ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศุลกสถาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 36:
ความงามของอาคารศุลกสถาน [[พระยาอนุมานราชธน]]บันทึกไว้ในหนังสือตำนานกรมศุลกากรว่า "สมัยนั้น ถ้านั่งเรือไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา จะปรากฏตัวตึกกรมศุลกากรตั้งตระหง่านเด่นเห็นได้แต่ไกลด้วย เป็นตึกที่ตอนกลางสูงถึง 3 ชั้น ซึ่งในสมัยนั้นนอกจากกระทรวงกลาโหมแล้ว ดูเหมือนจะมีแต่ตึกกรมศุลกากรเท่านั้นที่เป็นตึกขนาดใหญ่ และสวยงาม..."<ref name=นา>''นารีนาฏ ภัยวิมุติ'', [http://www.siamrath.co.th/web/?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9-%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E2%80%9C%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E2%80%9D%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5 รายงานพิเศษ/ อนาคต!มรดกชาติ“ศุลกสถาน”(โรงภาษี)], สยามรัฐ. 11 เมษายน 2556</ref>
 
ศุลกสถานแห่งนี้ นอกจากจะเป็นที่ทำการเก็บภาษีสินค้าขาเข้าที่เรียกว่า "ภาษีร้อยชักสาม"<ref>[http://www.myhappyoffice.com/index.php/2013/08/fire-station-bangruk/ สถานีดับเพลิงบางรักอลังการ..แนวยุโรปสถานที่เก่าแก่ 120 ปี], My Happy Office .วันที่ 28 ส.ค. 2556</ref> แล้ว ยังเคยเป็นสถานที่จัดเลี้ยงและเต้นรำของเชื้อพระวงศ์และชาวต่างชาติในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นที่จัดเลี้ยงงานสมโภชครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2502 สถานที่แห่งนี้ปรับบทบาทเป็นที่ทำการของสถานีตำรวจดับเพลิงบางรัก จนมักเรียกกันว่า "สถานีดับเพลิงบางรัก" อยู่เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 60 ปี ก่อนจะย้ายออกไป ปัจจุบันเป็นตึกร้างและป็นเป็นทางผ่านไปที่ทำการตำรวจน้ำ
 
== อ้างอิง ==