เมือง[[แอตแลนตา]] [[รัฐจอร์เจีย]] [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2539]] ก่อนชกในรอบชิงชนะเลิศ สมรักษ์ให้สัมภาษณ์ว่า จะคว้าชัยชนะให้ได้ เพื่อนำเหรียญทองกลับไปร่วมสมโภชเป็นส่วนหนึ่งในงาน[[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙|พระราชพิธีกาญจนาภิเษก]] ซึ่งเป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชย์ครบ 50 ปีด้วย และเมื่อสมรักษ์สามารถเอาชนะได้ ได้ครองเหรียญทองโอลิมปิกเป็นครั้งแรกของนักกีฬาไทย สมรักษ์ได้เข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าถวายเหรียญทองประวัติศาสตร์เหรียญนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วย
 
== พระมหากรุณาธิคุณทั่วไปในวงการกีฬา ==