ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิลเลียม เชกสเปียร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 84:
 
[[ไฟล์:Henry_Fuseli_rendering_of_Hamlet_and_his_father's_Ghost.JPG|thumb|left|ภาพวาด[[แฮมเล็ต]]กับปีศาจของบิดา วาดโดย[[อองรี ฟูเซลิ]] ราวปี ค.ศ. 1780-5]]
ช่วงที่เรียกว่า "ยุคโศก" ของเชกสเปียร์อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1600 - 1608 เขาเขียนทั้งบทละครโศกนาฏกรรมรวมถึงบทละครที่เรียกกันว่า "problem plays" (บทละครกังขา : กล่าวคือไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นละครตลกหรือละครเศร้า อาจเรียกว่าเป็น "ตลกร้าย") ได้แก่ ''Measure for Measure'', ''[[ทรอยลัสกับเครสสิดา]]'', และ ''All's Well That Ends Well''<ref name="bradley">เอ. ซี. แบรดลี่ย์ (1991 edition). ''Shakespearean Tragedy: Lectures on Hamlet, Othello, King Lear and Macbeth''. ลอนดอน: เพนกวิน, 85. ISBN 0-14-053019-3.</ref><ref>Muir, Kenneth (2005). ''Shakespeare's Tragic Sequence''. ลอนดอน; นิวยอร์ก: Routledge, 12–16. ISBN 0-415-35325-4.</ref> นักวิจารณ์หลายคนเห็นว่า ละครโศกนาฏกรรมอันยิ่งใหญ่ของเชกสเปียร์เป็นตัวแสดงถึงศิลปะอันสูงสุดในตัวเขา วีรบุรุษ [[แฮมเล็ต]] เป็นตัวละครของเชกสเปียร์ที่ถูกกล่าวขานถึงมากที่สุดตัวหนึ่ง โดยเฉพาะบทรำพันของตัวละครที่โด่งดังมาก คือ "To be or not to be; that is the question."<ref name="bradley" /> แฮมเล็ตเป็นตัวละครที่มีปัญหาภายในใจมาก และความลังเลของเขาเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต ทว่าตัวละครเอกในโศกนาฏกรรมเรื่องอื่นที่ตามมา คือ ''Othello'' และ ''King Lear'' กลับได้รับผลร้ายจากความรีบเร่งด่วนตัดสิน<ref name="bradley" /> โครงเรื่องโศกของเชกสเปียร์มักเกิดเหตุการณ์ที่ผิดพลาดอย่างไม่น่าเกิดขึ้น อันนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ผิดพลาดและทำลายชีวิตของตัวละครเอกกับคนรัก นักวิจารณ์คนหนึ่งคือ แฟรงค์ เคอร์โมด (Frank Kermode) กล่าวว่า "บทละครไม่เปิดโอกาสให้ตัวละครหรือผู้ชมสามารถหลุดพ้นจากความโหดร้ายได้เลย"<ref name="bradley" /><ref name="ackroyd" /> ในบทละครเรื่อง ''[[แมคเบธ]]'' ซึ่งเป็นบทละครที่สั้นที่สุดของเชกสเปียร์ ความทะเยอทะยานไม่รู้จบยั่วให้แมคเบธกับภริยา คือเลดี้แมคเบธ ปลงพระชนม์กษัตริย์ผู้ชอบธรรมและชิงบัลลังก์มา ความผิดนี้ทำลายคนทั้งสองในเวลาต่อมา เชกสเปียร์ได้ประพันธ์บทกวีนิพนธ์อันไพเราะลงในงานบทละครโศกชิ้นสำคัญในช่วงหลังๆหลัง ๆ คือ ''Antony and Cleopatra'' กับ ''Coriolanus'' ซึ่งถือว่าเป็นบทกวีที่ดีที่สุด [[ที.เอส.อีเลียต]] กวีและนักวิจารณ์ ยังยกย่องว่าเป็นบทละครโศกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเชกสเปียร์อีกด้วย<ref name="ackroyd" /><ref>ที.เอส.อีเลียต (1934). ''Elizabethan Essays''. ลอนดอน: เฟเบอร์แอนด์เฟเบอร์, 59. OCLC 9738219.</ref>
 
ยุคสุดท้ายของผลงานของเชกสเปียร์หวนกลับไปสู่บทละครโรมานซ์หรือตลกโศกอีกครั้ง โดยมีบทละครสามเรื่องเป็นเรื่องเอกคือ ''Cymbeline'', ''The Winter's Tale'' และ ''The Tempest'' นอกจากนี้ยังมีงานอื่นอีกเช่น ''Pericles, Prince of Tyre'' บทละครทั้งสี่เรื่องนี้มีบรรยากาศของเรื่องค่อนข้างเศร้ากว่าบทละครตลกอื่น ๆ ในช่วงทศวรรษ 1590 แต่ก็จบลงด้วยความปรองดองและการให้อภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น นักวิจารณ์บางคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งนี้เกิดจากการที่เชกสเปียร์มีประสบการณ์ในชีวิตมากขึ้น แต่ก็อาจเกิดจากความนิยมในการชมละครที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยได้ด้วยเช่นกัน ยังมีผลงานของเชกสเปียร์ที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันที่เชื่อว่าประพันธ์ขึ้นในยุคนี้อีกคือเรื่อง ''พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8'' และ ''The Two Noble Kinsmen'' โดยคาดว่าเป็นงานเขียนร่วมกับ[[จอห์น เฟล็ตเชอร์]]
บรรทัด 90:
=== การแสดงละคร ===
[[ไฟล์:Globe theatre london.jpg|thumb|left|[[โรงละครโกลบ]] หลังที่สร้างขึ้นใหม่ในกรุงลอนดอน]]
ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าเชกสเปียร์เขียนบทละครในยุคแรกๆแรก ๆ ให้แก่คณะละครใด ที่หน้าปกของ ''Titus Andronicus'' ฉบับพิมพ์ปี 1594 ระบุว่าบทละครถูกนำไปแสดงโดยคณะละครเร่ถึง 3 คณะ<ref name="oxfordshake">สแตนลี่ย์ เวลส์, et al (2005). ''The Oxford Shakespeare: The Complete Works'', 2nd Edition. ออกซฟอร์ด: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด. ISBN 0-19-926717-0.</ref> หลังจากเหตุการณ์โรคระบาดใหญ่ในปี ค.ศ. 1592-3 บทละครของเขาก็นำไปแสดงในคณะละครของเขาเองที่โรงละคร The Theatre และ The Curtain ในชอร์ดิทช์ ทางฝั่งเหนือของ[[แม่น้ำเทมส์]]<ref name="oxfordshake" /> ชาวลอนดอนแห่กันไปที่นั่นเพื่อชมละครตอนแรกของเรื่อง ''พระเจ้าเฮนรี่ที่ 4'' เลโอนาร์ด ดิกก์ส บันทึกไว้ว่า "แทบจะหาห้องไม่ได้"<ref>เจมส์ ชาปิโร (2005). 1599: ''A Year in the Life of William Shakespeare''. ลอนดอน: เฟเบอร์แอนด์เฟเบอร์, xvii–xviii. ISBN 0-571-21480-0.</ref> เมื่อชาวคณะละครมีปัญหากับเจ้าของที่ดิน พวกเขาก็รื้อโรงละครลงแล้วเอาไม้ไปสร้างโรงละครแห่งใหม่ชื่อ "[[โรงละครโกลบ]]" ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำเทมส์ที่เซาธ์วาร์ค เป็นโรงละครแห่งแรกที่นักแสดงสร้างขึ้นเพื่อนักแสดงเอง<ref name="foakes">อาร์. เอ. โฟคส์ (1990). ''"Playhouses and Players"''. In ''The Cambridge Companion to English Renaissance Drama''. เอ. บรอนมุลเลอร์ และ ไมเคิล ฮาธาเวย์ (eds.). เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 6. ISBN 0-521-38662-4.</ref> โรงละครใหม่เปิดในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1599 โดยแสดงเรื่อง ''จูเลียส ซีซาร์'' เป็นเรื่องแรก บทละครที่เชกสเปียร์เขียนขึ้นหลังปี 1599 ล้วนสร้างสรรค์ขึ้นสำหรับโรงละครแห่งนี้ รวมถึงเรื่อง ''แฮมเล็ต'' ''โอเธลโล'' และ ''King Lear''<ref>เอ.เอ็ม. แนกเลอร์ (1958). ''Shakespeare's Stage''. นิวฮาเวน, CT: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล, 7. ISBN 0-300-02689-7.</ref>
 
หลังจากคณะละคร ''Lord Chamberlain's Men'' เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ''King's Men'' ในปี 1603 พวกเขาก็เริ่มได้เข้าเฝ้าถวายรับใช้แด่กษัตริย์องค์ใหม่ คือ [[สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ|พระเจ้าเจมส์]] แม้ประวัติการแสดงค่อนข้างจะขาดตอนไม่ต่อเนื่อง แต่คณะละครก็ได้ใช้บทละครของเชกสเปียร์แสดงต่อหน้าพระที่นั่งถึง 7 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1604 ถึง 31 ตุลาคม ค.ศ. 1605 รวมถึงเรื่อง ''[[เวนิสวาณิช]]'' ที่ได้แสดง 2 ครั้ง<ref name="oxfordshake" /> หลังจากปี 1608 พวกเขาแสดงที่โรงละครในร่ม Blackfriars ในระหว่างฤดูหนาว และแสดงที่โกลบในช่วงฤดูร้อน<ref name="foakes" /> ฉากของโรงละครในร่มเปิดโอกาสให้เชกสเปียร์ได้ทดลองใช้อุปกรณ์ประกอบฉากแบบแปลกใหม่ เช่นในเรื่อง ''Cymbeline'' ฉากการโจมตีของเทพจูปิเตอร์ "ในท่ามกลางเสียงฟ้าร้องแสงฟ้าผ่า ประทับอยู่เหนืออินทรี ทรงขว้างค้อนสายฟ้า เหล่าปีศาจต่างทรุดลงไป"<ref name="ackroyd" /><ref>ปีเตอร์ ฮอลแลนด์ (ed.) (2000). ''Cymbeline''. ลอนดอน: เพนกวิน; บทนำ, xli. ISBN 0-14-071472-3.</ref>
 
ในบรรดานักแสดงในคณะละครของเชกสเปียร์ มีนักแสดงผู้มีชื่อเสียงเช่น ริชาร์ด เบอร์บาจ, วิลเลียม เคมป์, เฮนรี่ คอนเดล และ จอห์น เฮมมิ่งส์ เบอร์บาจได้แสดงเป็นตัวละครเอกในบทละครยุคแรก ๆ ของเชกสเปียร์หลายเรื่อง รวมถึง ''ริชาร์ดที่ 3'' ''แฮมเล็ต'' ''โอเธลโล'' และ ''King Lear''<ref>วิลเลียม ริงเลอร์ จูเนียร์ (1997)."Shakespeare and His Actors: Some Remarks on King Lear". จาก ''Lear from Study to Stage: Essays in Criticism''. เจมส์ โอเกิน และ อาเทอร์ ฮอลีย์ สกูเทน (eds.). นิวเจอร์ซีย์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฟาร์เลย์ ดิคคินสัน, 127. ISBN 0-8386-3690-X.</ref> นักแสดงตลกผู้โด่งดัง วิล เคมป์ แสดงเป็นปีเตอร์คนรับใช้ในเรื่อง ''[[โรมิโอกับจูเลียต]]'' เป็น Dogberry ในเรื่อง ''Much Ado About Nothing''<ref name="compact" /> และบทอื่นๆอื่น ๆ อีก อย่างไรก็ดี ในวันที่ 29 มิถุนายน 1613 มีปืนใหญ่ยิงถูกหลังคาของโรงละครโกลบ ทำให้เกิดไฟไหม้ทลายโรงละครลง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไรยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด<ref name="oxfordshake" />
 
=== ต้นฉบับงานเขียน ===
บรรทัด 106:
=== ซอนเน็ต ===
[[ไฟล์:Sonnets1609titlepage.jpg|thumb|ปกหนังสือ ซอนเน็ตของเชกสเปียร์ พิมพ์ในปี ค.ศ. 1609]]
งานกวีนิพนธ์ชุด ''ซอนเน็ต'' ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1609 ถือเป็นงานเขียนที่ไม่ใช่บทละครชุดสุดท้ายของเชกสเปียร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ นักวิชาการไม่ค่อยแน่ใจว่า บทกวี 154 ชุดได้ประพันธ์ขึ้นในช่วงเวลาใด แต่เชื่อว่าเชกสเปียร์เขียนโคลงซอนเน็ตระหว่างทำงานอยู่เรื่อยๆเรื่อย ๆ ในเวลาว่าง<ref name="compact" /> ก่อนที่จะมีการพิมพ์บทกวีชุดปัญหาใน ''The Passionate Pilgrim'' ในปี 1599 ฟรังซิส เมเรส เคยอ้างถึงผลงานในปี 1598 ของเชกสเปียร์ เรื่อง "sugred Sonnets among his private friends"<ref name="honan" /> ดูเหมือนว่า เชกสเปียร์ได้วางโครงร่างบทประพันธ์เอาไว้สองชุดหลักที่ตรงข้ามกัน ชุดที่หนึ่งเกี่ยวกับตัณหาที่ไม่อาจควบคุมได้ของสตรีที่แต่งงานแล้ว (เรียกว่า "dark lady" หรือ "หญิงใจชั่ว") อีกชุดหนึ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งในความรักของเด็กหนุ่มไร้เดียงสา (เรียกว่า "fair youth" หรือ "วัยเยาว์ที่งดงาม") ไม่ทราบแน่ชัดว่าแนวคิดทั้งสองนี้เป็นตัวแทนถึงผู้ใดผู้หนึ่งในชีวิตจริงหรือไม่ รวมถึงคำว่า "I" (ข้า) ในบทกวี จะหมายถึงตัวเชกสเปียร์เองหรือไม่ งานพิมพ์ซอนเน็ตในปี 1609 ได้อุทิศให้แก่ "มิสเตอร์ ดับเบิลยู. เอช." ซึ่งได้รับยกย่องไว้ว่าเป็น "ผู้ให้กำเนิดเพียงผู้เดียว" ของบทกวีเหล่านั้น แต่ไม่ทราบแน่ว่าผู้เขียนคำอุทิศนี้คือเชกสเปียร์หรือทางสำนักพิมพ์ ทอมัส ทอร์ป กันแน่ ทั้งไม่ทราบว่า มิสเตอร์ ดับเบิลยู. เอช. ตัวจริงคือใคร มีทฤษฎีที่วิเคราะห์กวีนิพนธ์เล่มนี้มากมาย รวมถึงว่าเชกสเปียร์ได้อนุญาตให้มีการตีพิมพ์คราวนี้หรือไม่<ref name="compact" /> นักวิจารณ์ต่างให้คำชื่นชมแก่บทกวีชุดซอนเน็ตว่าเป็นตัวอย่างการพรรณนาอันลึกซึ้งอย่างวิเศษเกี่ยวกับธรรมชาติของความรัก ความใคร่ การเกิด การตาย และกาลเวลา<ref>ไมเคิล วูด (2003). ''Shakespeare''. นิวยอร์ก: เบสิกบุ๊คส์, 84. ISBN 0-465-09264-0.</ref>
 
== ลักษณะการประพันธ์ ==
ลักษณะการประพันธ์บทละครยุคแรก ๆ ของเชกสเปียร์เป็นไปตามสมัยนิยมในยุคของเขา โดยใช้ถ้อยคำภาษาที่มิได้ส่งออกมาจากภาวะในใจของตัวละครหรือตามบทบาทอันแท้จริง<ref>วูล์ฟกัง เคลเมน (2005). ''Shakespeare's Dramatic Art: Collected Essays'', 150. ลอนดอน; นิวยอร์ก: Routledge. ISBN 0-415-35278-9.</ref> คำพรรณนาในบทกวีก็เต็มไปด้วยอุปมาอุปไมยอันเพราะพริ้ง ภาษาที่ใช้เป็นลักษณะของสุนทรพจน์อันไพเราะมากเสียกว่าจะเป็นบทพูดจาสนทนากันตามจริง
 
แต่ต่อมาไม่นาน เชกสเปียร์เริ่มปรับปรุงวิถีทางดั้งเดิมเหล่านั้นเสียใหม่ตามจุดประสงค์ส่วนตัว การรำพึงรำพันกับตัวเองใน ''ริชาร์ดที่ 3'' มีพื้นฐานมาจากวิธีการบรรยายจิตสำนึกของตัวละครในละครยุคกลาง ในขณะเดียวกันก็มีการแสดงบุคลิกตัวละครอย่างชัดแจ้งในระหว่างการรำพันนั้น การเปลี่ยนแปลงนี้มิได้เกิดขึ้นทันทีทันใดในบทละครเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เชกสเปียร์ค่อยๆเชกสเปียร์ค่อย ๆ ผสมผสานวิธีการทั้งสองนี้เข้าด้วยกันไปเรื่อย ๆ ในระหว่างการทำงาน ตัวอย่างที่ดีที่สุดเห็นจะได้แก่บทละครเรื่อง ''โรมิโอกับจูเลียต''<ref>วูล์ฟกัง เคลเมน(2005). ''Shakespeare's Imagery''. ลอนดอน; นิวยอร์ก: Routledge, 29. ISBN 0-415-35280-0.</ref> ช่วงกลางทศวรรษ 1590 ระหว่างที่เขาประพันธ์เรื่อง ''โรมิโอกับจูเลียต'', ''ริชาร์ดที่ 3'' และ ''ฝัน ณ คืนกลางฤดูร้อน'' เชกสเปียร์เริ่มแต่งบทกวีที่มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น เขาค่อย ๆ ปรับระดับการอุปมาและการพรรณนาให้เหมาะสมกับลักษณะของตัวละครและเนื้อเรื่องของเขา
 
ฉันทลักษณ์มาตรฐานสำหรับบทกวีของเชกสเปียร์คือ [[blank verse]] ประพันธ์ด้วยมาตราแบบ [[iambic pentameter]] หมายความว่าบทกวีของเขาไม่ค่อยมีเสียงสัมผัส และมี 10 พยางค์ต่อ 1 บรรทัด ออกเสียงหนักที่พยางค์คู่ ฉันทลักษณ์ในบทประพันธ์ยุคแรกก็ยังมีความแตกต่างกับบทประพันธ์ในยุคหลังของเขาอยู่มาก โดยทั่วไปยังคงความงดงาม แต่รูปประโยคมักจะเริ่มต้น หยุด และจบเนื้อหาลงภายในบรรทัด เป็นความราบเรียบจนอาจทำให้น่าเบื่อหน่าย<ref>Frye, Roland Mushat (2005). ''The Art of the Dramatist''. ลอนดอน; นิวยอร์ก: Routledge. ISBN 0-415-35289-4.</ref> ครั้นเมื่อเชกสเปียร์เริ่มชำนาญมากขึ้น เขาก็เริ่มใส่อุปสรรคลงไปในบทกวี ทำให้มีการชะงัก หยุด หรือมีระดับการลื่นไหลของคำแตกต่างกัน เทคนิคนี้ทำให้เกิดพลังชนิดใหม่และทำให้บทกวีที่ใส่ในบทละครมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่นที่ปรากฏใน ''จูเลียส ซีซาร์'' และ ''แฮมเล็ต''<ref>จอร์จ ที ไรท์ (2004). "The Play of Phrase and Line". จาก ''Shakespeare: An Anthology of Criticism and Theory'', 1945–2000. รัสส์ แมคโดนัลด์ (ed.). ออกซฟอร์ด: แบล็กเวลล์, 868. ISBN 0-631-23488-8.</ref>
บรรทัด 117:
หลังจากเรื่อง ''แฮมเล็ต'' เชกสเปียร์ยังปรับรูปแบบการประพันธ์บทกวีของเขาต่อไปอีก โดยเฉพาะการแสดงความรู้สึกสื่อถึงอารมณ์ซึ่งปรากฏในบทละครโศกในยุคหลัง ๆ ในช่วงปลายของชีวิตการทำงานของเขา เชกสเปียร์พัฒนาเทคนิคการประพันธ์หลายอย่างให้ส่งผลกระทบด้านอารมณ์ต่าง ๆ กันได้ เช่น การส่งเนื้อความจากประโยคหนึ่งต่อเนื่องไปอีกประโยคหนึ่ง (enjambment) การใส่จังหวะเว้นช่วงหรือจังหวะหยุดแบบแปลก ๆ รวมถึงโครงสร้างและความยาวประโยคที่แตกต่างกันหลาย ๆ แบบ ผู้ฟังถูกท้าทายให้จับใจความและความรู้สึกของตัวละครให้ได้<ref name="mcdonald">รัสส์ แมคโดนัลด์ (2006). ''Shakespeare's Late Style''. เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. ISBN 0-521-82068-5.</ref> บทละครโรมานซ์ในยุคหลังที่มีโครงเรื่องพลิกผันชวนประหลาดใจ ส่งแรงบันดาลใจให้กับแนวทางประพันธ์บทกวีในช่วงสุดท้าย โดยมีประโยคสั้น-ยาว รับส่งล้อความกัน มีการใช้วลีจำนวนมาก และสลับตำแหน่งประธาน-กรรม ของประโยค เป็นการสร้างสรรค์ผลกระทบใหม่โดยธรรมชาติ<ref name="mcdonald" />
 
อัจฉริยะในทางกวีของเชกสเปียร์มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับสัญชาตญานการทำละคร<ref name="gibbons">ไบรอัน กิบบอนส์ (1993). Shakespeare and Multiplicity. Cambridge: Cambridge University Press, 1. ISBN 0-521-44406-3.</ref> โครงเรื่องละครของเชกสเปียร์ได้รับอิทธิพลจาก [[เปตราก]] และ [[ราฟาเอล โฮลินเชด|โฮลินเชด]] เช่นเดียวกับนักเขียนบทละครคนอื่นๆอื่น ๆ แต่เขาปรับปรุงโครงเรื่องเสียใหม่ สร้างศูนย์กลางความสนใจขึ้นหลาย ๆ จุดและแสดงการบรรยายด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้ชมมากเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเชกสเปียร์มีความชำนาญมากขึ้นเท่าใด เขาก็สามารถสร้างตัวละครได้ชัดเจนมากขึ้น มีแรงจูงใจอันหลากหลายมากขึ้น และมีวิธีการพูดที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างไรก็ดี เชกสเปียร์ยังคงรักษารูปแบบของงานในยุคต้นของเขาเอาไว้อยู่บ้าง แม้ในงานบทละครโรมานซ์ช่วงหลังของเขา ก็ยังมีการใช้รูปแบบของบทอันพริ้งเพรา เพื่อรักษามนต์เสน่ห์ของมายาแห่งการละครเอาไว้<ref name="mcdonald" /><ref>จอห์น ซี. เมกแฮร์ (2003). ''Pursuing Shakespeare's Dramaturgy: Some Contexts, Resources, and Strategies in his Playmaking''. นิวเจอร์ซีย์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแฟร์เลย์ ดิคคินสัน, 358. ISBN 0-8386-3993-3.</ref>
 
== อิทธิพลของเชกสเปียร์ ==
บรรทัด 139:
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เชกสเปียร์ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรมากนัก แต่ก็ได้รับคำยกย่องสรรเสริญตามสมควร<ref>มาร์ค โดมินิค (1988). ''Shakespeare–Middleton Collaborations''. Beaverton, Or.: สำนักพิมพ์อลิออธ, 9. ISBN 0-945088-01-9.</ref> ปี ค.ศ. 1598 พระนักเขียนชื่อ ฟรังซิส เมเรส ยกย่องเชกสเปียร์ว่า "โดดเด่นที่สุด" ยิ่งกว่านักเขียนชาวอังกฤษทั้งหมดไม่ว่าด้านงานสุขหรือโศกนาฏกรรม<ref>เจอร์ไมนี เกรียร์ (1986). ''William Shakespeare''. ออกซฟอร์ด: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, 9. ISBN 0-19-287538-8.</ref> เหล่านักเขียนบทละคร ''Parnassus'' ที่วิทยาลัยเซนต์จอห์น เคมบริดจ์ นับเนื่องเขาอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ[[เจฟฟรีย์ ชอเซอร์|ชอเซอร์]] [[จอห์น โกเวอร์|โกเวอร์]] และ[[เอ็ดมันด์ สเปนเซอร์|สเปนเซอร์]]<ref name="grady">ฮิว เกรดี (2001). "Shakespeare Criticism 1600–1900". In deGrazia, Margreta, and Wells, Stanley (eds.), ''The Cambridge Companion to Shakespeare''. เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 267. ISBN 0-521-65094-1.</ref> ใน First Folio เบน จอห์นสัน เรียกเชกสเปียร์ว่าเป็น "จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย เสียงชื่นชม ความรื่นเริงและความมหัศจรรย์แห่งเวทีของเรา" แม้เขาจะเคยกล่าวในที่แห่งอื่นว่า "เชกสเปียร์ต้องการศิลปะ"<ref name="grady" />
 
ระหว่าง[[การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ|ช่วงฟื้นฟูราชวงศ์]]ในช่วงทศวรรษ 1660 และปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 แนวคิดแบบคลาสสิกเป็นเสมือนแฟชั่นชั่วครู่ชั่วยาม นักวิจารณ์ในยุคนั้นส่วนมากจึงมักจัดระดับงานของเชกสเปียร์อยู่ต่ำกว่า [[จอห์น เฟล็ตเชอร์]] และ [[เบน โจนสัน]]<ref name="grady">Grady, Hugh (2001). ''"Shakespeare Criticism 1600–1900"''. In deGrazia, Margreta, and Wells, Stanley (eds.), ''The Cambridge Companion to Shakespeare''. เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 267. ISBN 0-521-65094-1.</ref> ตัวอย่างเช่น โทมัส ไรเมอร์ วิพากษ์วิจารณ์เชิงตำหนิกับการที่เชกสเปียร์นำเรื่องขำขันมาผสมปนเปกับงานโศก อย่างไรก็ดี จอห์น ไดรเดน กวีและนักวิจารณ์อีกคนหนึ่งให้ค่าแก่งานของเชกสเปียร์อย่างสูง เขาพูดถึงโจนสันว่า "ผมนับถือเขา แต่ผมรักเชกสเปียร์"<ref>Dryden, John (1668). ''"An Essay of Dramatic Poesy"''. อ้างถึงโดย Grady ใน ''Shakespeare Criticism'', 269; คำพูดทั้งหมดดูได้จาก: Levin, Harry (1986). ''"Critical Approaches to Shakespeare from 1660 to 1904"''. จาก ''The Cambridge Companion to Shakespeare Studies''. Wells, Stanley (ed.). เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 215. ISBN 0-521-31841-6.</ref> คำวิจารณ์ของไรเมอร์มีอิทธิพลมากกว่าเป็นเวลาหลายทศวรรษ จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักวิจารณ์จึงเริ่มกล่าวขวัญถึงถ้อยคำอันงดงามของเชกสเปียร์ และยอมรับถึงอัจฉริยภาพในทางอักษรของเขา งานเขียนเชิงวิชาการหลายชิ้น รวมถึงงานที่โดดเด่นเช่นงานเขียนของ [[ซามูเอล จอห์นสัน]] ในปี 1765 และ [[เอ็ดมอนด์ มาโลน]] ในปี 1790 แสดงให้เห็นถึงความนิยมยกย่องที่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆเรื่อย ๆ<ref name="grady" /> เมื่อถึงช่วงปี 1800 เขาก็ได้รับยกย่องให้เป็นกวีเอกแห่งชาติ<ref>ไมเคิล ดอบสัน, (1992). ''The Making of the National Poet: Shakespeare, Adaptation and Authorship, 1660–1769''. ออกซฟอร์ด: สำนักพิมพ์คลาเรนดอน. ISBN 0-19-818323-2. อ้างถึงโดย Grady ใน ''Shakespeare Criticism'', 270.</ref> ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ชื่อเสียงของเชกสเปียร์ก็เลื่องลือกว้างไกลออกไป เทียบเคียงกับบรรดานักเขียนชื่อดังท่านอื่นๆอื่น ๆ ได้แก่ [[วอลแตร์]] [[โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเท|เกอเธ่]] [[สเตนดัล]] และ [[วิกเตอร์ ฮูโก]] เป็นต้น<ref>Grady อ้างถึง Philosophical Letters ของวอลแตร์ (1733); Wilhelm Meister's Apprenticeship ของเกอเธ่ (1795); two-part pamphlet Racine et Shakespeare ของสเตนดัล (1823–5); prefaces to Cromwell ของฮูโก (1827) และ วิลเลียมเชกสเปียร์ (1864). ใน ''Shakespeare Criticism'', 272–274.</ref>
 
ระหว่างช่วง[[ยุคโรแมนติก]] เชกสเปียร์ได้รับยกย่องอย่างสูงจากกวีและนักปรัชญาวรรณกรรม [[แซมมวล เทย์เลอร์ คอเลริดจ์]] (Samuel Taylor Coleridge) นักวิจารณ์ชื่อ August Wilhelm Schlegel แปลงบทละครของเขาไปอยู่ในวรรณกรรมโรแมนติกของเยอรมัน<ref>Levin, Harry (1986). "Critical Approaches to Shakespeare from 1660 to 1904". จาก ''The Cambridge Companion to Shakespeare Studies''. Wells, Stanley (ed.). เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 215. ISBN 0-521-31841-6.</ref> เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำวิจารณ์ยกย่องอัจฉริยะของเชกสเปียร์ก็ยิ่งเลิศลอยมากขึ้น<ref>โรเบิร์ต ซอว์เยอร์, (2003). ''Victorian Appropriations of Shakespeare''. นิวเจอร์ซี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแฟร์เลย์ดิกคินสัน, 113. ISBN 0-8386-3970-4.</ref> โทมัส คาร์ลไลล์ เขียนถึงเขาเมื่อ ค.ศ. 1840 ว่า "เชกสเปียร์ผู้ยิ่งใหญ่ ส่องประกายด้วยมงกุฎแห่งเอกราช อันเจิดจรัสเหนือผองเรา ดำรงซึ่งเกียรติ ศักดิ์ และพลังอันยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้ใดจักทำลายลงได้"<ref>Carlyle, Thomas (1840). ''"On Heroes, Hero Worship & the Heroic in History"''. อ้างถึงในงานของ เอมมา สมิธ, (2004). ''Shakespeare's Tragedies''. ออกซฟอร์ด: แบล็กเวลล์, 37. ISBN 0-631-22010-0.</ref> การแสดงละครใน[[ยุควิกตอเรีย]]สร้างจากงานของเชกสเปียร์อย่างยิ่งใหญ่อลังการ<ref>Schoch, Richard (2002). "Pictorial Shakespeare". จาก ''The Cambridge Companion to Shakespeare on Stage''. Wells, Stanley, and Sarah Stanton (eds.). เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, 58–59. ISBN 0-521-79711-X.</ref> [[จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์]] นักวิจารณ์และนักเขียนบทละครถึงกับตั้งสมญานามเชิงล้อเลียนให้แก่เชกสเปียร์ว่าเป็น "Bardolatry" (จอมเทพแห่งกวี: มีความหมายเชิงยกย่องแต่แฝงความโบราณคร่ำครึ) และกล่าวว่า งานเขียนร่วมสมัยเชิง[[วรรณกรรมเชิงธรรมชาตินิยม|ธรรมชาตินิยม]]ที่เริ่มจากบทละครของ[[เฮนริก อิบเซน|อิบเซน]] นับเป็นจุดสิ้นสุดยุคของเชกสเปียร์<ref name="grady" />
 
แต่การปฏิวัติศิลปะยุคใหม่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มิได้ละทิ้งงานของเชกสเปียร์ กลับนำผลงานของเขากลับมาใหม่ตามความพอใจของ[[อาวองการ์ด|ชนชั้นสูง]] กลุ่ม[[ลัทธิเอ็กซเปรสชันนิสม์|เอ็กซ์เพรสชันนิสต์]]ในเยอรมันและพวก[[ลัทธิอนาคตนิยม|ฟิวเจอริสต์]]ในมอสโกต่างนำเอาบทละครของเขากลับมาสร้างสรรค์กันใหม่ นักเขียนบทละครและผู้กำกับนิยมมาร์กซิสต์ ชื่อ Bertolt Brecht ได้สร้างโรงละครย้อนยุคโดยได้รับแรงบันดาลใจจากเชกสเปียร์ ที.เอส.อีเลียต กวีและนักวิจารณ์แสดงความเห็นค้านกับ[[จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์|ชอว์]] ว่างานของเชกสเปียร์มีความ "เรียบง่าย" อย่างมาก ซึ่งแสดงถึงความทันสมัยของเชกสเปียร์ในยุคเดียวกันนั้น<ref name="grady-post">ฮิว เกรดี (2001). "Modernity, Modernism and Postmodernism in the Twentieth Century's Shakespeare". จาก ''Shakespeare and Modern Theatre: The Performance of Modernity''. Bristol, Michael, and Kathleen McLuskie (eds.). นิวยอร์ก: Routledge, 22–6. ISBN 0-415-21984-1.</ref> อีเลียต ร่วมกับ จี.วิลสัน ไนท์ และโรงเรียนวิจารณ์วรรณกรรมยุคใหม่ มีบทบาทสำคัญในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมนี้โดยได้รับอิทธิพลจากผลงานของเชกสเปียร์ ช่วงทศวรรษ 1950 คลื่นการเปลี่ยนแปลงของยุคใหม่เริ่มเคลื่อนเข้าสู่ยุค "โพสต์-โมเดิร์น" ซึ่งนำการศึกษาวรรณกรรมของเชกสเปียร์เข้าสู่ยุคใหม่ด้วย<ref name="grady-post" /> ทศวรรษ 1980 ลักษณะการศึกษาผลงานของเชกสเปียร์เปิดกว้างต่อศิลปะในรูปแบบต่างๆต่าง ๆ มากขึ้น เช่น [[structuralism]], [[เฟมินิสต์]], [[อัฟริกัน-อเมริกัน]], และ [[เควียร์]]<ref name="grady-post" />
 
== ข้อเคลือบแคลงเกี่ยวกับเชกสเปียร์ ==
=== ความเป็นเจ้าของผลงาน ===
หลังจากเชกสเปียร์เสียชีวิตไปแล้วราว 150 ปี ก็เริ่มเกิดข้อสงสัยขึ้นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของผลงานบางชิ้นของเชกสเปียร์<ref>จอร์จ แมคไมเคิล และ เอ็ดการ์ เอ็ม. เกล็นน์ (1962). ''Shakespeare and his Rivals: A Casebook on the Authorship Controversy''. นิวยอร์ก: สำนักพิมพ์โอดิสซีย์. OCLC 2113359.</ref> นักเขียนคนอื่นที่อาจเป็นเจ้าของผลงานเหล่านั้นได้แก่ [[ฟรานซิส เบคอน]], [[คริสโตเฟอร์ มาร์โลว์]] และ[[เอ็ดเวิร์ด เดอ เวียร์ เอิร์ลแห่งออกซฟอร์ด]]<ref>เอช. เอ็น. กิบสัน (2005). ''The Shakespeare Claimants: A Critical Survey of the Four Principal Theories Concerning the Authorship of the Shakespearean Plays''. ลอนดอน; นิวยอร์ก: Routledge, 48, 72, 124. ISBN 0-415-35290-8.</ref> แม้ว่าในวงวิชาการจะมีการพิจารณาและปฏิเสธความเป็นเจ้าของงานของผู้น่าสงสัยคนอื่นๆอื่น ๆ ไป แต่ประเด็นความสนใจในเรื่องนี้ก็ยังคงโด่งดังอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีที่ว่าเอิร์ลแห่งออกซฟอร์ดเป็นผู้ประพันธ์ตัวจริง ที่ยังคงมีการศึกษาค้นคว้าอยู่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 21<ref>เดวิด เคธแมน (2003). "ข้อสงสัยในความเป็นเจ้าของงาน". ใน ''Shakespeare: An Oxford Guide''. สแตนลีย์ เวลล์ (ed.). ออกซฟอร์ด: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, 620, 625–626. ISBN 0-19-924522-3.</ref>
 
=== ศาสนา ===
นักวิชาการบางคนอ้างว่าสมาชิกตระกูลเชกสเปียร์นับถือคริสต์ศาสนานิกาย[[โรมันคาทอลิก]] ในยุคที่การนับถือคาธอลิกเป็นการกระทำผิดกฎหมาย<ref>Pritchard, Arnold (1979). ''Catholic Loyalism in Elizabethan England''. Chapel Hill: University of North Carolina Press, 3. ISBN 0-8078-1345-1.</ref> แต่ที่แน่ๆแน่ ๆ มารดาของเชกสเปียร์ คือแมรี อาร์เดน มาจากครอบครัวคาธอลิกที่เคร่งครัด หลักฐานแน่นหนาเท่าที่พบน่าจะเป็นเอกสารเข้ารีตคาธอลิกที่ลงนามโดย จอห์น เชกสเปียร์ ค้นพบในปี ค.ศ. 1757 ในจันทันในบ้านเดิมของเขาที่ถนนเฮนลีย์ ปัจจุบันเอกสารนั้นสูญหายไปแล้ว แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเอกสารนั้นไม่ใช่เอกสารที่ปลอมขึ้น<ref name="ackroyd" /> ในปี ค.ศ. 1591 คณะปกครองสงฆ์รายงานว่า จอห์นไม่ได้ไปร่วมการประชุมที่โบสถ์ "เนื่องจากหวาดกลัวกระบวนการสารภาพบาป" ซึ่งเป็นวิธีล้างบาปโดยปกติของชาวคาธอลิก<ref name="ackroyd" /> ปี ค.ศ. 1606 ซูซานนา บุตรสาวของวิลเลียมถูกขึ้นชื่อไว้ในทะเบียนผู้ไม่เข้าร่วมพิธีรับศีลอีสเตอร์ที่เมืองสแตรทฟอร์ด<ref name="compact" /><ref name="ackroyd" /> นอกจากนี้ นักวิชาการยังพบฉากเหตุการณ์ในบทละครของเขาหลายส่วนที่ทั้งสนับสนุนและต่อต้านความเป็นคาธอลิก ข้อเท็จจริงจึงยังไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าที่แท้เป็นอย่างไรกันแน่<ref>ริชาร์ด วิลสัน (2004). ''Secret Shakespeare: Studies in Theatre, Religion and Resistance''. แมนเชสเตอร์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์, 34. ISBN 0-7190-7024-4.</ref>
 
=== รสนิยมทางเพศ ===
บรรทัด 252:
=== อนุสาวรีย์ ===
[[ไฟล์:Leicestersquareshakespeare.jpg|thumb|อนุสาวรีย์เชกสเปียร์ ที่จัตุรัสเลสเตอร์]]
ผลจากชื่อเสียงและความนิยมในผลงานของเชกสเปียร์ จึงมีอนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์ของเชกสเปียร์ในประเทศต่างๆต่าง ๆ ทั่วโลก ต่อไปนี้เป็นต้วอย่างอนุสาวรีย์บางแห่งที่โดดเด่นเป็นที่น่าจดจำ<ref>[http://www.william-shakespeare.info/william-shakespeare-statues-and-memorials.htm รวมอนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์ของเชกสเปียร์]</ref><ref>[http://www.nycgovparks.org/sub_your_park/historical_signs/hs_historical_sign.php?id=9772 อนุสาวรีย์เชกสเปียร์ที่เซนทรัลปาร์ก]</ref>
# รูปปั้นครึ่งตัวของเชกสเปียร์ที่โบสถ์โฮลี่ทรินิตี้ ในเมืองสแตรทฟอร์ด ซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพของเชกสเปียร์
# โกเวอร์เมมโมเรียล ที่อุทยานบันครอฟต์ เมืองสแตรทฟอร์ด เป็นรูปปั้นเชกสเปียร์ในท่านั่ง ด้านข้างมีรูปปั้นของเลดี้แมคเบธ เจ้าชายฮัล แฮมเล็ต พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 และฟอลสตัฟฟ์ เป็นตัวแทนหมายถึง ปรัชญา โศกนาฏกรรม ประวัติศาสตร์ และความขบขัน ผู้อนุเคราะห์การก่อสร้างคือลอร์ดโรนัลด์ ซุทเทอร์แลนด์-โกเวอร์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1888
บรรทัด 261:
 
=== ละครและภาพยนตร์ ===
เรื่องราวของเชกสเปียร์รวมถึงผลงานของเขาได้รับการดัดแปลงไปยังสื่อต่างๆต่าง ๆ เช่น เป็นละครชุดทางโทรทัศน์เรื่อง "เชกสเปียร์" ทางสถานีโทรทัศน์บีบีซี ส่วน[[ภาพยนตร์]]ที่เกี่ยวกับเชกสเปียร์ได้แก่
* ''The Life of Shakespeare'' (ค.ศ. 1914)
* ''Master Will Shakespeare'' (ค.ศ. 1936)
บรรทัด 308:
{{col-end}}
 
=== อื่นๆอื่น ๆ ===
นอกจากนี้ยังมี[[ดาวเคราะห์น้อย]]ที่ตั้งชื่อตามนามสกุลของเขา คือ ดาวเคราะห์น้อย [[2985 เชกสเปียร์]] ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1983