ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''โทน''' เป็นชื่อของเครื่องหนัง ที่ขึงหนังหน้าเดียว มีสายโยงเร่งเสียงจากขอบหนังถึงคอ มีหางยื่นออกไปและบานปลาย มีชื่อเรียกคู่กันว่า '''โทนทับ''' โดยลักษณะรูปร่างนั้น โทนมีชื่อเรียกกันได้ตามรูปร่างที่ปรากฏ 2 ชนิดคือ '''โทนชาตรี''' และ '''โทนมโหรี'''
 
โทนชาตรีนั้น ตัวโทนทำด้วยไม้[[ขนุน]] ไม้[[สัก (พรรณไม้)|สัก]] หรือ ไม้[[กระท้อน|กะท้อน]]มีขนาดปากกว้าง 17 ซม ยาวประมาณ 34 ซม มีสายโยงเร่งเสียงใช้หนังเรียด ตีด้วยมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกมือหนึ่งคอยปิดเปิด ปลายหางที่เป็นปากลำโพง ช่วยให้เกิดเสียงต่างๆ ใช้สำหรับ บรรเลงประกอบการแสดง[[ละครชาตรี]] และ[[หนังตะลุง]] และตีประกอบจังหวะใน[[วงปี่พาทย์]] หรือ[[วงเครื่องสาย]] หรือ[[วงมโหรี]]ที่เล่นเพลง[[ภาษาเขมร]] หรือ ตะลุง
 
ส่วนโทนมโหรีนั้น ตัวโทนทำด้วยดินเผา ด้านที่ขึงหนังโตกว่า โทนชาตรี ขนาดหน้ากว้างประะมาณ 22 ซม ยาวประมาณ 38 ซม สายโยงเร่งเสียงใช้[[หวาย]]ผ่าเหลาเป็นเส้นเล็กหรือใช้[[ไหม (วัสดุ)|ไหม]]ฟั่นเป็นเกลียว ขึ้นหนังด้วยหนังลูก[[วัว]] หนัง[[แพะ]] หนัง[[งูเหลือม]] หรือหนัง[[งูงวงช้าง]] ใช้สำหรับบรรเลงคู่กับ[[รำมะนา]] โดยตีขัดสอดสลับกัน ตามจังหวะหน้าทับ
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โทน"