ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
}}
 
'''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี'''<ref name="ราชสกุลวงศ์"''>ราชสกุลวงศ์'', หน้า 18-19</ref> เป็นพระมเหสีใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] บางคราวเรียกว่าสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้าย พระองค์เป็นพระราชธิดาใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเจ้าทองสุกซึ่งเป็นพระธิดาใน[[พระเจ้าอินทวงศ์]]แห่งนคร[[เวียงจันทน์]]) พระนามเดิมว่า '''พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทบุรี'''
 
== พระราชประวัติ ==
บรรทัด 37:
ต่อมาในรัชกาลที่ 1 นั่นเอง ถึงปีมะโรง พ.ศ. 2351 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีมีพระชนม์ได้ 11 พรรษา ถึงกำหนดจะโสกันต์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทำพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าให้เต็มตามตำราครั้งกรุงเก่าเป็นต้นมา เพื่อให้เป็นแบบแผนไว้ในแผ่นดินต่อไป จึงนับว่าเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีเป็นพระองค์แรกในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ที่ได้รับพระราชทานพิธีโสกัณฑ์เจ้าฟ้าอย่างเต็มตำรา ดังความปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ฉบับ[[เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)|เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)]] มีว่าดังนี้
 
{{คำพูด|ในปีมะโรงสัมฤทธิศกนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีพระชนม์ได้ 11 พรรษา ถึงกำหนดโสกันต์ ทรงพระราชดำริว่า ตั้งแต่ตั้งแผ่นดินมา ยังหาได้ทำการพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าอย่างเต็มตามตำราไม่ และแบบแผนพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าอย่างครั้งกรุงเก่านั้น เจ้าฟ้าพินทวดีพระราชธิดาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ทรงแนะสอนไว้ในพระราชวังบวรฯ ครั้งโสกันต์พระองค์เจ้า 3 พระองค์เป็นเยี่ยงอย่างอยู่แล้ว จึงโปรดให้เจ้าพนักงานตั้งเขาไกรลาศ ณ ชาลาในพระราชวัง ตั้งการพระราชพิธี มีเตียงพระมณฑลบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และตั้งราชวัตรฉัตรรายทางนั่งกลาบาต และมีการเล่นต่างๆต่าง ๆ ตลอดสองข้างทางที่จะเดินกระบวนแห่แต่ประตูราชสำราญมา
 
ณ เดือน 4 ขึ้น 15 ค่ำ แรม 1 ค่ำ 2 ค่ำ เวลาบ่ายตั้งกระบวนแห่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เสด็จทรงยานุมาศตั้งแต่เกยในพระราชวัง ออกประตูราชสำราญมาตามถนนริมกำแพงพระราชวัง มาเข้าประตูพิมานไชยศรี แล้วประทับเกยกำแพงแก้วด้านบุรพาทิศพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เสด็งลงจากพระยานุมาศ แล้วเสด็จทางผ้าขาวลากขึ้นบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงสดับพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ 3 วัน แล้ว ณ วันศุกร์ เดือน 4 แรม 3 ค่ำ เวลาเช้าแห่มาโสกันต์ที่พระบรมมหาปราสาท แล้วเสด็จกลับทางประตูท้ายที่ทรงบาตรที่ชาลาพระมหาปราสาทข้างใน แล้วจึงทรงพระเสลี่ยงน้อยขับไม้พราหมณ์นำเสด็จ พระยาศรีธรรมาธิราช พระยาธรรมา พระยาบำเรอภักดิ์ พระยาอนุรักษ์มณเฑียร คู่เคียง 2 คู่เคียงพระเสลี่ยงมาทรงสรงน้ำที่สระอโนดาตที่เชิงเขาไกรลาศ สรงแล้วเสด็จประทับพลับพลาทรงเครื่องเสด็จขึ้นบนเขาไกรลาศ จึงเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์แต่งพระองค์ทรงฉลองพระองค์ครุย ทรงชฎาเดินหน สมมติว่าเป็นพระอิศวรเสด็จลงมาแต่พระมณฑปใหญ่ยอดเขาไกรลาศ ทรงรับพระกรที่ชั้นทักษิณทิศตะวันตกกลางบันไดนาค จูงพระกรขึ้นไปบนเขาไกรลาศประทานพร แล้วนำเสด็จลงมาส่งที่เกยด้านตะวันออก เสด็จพระยานุมาศแห่เวียนประทักษิณเขาไกรลาศ 3 รอบ แล้วแห่กลับมาตามทางออกประตูพิมานไชยศรี ไปเข้าในพระราชวังทางประตูราชสำราญ ครั้นเวลาบ่ายตั้งกระบวนแห่มาสมโภชต่อไปอีก 2 วัน ณ เดือน 4 แรม 6 ค่ำ เป็นวันที่ 7 จึงแห่พระเกศาไปลอยเป็นเสร็จการโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี}}
บรรทัด 92:
{{คำพูด|เจ้านายชั้นผู้ใหญ่พระองค์หนึ่งทรงเล่าว่า กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์นั้นทรงอยู่ในฐานะแม้นละม้ายคล้ายจินตหราในเรื่องอิเหนา เพราะเหตุที่เป็นพระประยูรญาติเรียงพี่เรียงน้อง หากแต่เป็นพระมเหสีดั้งเดิมจึงได้อยู่ฝ่ายขวา ส่วนเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีเป็นพระน้องนางเธอร่วมพระชนกเดียวกัน ได้เป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 จึงต้องอยู่ฝ่ายซ้าย คล้ายบุษบาขององค์อิเหนาหรือระเด่นมนตรี ซึ่งที่แท้ก็คือ พระองค์ผู้ทรงพระนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั่นเอง เมื่อองค์ระเด่นมนตรีทรงมีทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาดังนี้ ก็เป็นธรรมดาที่ฝ่ายขวาจะต้องขึ้งโกรธและทรงระทมตรมตรอม นัยเดียวกันกับพระราชนิพนธ์ที่ว่า " เมื่อนั้น จินตหราวาตีมีศักดิ์ ฟังตรัสขัดแค้นฤทัยนัก สบัดพักตร์ผินหลังไม่บังคม " เหตุการณ์เป็นเช่นนี้เรื่อยๆมา ในที่สุดกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ก็เสด็จหนีไปประทับ ณ พระราชวังเดิม กรงธนบุรี มีเจ้าฟ้าพระองค์น้อย คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวติดต้อยตามเสด็จไปเป็น "ลูกแม่" คอยปลอบประโลมพระทัยให้คลายเศร้า แต่เจ้าฟ้าพระองค์น้อยหรือฟ้าน้อยก็ยังคงวิ่งไปวิ่งมาระหว่างพระชนกกับชนนีระหว่างกรุงเทพฯกับธนบุรี จนกระทั่งพระชนม์ได้ 12 ปี 6 เดือน ได้รับพระราชพิธีเต็มตามพิธีใหม่ชั้นเจ้าฟ้า}}
 
แต่อย่างไรก็ดี[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ก็มิได้ทรงยกย่องสมเด็จเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีเท่ากับหรือเหนือกว่าสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ทั้งนี้เข้าใจว่าเพราะพระองค์ทรงถือสัตย์ที่ได้เคยทรงปฏิญาณทานบนไว้เมื่อครั้งทรงแรกรักเริ่มต้นกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ก่อนโน้น ดังปรากฏในจดหมายเก่า "เรื่องขัติยราชปริพัทธ์" ว่าสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเคยทรงปฏิญาณทานบนไว้ว่า "จะมิให้บุตรและภริยาทั้งปวงเป็นใหญ่กว่าฤๅเสมอกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ เพราะฉะนั้นเมื่อได้เสด็จเถลิงถวัลยราชบรมราชาภิเษกขึ้นแล้ว ได้เจ้าฟ้ากุณฑลเป็นพระชายาก็ทรงชุบเลี้ยงเซาๆเซา ๆ อยู่อย่างนั้น ไม่เปิดเผยผิดจากปรกติขึ้นเท่าไร"
 
พระองค์ประสูติพระราชโอรส 3 พระองค์ พระราชธิดา 1 พระองค์ แต่พระราชธิดานั้นสิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์อยู่ ยังเหลือแต่พระราชโอรสทั้งสามพระองค์ คนในสมัยนั้นก็ไม่ได้ยินใครเรียกว่าเจ้าฟ้าหรือทูลกระหม่อมฟ้า เรียกกันอยู่ว่าองค์ใหญ่ องค์กลาง องค์ปิ๋ว ในหลวงท่านก็ทรงได้ยินแต่ไม่ทรงกริ้วกราดทักท้วงประการใด เรียกกันอยู่แต่[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ว่า ทูลกระหม่อมพระองค์ใหญ่ ถ้าเป็นคำทูลในหลวงก็ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ฉะนั้นเรียก[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ว่า ทูลกระหม่อมพระองค์น้อย ถ้าเป็นคำทูลในหลวงก็ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอสุนีบาศ ฉะนั้น
บรรทัด 124:
 
 
เรื่อง "สวัสดิรักษา" นี้สันนิษฐานกันว่า คงจะแต่งขึ้นถวายระหว่าง พ.ศ. 2364 - 2367 ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต นอกจากนั้นสันนิษฐานกันว่า ท่านสุนทรภู่จะได้เริ่มแต่งเรื่อง[[สิงหไตรภพ]]ตอนต้นๆต้น ๆ ถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ในตอนนี้ด้วย เพราะมีคำกล่าวไว้ในเรื่องรำพันพิลาปของสุนทรภู่เอง เมื่อพูดถึงเจ้าฟ้าอาภรณ์ สุนทรภู่เรียกพระนามแฝงว่า "พระสิงหไตรภพ"
 
แต่ต่อมาในรัชกาลที่ 3 นี้ เนื่องจาก[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ไม่โปรดท่านสุนทรภู่ เจ้านายและผู้มีบรรดาศักดิ์ก็ไม่มีพระองค์ใดกล้าชุบเลี้ยงเกื้อหนุนโดยเปิดเผย ด้วยเกรงจะเป็นฝ่าฝืนพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้เจ้าฟ้าอาภรณ์ซึ่งเป็นศิษย์ก็ต้องทำเพิกเฉยมึนตึง ท่านสุนทรภู่จึงได้กล่าวความข้อนี้ไว้ในเพลงยาวถวายโอวาทเจ้าฟ้ากลางด้วยความน้อยใจ คือ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์]] และเจ้าฟ้าปิ๋วตอนหนึ่งว่า