ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซูอันไทเฮา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 63:
ราวปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2395 หลังพระราชพิธีจัดการพระบรมศพจักรพรรดิเต้ากวังสิ้นสุดลง หนิวฮู่ลู่ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมเหสี และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า "เจิน" ({{zh-all|c=贞|p=Zhēn; ผู้เพรียบพร้อมไปด้วยกัลยาณีสมบัติ}} และในราวปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคมของปีนั้น ก็ได้รับการสถานาขึ้นเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม ปีนั้นเอง เป็นต้นไป จึงมีประกาศให้เฉลิมพระนามอัครมเหสีเจินว่า '''"จักรพรรดินีเจิน"'''
 
เนื่องจากพระนางเจินไม่ทรงสามารถประทานพระโอรสให้แก่พระภัสดาได้ [[ซูสีไทเฮา|นางเย่เฮ่อน่าลา]] ผู้ซึ่งเข้าถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาและสามารถให้โอรสแก่จักรพรรดิได้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2399 จึงได้รับการสถาปนาเป็นมเหสีตามลำดับชั้น
 
วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2404 ภายหลัง[[สงครามฝิ่น]] จักรพรรดิเสียนเฟิงก็เสด็จสวรรคตขณะทรงลี้ภัยสงครามไปประทับ ณ พระราชวังในเมืองเฉิงเต๋อ ({{zh-all|c=承德|p=Chéngdé}}) [[มณฑลเหอเป่ย์]] ห่างจากกรุงปักกิ่งไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะทางสองร้อยสามสิบ[[กิโลเมตร]] พระโอรสของพระมเหสีเย่เฮ่อน่าลา ซึ่งได้ทรงดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมาร และในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา จึงเสวยราชย์เป็นรัชกาลต่อมา พระนามว่า "[[จักรพรรดิถงจื้อ]]" ด้วยความที่ทรงพระเยาว์อยู่ จักรพรรดิพระองค์ก่อนจึงได้ทรงแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไว้โดยมีอัครมหาเสนาบดี คือ '''ซู่ชุ่น''' ({{zh-all|c=肃顺|p=Sùshùn}}) เป็นประธาน โดยคณะผู้สำเร็จราชการฯ ได้ประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จพระอัครมเหสีเจินเป็น '''"ซูอันไทเฮา"''' และพระมเหสีแย่เฮ่อน่าลาเป็น '''"ซูสีไทเฮา"''' ตำแหน่ง[[ฮองไทเฮา]]นี้เรียกเป็นภาษาไทยว่า "สมเด็จพระพันปีหลวง"