ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยนเรศวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Itsaranuwatwin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Itsaranuwatwin (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55:
* '''ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย''' คือ [[เสลา|ดอกเสลา]]<ref name="สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย">[http://www.nu.ac.th/ab-sign.htm สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย]</ref>
* '''สีประจำมหาวิทยาลัย''' คือ สีเทา-แสด<ref name="สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย"/>
** [[สีเทา]] หมายถึง สีของ[[สมอง]] แปลว่า ความคิดหรือปัญญา
** [[สีแสด]] หมายถึง สีของ[[คุณธรรม]]และความกล้าหาญ โดย สีแสด ประกอบด้วย
*** [[สีแดง]] หมายถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แปลว่า ความกล้าหาญ
*** [[สีเหลือง]] หมายถึง [[พระพุทธชินราช]] แปลว่า คุณธรรม
***
 
[[ไฟล์:* '''ประวัติการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช.jpg|thumb]] มหาวิทยาลัยนเรศวร'''
<br />
 
[[ไฟล์:พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช.jpg|thumb]]
[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จฯ เป็นประธานพิธีเททองหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช คณะกรรมการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้รับแจ้งจากกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการปั้น-หล่อพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขนาดสองเท่าพระองค์จริง ในลักษณะประทับนั่งหลั่งทักษิโณทก ประกาศอิสรภาพว่าได้ดำเนินการปั้นแล้วเสร็จ พร้อมที่จะเททองหล่อพระบรมรูปฯ ได้จึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จแทนพระองค์เป็นประธานในพิธีหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทุ่งหนออ้อ-ปากคลองจิก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งตรงกับวันทหารผ่านศึก มีปรากฏการ์ณธรรมชาติที่ควรบันทึกไว้คือคืนวันที่ 2 กุมภาพัธ์ 2535 ได้มีพายุฝนกระหน่ำอย่างหนักเกือบตลอดคืน ในบริเวณที่เตรียมการทำพิธีเททอง แต่พอรุ่งอรุณท้องฟ้าก็สว่างปราศจากเมฆหมอก อากาศเย็นสบาย เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ผู้ที่มาร่วมพิธีทุกคน
 
คราวทรงเสด็จเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระราชทานปริญญาบัตร การดำเนินการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือนมกราคม 2536 คณะกรรมการและมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ขอพระราชทานอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ และพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีการศึกษา 2534-2535 จำนวน 1,070 คน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยาบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ ซึ่งทรงกำหนดจะเสด็จฯ แทนพระองค์ในวันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2536
 
'''เหตุผลในการจัดสร้าง'''
 
เหตุผลในการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีดังต่อไปนี้
 
1. พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2098 เมื่อครั้งสมเด็จพระชนกยังดำรงพระยศเป็นพระมหาธรรมราชา เจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก จึงเห็นสมควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ท่านได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นคุณปการอันใหญ่หลวงแก่ชาติไทย
 
2. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคณาจารย์ ข้าราชการ นิสิต และประชาชนโดยทั่วไป
 
3. บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ซึ่งมีความกว้างประมาณ 40 เมตร (สมัยนั้น) จะเป็นสวนหย่อมและสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ของชาวจังหวัดพิษณุโลกและผู้มาเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยฯ
 
'''การหล่อพระบรมรูป'''
 
ภายหลังจากที่คณะกรมศิลปากรได้เดินทางมาดูสถานที่และภูมิทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ฯแล้ว พลเอกศิริ ทิวะพันธุ์ ประธานคณะกรรมการสร้างพระบรม-ราชานุสาวรีย์ฯ นายสมบัติ นพรัก รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ และนายกนก บุญโพธิ์แก้ว ผู้อำนวยการกองหัตถศิลป์ได้ประสานงานร่วมกันในการดำเนินการปั้น-หล่อพระบรมรูปฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
กรมศิลปากรดำเนินการออกแบบหุ่นร่าง (สเก็ตช์) องค์พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ พร้อมทั้ง แท่นฐานและผังบริเวณบนเพลทไม้เพื่อเป็นร่างในการดัดโครงเหล็กพื้นดิน และหล่อปูนปลาสเตอร์ปั้นพระบรมรูปฯ โดยก่อนที่จะปั้นได้ทำพิธีบวงสรวงถวายองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อให้การดำเนินงานลุล่วงไปด้วยดี และต่อมาผู้อำนวยการกองหัตถศิลป์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินการทำพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
 
พระรูปปั้นปูนปลาสเตอร์นำมาเป็นแม่พิมพ์เพื่อหล่อด้วยโลหะสำริด น้ำหนักประมาณ 2 ตันเศษ รูปปั้นและฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีขนาดเป็นสองเท่าของบุคคลธรรมดา โดยมีความสูง 3 เมตร 9 เซนติเมตร ฐานด้านหน้ากว้าง 1 เมตร 80 เซนติเมตร ฐานด้านข้างกว้าง 1 เมตร 98 เซนติเมตร ฐานพระบรมรูปฯ จะมีแผ่นพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และคำจารึก รวมทั้งบริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์จะตกแต่งเป็นสวนประดับเพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้มาเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยฯ ต่อไป[[ไฟล์:พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช.jpg|thumb]]
<br />
== ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัย ==