ผลต่างระหว่างรุ่นของ "90377 เซดนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 49:
 
=== การตั้งชื่อ ===
ในระยะแรก ไมก์ บราวน์ ตั้งชื่อเล่นให้กับเซดนาว่า "[[ฟลายอิงดัตช์แมน|เดอะฟลายอิงดัตช์แมน]]" หรือแค่ "ดัตช์" ตามชื่อเรือผีสิงในตำนาน เนื่องด้วยการเคลื่อนที่ที่ช้าที่ทำให้ทีมงานรู้ว่าดาวนั้นมีตัวตนอยู่<ref>{{cite book |title=How I Killed Pluto And Why It Had It Coming |author=[[Michael E. Brown]] |publisher=Spiegel & Grau |year=2012 |location=New York |isbn=978-0-385-53110-8 |page=96}}</ref> สำหรับชื่ออย่างเป็นทางการ ไมก์ บราวน์ เลือกชื่อเซดนา ชื่อจากเทพปกรณัมอินุต ซึ่งบราวน์เลือกด้วยเหตุผลส่วนหนึ่งว่าอินุตเป็นกลุ่มชนขั้วโลกที่อยู่ใกล้บ้านของเขาที่สุดที่ปาซาเดนา และเหตุผลอีกส่วนหนึ่งว่าชื่อนั้นสะกดง่าย ไม่เหมือนกับ[[ควาอัวร์]]<ref>{{cite book |title=How I Killed Pluto And Why It Had It Coming |author=[[Michael E. Brown]] |publisher=Spiegel & Grau |year=2012 |location=New York |isbn=978-0-385-53110-8 |page=103}}</ref> บนเว็บไซต์ของเขา เขาเขียนว่า {{cquote|วัตถุที่ค้นพบใหม่ของเรานั้นหนาวที่สุด อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ ดังนั้นเราจึงรู้สึกว่ามันเหมาะสมที่จะตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่[[เซดนา (เทพปกรณัม)|เซดนา]] [[เทพปกรณัมอินุต|เทพีอินุต]]แห่งท้องทะเล ผู้ซึ่งเชื่อกันว่าอาศัยอยู่ ณ ก้นของ[[มหาสมุทรอาร์กติก]]อันเยือกเย็น<ref name="mikebrown"/>}} ไมเคิล บราวน์ยังเสนอต่อศูนย์ดาวเคราะห์น้อยของ[[สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล]]ว่าวัตถุใด ๆ ที่จะค้นพบในอนาคต ถ้าอยู่ในบริเวณเดียวกับเซดนา ควรตั้งชื่อตามสิ่งที่อยู่ในเทพปกรณัมอาร์กติก<ref name="mikebrown" /> ทีมผู้ค้นพบตีพิมพ์ชื่อ "เซดนา" ก่อนการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ<ref name="mpc" /> [[ไบรอัน มาร์สเดน]] ผู้อำนวยการศูนย์ดาวเคราะห์น้อย กล่าวว่าการทำเช่นนี้เป็นการละเมิดพิธีสารและอาจมีนักดาราศาสตร์ของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลโต้แย้งได้<ref name="Walker" /> ถึงกระนั้น ไม่มีข้อคัดค้านใด ๆ ต่อชื่อนี้เลย และไม่มีชื่ออื่นใดเสนอเข้ามา การประชุมของคณะกรรมการร่างชื่อวัตถุขนาดเล็กจึงยอมรับชื่อ "เซดนา" ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547<ref name="MPC_20040928" /> และอนุญาตให้มีการตั้งชื่อก่อนที่จะได้รับชื่ออย่างเป็นทางการ สำหรับกรณีที่น่าสนใจเป็นพิเศษที่คล้ายกัน<ref name="mpc" />
 
== วงโคจรและการโคจร ==
[[ไฟล์:Sedna solar system Jan1 2017.png|thumb|left|วงโคจรของเซดนาเมื่อเทียบกับวงโคจรของวัตถุระบบสุริยะชั้นนอก (ภาพจากด้านบนและด้านข้าง วงโคจรดาวพลูโตเป็นสีม่วงและวงโคจรดาวเนปจูนเป็นสีน้ำเงิน)|alt=The orbit of Sedna lies well beyond these objects, and extends many times their distances from the Sun]]
เซดนาเป็นวัตถุที่มีคาบการโคจรนานที่สุดเป็นลำดับที่สองของระบบสุริยะ<ref group=lower-alpha name=footnoteF /> ซึ่งคำนวณแล้วอยู่ที่ 11,400 ปี<ref name="barycenter" /><ref group=lower-alpha name=footnoteG /> วงโคจรของเซดนามีความเยื้องสูงมาก ด้วยจุดไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์อยู่ที่ 937 AU<ref name="barycenter" /> และจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ที่ 76 AU โดยตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดของเซดนาอยู่ไกลกว่าของวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะจนกระทั่งค้นพบ [[2012 VP113|2012 VP<sub>113</sub>]]<ref name="Trujillo2007" /><ref name="Trujillo2014" /> ณ จุดไกลที่สุดนั้น เซดนาโคจรด้วยความเร็วเพียงแค่ 1.3% ของความเร็วที่โลกโคจร เมื่อมีการค้นพบเซดนาที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 89.6 AU<ref name="AstDys2003"/> ขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้จุดใกล้ที่สุด เซดนากลายเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ ภายหลัง[[อีริส]]แซงเซดนาเมื่ออีริสถูกตรวจพบโดยวิธีเดียวกันที่ระยะห่าง 97 AU จากดวงอาทิตย์ มีเพียงดาวหางคาบยาวบางดวงเท่านั้นที่มีคาบโคจรมากกว่าคาบของเซดนา ดาวหางเหล่านี้จางเกินไปที่จะถูกค้นพบ เว้นแต่จะผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ถึงแม้ว่าเซดนาจะอยู่ ณ จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงกลางปี พ.ศ. 2619<ref name="Horizons2076" />{{refn|1=โปรแกรมที่ระบบการทำงานแตกต่างกัน ก็อาจทำให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันด้วย โดยใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ
2557 ได้ข้อมูลเป็นปี พ.ศ. 2619<ref name="jpldata" /> ถ้าใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ. 2533 ได้ข้อมูลเป็น [http://www.boulder.swri.edu/~buie/kbo/astrom/90377.html 2479282.9591] [http://ssd.jpl.nasa.gov/tc.cgi (2075-12-11)] {{As of|2010}} หรือประมาณวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2619<ref name="Horizons2076" />|name=footnoteC|group=lower-alpha}} ดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนเซดนานั้นอาจมีขนาดเท่าปลายเข็มซึ่งสว่างกว่า[[ดวงจันทร์]]ตอนเต็มดวง 100 เท่า (เมื่อเทียบกับโลกแล้ว ดวงอาทิตย์ที่เห็นบนโลกสว่างกว่าตอนดวงจันทร์เต็มดวง 400,000 เท่า) และดวงอาทิตย์อยู่ไกลเกินกว่าที่จะเห็นเป็นรูปร่างได้<ref name="HubbleSite2004image" />
 
เมื่อค้นพบครั้งแรกนั้น คาดว่าเซดนามีคาบหมุนรอบตัวเองที่นานมาก ๆ (20 ถึง 50 วัน)<ref name="HubbleSite2004image" /> ระยะแรกเชื่อกันว่าการหมุนรอบตัวเองของเซดนาที่ช้าเป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วงจากดาวบริวารขนาดใหญ่ คล้ายกับ[[แครอน]] ดาวบริวารของ[[ดาวพลูโต]]<ref name="mikebrown" /> การค้นหาดาวบริวารดวงนั้นด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 ไม่พบอะไรเลย<ref name="HubbleSite2004" />{{refn|1=การสำรวจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลพบว่าไม่มีดาวดวงใดที่มัวน้อยกว่า 500 เท่าของเซดนาเลย (บราวน์และซูเอร์ 2007).<ref name="largest" />|group=lower-alpha}} และจากผลการคำนวณจากกล้องโทรทรรศน์เอ็มเอ็มในเวลาต่อมาพบว่าเซดนาหมุนโดยใช้ระยะเวลาสั้นกว่าที่คาดไว้มาก ประมาณ 10 ชั่วโมง ซึ่งค่อนข้างปกติสำหรับดาวขนาดอย่างเซดนา<ref name="Gaudi2005" />
บรรทัด 78:
{{TNO imagemap}}
 
สมมติฐาน[[วัตถุพ้นดาวเนปจูน]]นั้นก้าวหน้าไปในหลากหลายรูปแบบโดยนักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่ง รวมทั้ง รอดนีย์ โกเมส และปาทรึก ลือกาวกา สมมติฐานรูปแบบหนึ่งมีการรบกวนของวงโคจรเซดนาโดยวัตถุสมมติขนาดเท่าดาวเคราะห์ในเมฆฮิลล์เข้ามาเกี่ยวข้อง แบบจำลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่าลักษณะการโคจรของเซดนาสามารถอธิบายได้ด้วยการรบกวนจากวัตถุมวลเท่าดาวเนปจูน ณ ตำแหน่ง 2,000 AU หรือน้อยกว่า วัตถุมวลเท่าดาวพฤหัสบดี ณ ตำแหน่ง 5,000 AU หรือแม้กระทั่งวัตถุมวลเท่าโลก ณ ตำแหน่ง 1,000 AU<ref name="PlanetarySociety"/><ref name="Gomez2006"/> แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยปาทรึก ลือกาวกา เสนอว่าวงโคจรของเซดนาอาจเป็นผลมาจากวัตถุขนาดประมาณโลกที่ถูกเหวี่ยงออกมาข้างนอกโดยดาวเนปจูนในช่วงเริ่มแรกของระบบสุริยะ และขณะนี้ก็อยู่ในวงโคจรที่ยืดออกไปในช่วงระหว่าง 80 และ 170 AU จากดวงอาทิตย์<ref name="lykawka"/> การสำรวจท้องฟ้าหลายครั้งของไมก์ บราวน์ตรวจไม่พบวัตถุขนาดเท่าโลกใด ๆ ในช่วงระยะทางถึงประมาณ 100 AU เป็นไปได้ว่าวัตถุนั้นอาจหลุดออกไปนอกระบบสุริยะหลังจากการก่อตัวของเมฆออร์ตชั้นใน<ref name="sisters"/>
 
คอนสแตนติน บาตีกิน นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย และไมก์ บราวน์ตั้งสมมติฐานไว้เกี่ยวกับการมีตัวตนของดาวเคราะห์ยักษ์ในระบบสุริยะชั้นนอก พวกเขาให้ชื่อเล่นว่า [[ดาวเคราะห์เก้า]] ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจมีมวลมากกว่าโลก 10 เท่า มีวงโคจรที่เยื้องมาก ๆ และมีระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ประมาณ 20 เท่าของดาวเนปจูน (ซึ่งโคจรที่ระยะทางเฉลี่ยที่ 30.1 AU (4.50 × 10<sup>9</sup> กิโลเมตร)) คาบการโคจรอาจอยู่ที่ 10,000 ถึง 20,000 ปี การมีตัวตนของดาวเคราะห์ดวงนี้สมมติขึ้นจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแบบจำลองคอมพิวเตอร์แต่ยังไม่เคยสังเกตได้โดยตรง ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจอธิบายลักษณะวงโคจรของกลุ่มของวัตถุที่รวมไปถึงเซดนา<ref>{{cite journal|last1=Batygin|first1=Konstantin|last2=Brown|first2=Michael E.|title=Evidence for a Distant Giant Planet in the Solar System|journal=The Astronomical Journal|date=2016|volume=151|issue=2|page=22|doi=10.3847/0004-6256/151/2/22|arxiv=1601.05438|bibcode=2016AJ....151...22B}}</ref><ref>{{cite web|last=Fesenmaier|first=Kimm|title=Caltech Researchers Find Evidence of a Real Ninth Planet|url=http://www.caltech.edu/news/caltech-researchers-find-evidence-real-ninth-planet-49523|accessdate=13 September 2017}}</ref>
 
มีการเสนอว่าวงโคจรของเซดนานั้นเป็นผลมาจากอิทธิพลของดาวคู่ขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์ที่อยู่ห่างออกไปหลายพันหน่วยดาราศาสตร์ ดาวคู่สมมติหนึ่ง คือ [[เนเมซิส (ดาวฤกษ์สมมติ)|เนเมซิส]] [[ระบบดาวคู่|ดาวคู่]]มืดของดวงอาทิตย์ที่เชื่อกันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคาบการเกิด[[การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่]]บนโลกอันเกิดมาจากการพุ่งชนของดาวหาง ร่องรอยการพุ่งชนบนดวงจันทร์ และองค์ประกอบวงโคจรที่คล้าย ๆ กันของดาวหางคาบยาวจำนวนมาก<ref name="Gomez2006"/><ref name="Cruttenden"/> ไม่มีหลักฐานโดยตรงเกี่ยวกับเนเมซิสเลย และหลักฐานหลายอย่าง เช่น จำนวนหลุมอุกกาบาต ทำให้การมีตัวตนของดาวดวงนั้นกลายเป็นข้อกังขา<ref name="Hills1984" /><ref name="Planck-NemesisMyth"/> [[จอห์น เจ. มัลทีส]] และ[[ดาเนียล พี. วิทไมร์]] ผู้ที่เสนอความเป็นไปได้ของดาวคู่ดวงอาทิตย์มาอย่างยาวนาน เสนอว่าวัตถุมวล 5 เท่าของดาวพฤหัสบดีที่อยู่ออกไปประมาณ 7,850 AU จากดวงอาทิตย์ อาจทำให้วัตถุหนึ่งมีวงโคจรแบบเซดนา<ref name="Matese2006"/>
บรรทัด 103:
[[ศูนย์ดาวเคราะห์น้อย]]ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดระบบวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ จัดให้เซดนาเป็นวัตถุแถบหินกระจาย<ref name="MPC" /> การจัดนี้เป็นข้อสงสัยอย่างมาก โดยนักดาราศาสตร์จำนวนมากเสนอว่าเซดนาควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใหม่ของวัตถุไกลโพ้นที่เรียกว่า ''วัตถุแถบหินกระจายขยาย'' (Extended scattered disc objects)<ref name="Gladman" /> ''[[วัตถุที่ไกลออกไป]]''<ref name="Jewitt2006"/> ''วัตถุแยกออกระยะไกล''<ref name="Gomez2006" /> หรือ ''วัตถุกระจาย–ขยาย'' ในการจัดระบบอย่างเป็นทางการโดย ''[[Deep Ecliptic Survey]]''<ref name="DES_Elliot2006"/>
 
การค้นพบเซดนานั้นรื้อฟื้นคำถามที่ว่าเทห์ฟ้าใดควรหรือไม่ควรเป็นดาวเคราะห์ ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2547 บทความเกี่ยวกับเซดนาของสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงรายงานว่าดาวเคราะห์ดวงที่สิบถูกค้นพบแล้ว คำถามนี้ถูกตอบโดย[[นิยามดาวเคราะห์ของไอเอยู|นิยามดาวเคราะห์]]ของ[[สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล]]ที่นำมาใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งบอกว่าดาวเคราะห์ต้อง[[ไร้ซึ่งเทห์ฟ้าโดยรอบ|ไม่มีเทห์ฟ้าอื่น ๆ โคจร]]ในบริเวณเดียวกัน เซดนามีค่าสเติร์น–เลวิสันต่ำกว่า 1 โดยประมาณ{{refn|1=ค่าสเติร์น–เลวิสัน (''Λ'') นิยามขึ้นโดย[[แอลัน สเติร์น]]และ[[แฮโรลด์ เอฟ. เลวิสัน]]ในปี พ.ศ. 2545 ใช้ตัดสินว่าวัตถุใดมีวงโคจรที่โล่งจากวัตถุขนาดเล็กโดยรอบอื่น ๆ นิยามโดยอัตราส่วนของมวลดวงอาทิตย์ (คือมวลของวัตถุหารด้วยมวลของดวงอาทิตย์) ยกกำลังสองกับกึ่งแกนเอกของวัตถุนั้นยกกำลัง 3/2 คูณด้วยค่าคงตัว 1.7{{e|16}}.<ref name="stern" /><sup>(see equation 4)</sup> ถ้าวัตถุนั้นมีค่า Λ มากกว่า 1, แสดงว่าวัตถุนั้นมีวงโคจรที่โล่งจากวัตถุอื่น และอาจถูกพิจารณาถึงความเป็นดาวเคราะห์ โดยใช้มวลโดยประมาณที่สูงเกินจริงของเซดนาที่ 2{{e|21}} กก. ค่า Λ ของเซดนา คือ (2{{e|21}}/[[ดวงอาทิตย์|1.9891{{e|30}}]])<sup>2</sup> / 519<sup>3/2</sup> × 1.7{{e|16}} = 1.44{{e|-6}}. ซึ่งน้อยกว่า 1 มาก ดังนั้นเซดนาไม่ใช่ดาวเคราะห์ตามนิยามนี้|group=lower-alpha}} ดังนั้นจึงไม่จัดว่าเซดนาไร้ซึ่งเทห์ฟ้าโดยรอบ แม้ว่ายังไม่ค้นพบวัตถุอื่นในบริเวณเดียวกัน แต่คาดกันว่าเซดนาน่าจะเป็นดาวเคราะห์แคระ โดยเซดนาต้องอยู่ใน[[สภาวะสมดุลอุทกสถิต]] เนื่องจากมีความสว่างพอ ดังนั้นดาวจึงมีขนาดใหญ่พอที่จะรักษาความเป็นทรงกลมได้<ref name="Brown" /> และนักดาราศาสตร์หลายคนก็เรียกเซดนาว่าเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว<ref>{{cite journal | last1 = Barucci | first1 = M. | year = 2010 | title = (90377) Sedna: Investigation of surface compositional variation | url = http://iopscience.iop.org/1538-3881/140/6/2095/ | journal = The Astronomical Journal | volume = 140 | issue = 6| page = 6 | bibcode = 2010AJ....140.2095B | doi = 10.1088/0004-6256/140/6/2095 | last2 = Morea Dalle Ore| first2 = C. | last3 = Alvarez-Candal | first3 = A. | last4 = De Bergh | first4 = C. | last5 = Merlin | first5 = F. | last6 = Dumas | first6 = C. | last7 = Cruikshank | first7 = D. }}</ref><ref>Rabinowitz, Schaefer, Tourtellotte, 2011. [http://adsabs.harvard.edu/abs/2011AAS...21820401R "SMARTS Studies of the Composition and Structure of Dwarf Planets".] ''Bulletin of the American Astronomical Society,'' Vol. 43</ref><ref>Malhotra, 2010. [http://adsabs.harvard.edu/abs/2009AAS...21423704M "On the Importance of a Few Dwarf Planets".] ''Bulletin of the American Astronomical Society'', Vol. 41</ref><ref name="Tancredi2008"/><ref name="Brown-dplist" />
 
== การสำรวจ ==