ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุทธชัยมงคลคาถา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phraprasit thanadhammo (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
ศาสตราจารย์พิเศษเสฐียรพงษ์ อ้างทัศนะของ สุชีพ ปุญญานุภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาพุทธ ที่ระบุว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกาศสงครามกับประเทศเยอรมนี ออสเตรีย และฮังการี เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเข้าร่วมกับ ฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 และทรงได้ส่งทหารไปสู่สงครามเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2461 นั้นพระองค์ทรงนำกองทัพสวดคาถาพาหุง พร้อมทั้งคำแปลที่ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นวสันตดิลกเพื่อชัยชนะแห่งกองทัพไทย และฝ่ายพันธมิตร โดยฉันท์พระราชนิพนธ์บทนี้ ทรงนำเอา “ชยมังคลอัฏฐกคาถา” บทแรก (คือบทพาหุง) มาลงไว้ดัดแปลงตอนท้ายจากเดิม ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ เป็น ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะสิทธิ นิจจัง <ref>เสฐียรพงษ์ วรรณปก.</ref>
 
นอกจากนี้ นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า ผู้ประพันธ์คาถานี้คือพระมหาพุทธสิริเถระ ซึ่งรจนาคัมภีร์ฎีกาพาหุง ในราว พ.ศ. 2006 ตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งการมีอยู่ของคัมภีร์ฎีกาพาหุง ทำให้สามารถอนุมานได้ว่า พระคาถานี้น่าจะแต่งขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ 2100 ทั้งนี้ บางกระแสระบุว่า คาถานี้ชื่อว่า “บทถวายพรพระ” เพราะแต่งถวายพระเจ้าแผ่นดินชนะศึก <ref>สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). หน้า 301 - 2</ref>
 
ส่วนจะเป็นพระมหากษัตริย์พระองคืไหนนั้นพระองค์ไหนนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แตรแต่จากคำบอกเล่าของพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) ระบุว่า เปฺนเป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
== ตำนาน ==