ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์พระร่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เกษแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 26:
ราชวงศ์พระร่วงยุครุ่งเรืองเป็นราชวงศ์ที่ถือว่ามีความมั่นคงในอำนาจการปกครองราชวงศ์หนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะเป็นราชวงศ์เดียวที่ปกครองราชอาณาจักรสุโขทัยตลอดเกือบสองร้อยปีโดยไม่ขาดสาย ควบคุมเชื่อมโยงบ้านเมืองในเครือข่ายระดับภูมิภาคได้อย่างกว้างขวาง และที่สำคัญเป็นราชวงศ์ที่มีความมั่งคั่งอยู่ในระดับสูงเพราะสามารถรวบรวมทรัพยากรจากเครือข่ายต่างๆมาสร้างสรรค์เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมได้เป็นจำนวนมาก โดยที่มีความประณีตละเอียดอ่อนงดงามที่สุดอยู่ในระดับต้นของโลกเป็นที่ประจักษ์กล่าวขานยกย่องเลื่องลือ
 
นอกจากนั้นราชวงศ์พระร่วงยังได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับราชวงศ์ของอาณาจักรต่างๆรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นราชวงศ์มังรายของอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์ภูกามยาวของอาณาจักรพะเยา ราชวงศ์ลาวกาวของอาณาจักรน่าน ราชวงศ์ชวาเชียงทองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาว ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชของอาณาจักรตามพรลิงค์ลิงก์ เป็นต้น ทั้งความสัมพันธ์ทางด้านการทูต การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม และ ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างอาณาจักร
 
สัญลักษณ์และอนุสรณ์สถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุดของราชวงศ์พระร่วงอันสืบทอดมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ คือ พระร่วงพระลือ ประดิษฐานอยู่ที่กุฏิ์หรือซุ้มพระร่วงพระลือ ณ วัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง หรือ วัดพระมหาธาตุเมืองสวรรคโลกเดิม หรือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร (วัดพระปรางค์) อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ในปัจจุบันนี้
บรรทัด 34:
หลังจากนั้นปรากฏว่าความเคารพศรัทธาของชาวเมืองสวรรคโลกยังไม่หมดไป ได้มีการสร้างรูปเคารพพระร่วงพระลือขึ้นใหม่เมื่อสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นครั้งที่ 2 หล่อด้วยสำริด ทำเป็นพระพุทธรูปสวมมงกุฏประทับยืนคู่ขนาดเล็กสององค์ลดหลั่นแบบพระพุทธรูปฉลองพระองค์สำหรับอุทิศแด่พระมหากษัตริย์เพราะไทยโบราณยังไม่รู้จักการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ที่ระลึกแบบคนจริงกระทำเป็นพระพุทธรูปแทน เข้าใจว่าชาวเมืองครั้งนั้นทำตามแบบของเดิมที่ถูกอัญเชิญเอาไป รูปพระร่วงพระลือรุ่นที่ 2 นี้ ได้ประดิษฐานมาอย่างยาวนานที่วัดพระปรางค์หลายร้อยปี จนถึงยุคปัจจุบันครึ่งหลัง 2400 ที่ทางราชการเก็บรวบรวมโบราณวัตถุสำคัญเอาเข้าไปไว้ในศาลากลางและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรับต่อมา พระร่วงพระลือรุ่นที่ 2 ของวัดพระปรางค์ทุกวันนี้จึงไปอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย โดยไม่ได้กลับคืนยังสถานที่เดิมอีก ทางราชการให้เหตุผลขอยืมเพื่อนำไปจัดแสดง แต่ยืมโดยไม่คืน ซึ่งก็ยังคงมีความปรารถนาที่จะได้กลับคืนมาเก็บรักษาไว้ที่เดิมดังเก่าอยู่ตลอดเวลาของคนในพื้นที่ดั้งเดิม
 
เมื่อทางการนำรูปพระร่วงพระลือรุ่นที่ 2 ขอยืมไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงโดยไม่คืนแล้ว ชาวบ้านชาวเมืองประชาชนจำนวนมากได้ร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สินสิ่งของมีค่าของตนมาหล่อรูปพระร่วงพระลือขึ้นใหม่เป็นครั้งที่ 3 เมื่อหลังกึ่งพุทธกาล พ.ศ. 2500 แล้วไม่นานนัก ครั้งนี้หล่อสูงใหญ่กว่าเดิมประทับยืนเป็นคู่เสมอเท่ากัน กับปรากฏว่าความศรัทธาประชาชนในพื้นที่ยิ่งทวีคูณทั้งพวงมาลัยดอกไม้ว่าวดาบตุ๊กตาช้างม้านางรำและแผ่นทองที่ปิดหุ้มรูปเคารพทั้งสองพอกพูนหนาแน่นเป็นอย่างมาก มีมหรสพสมโภชแก้บนทั้งหนังลิเกอยู่ไม่ขาด สมโภชบวงสรวงทุกเดือน 6 ก่อนเริ่มทำไร่ไถนา เป็นที่บูชาของผู้คนมาก แต่ในที่สุดเมื่อราวต้นทศวรรษ 2540 รูปพระร่วงพระลือถูกคนร้ายลักลอบเข้าไปตัดเหลือแต่พระบาทเป็นที่กล่าวขวัญสาปแช่งของชาวบ้านชาวเมืองเป็นอย่างมากเพราะเท่ากับทำลายศูนย์รวมจิตใจและที่พึ่งทางจิตวิญญาณอย่างสำคัญ ต่อมาจึงมีการสร้างรูปพระร่วงพระลือเป็นครั้งที่ 4 ที่อยู่ในศาลพระร่วงพระลือทุกวันนี้แต่ความศรัทธากลับลดลงเงียบหายอย่างเห็นได้ชัดไม่เท่ากับครั้งรุ่นที่ 3 ก่อนหน้า
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 51:
ถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อเริ่มสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นแล้ว รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้ราชบัณฑิตฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลรวบรวมเรื่องราวเก่าแก่ต่างๆแล้วประมวลไว้เรียกว่า "พระราชพงศาวดารเหนือ" อันเป็นเรื่องราวของกลุ่มเมืองเหนือที่หมายถึงราชอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื้อเรื่องที่รวบรวมได้ขณะนั้นเกี่ยวกับราชวงศ์พระร่วงเกินกว่าครึ่งเป็นแบบมุขปาฐะยกเว้นบางเนื้อเรื่องที่พอจะมีเค้าความจริงอยู่บ้าง แต่ทำให้มองเห็นได้ว่าคนครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์รับทราบเป็นอย่างดีว่าก่อนหน้ากรุงศรีอยุธยาขึ้นไปมีกลุ่มคนที่เรียกว่าพระร่วงปกครองอยู่ที่กรุงสุโขทัยมาก่อน สมัยรัชกาลที่ 3 จึงหยิบยืมมาเป็นฉากสำคัญที่เท้าหลังกลับไปไกลในวรรณกรรมตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือเรื่องนางนพมาศเป็นต้น ซึ่งตำรับนี้เป็นความรับรู้ตกทอดมาจากกรุงศรีอยุธยาอีกชั้นก่อนจะเพิ่มเรื่องราวร่วมสมัยรัชกาลที่ 3 ลงไปด้วย
 
จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2376 เมื่อเจ้าฟ้าพระวชิรญาณหรือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ครั้งยังทรงผนวช เสด็จธุดงค์ขึ้นไปยังเมืองเหนือถึงยังอดีตราชธานีเดิมที่สวรรคโลกเก่าและสุโขทัยเก่าซึ่งตัวเมืองหลวงมีสภาพกลายเป็นป่าปกคลุมกับมีหมู่บ้านชุมนุมชนอาศัยอยู่ด้วยไม่มากนัก เสด็จไปพบหลักฐานสำคัญที่ยังคงเป็นที่เคารพในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชนในพื้นที่ คือ พระแท่นขดานหินที่เรียกว่ามนังศิลาบาตรและหลักศิลาจารึกตัวอักษรโบราณอยู่ใจกลางบริเวณดงตาล ซึ่งโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญลงไปไว้ยังพระนคร ณ วัดราชาธิวาส ศูนย์กลางสำนักธรรมยุตินิกายที่พระองค์ประทับอยู่ เนื่องจากเจ้าฟ้าพระวชิรญาณทรงได้รับวิธีคิดและการศึกษาเลียนอย่างชาวตะวันตกที่มักนิยมค้นคว้าในเรื่องต่างๆ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ศึกษาถ่ายทอดเรื่องราวจากตัวอักษรโบราณที่ทรงนำมาจากสุโขทัยออกมา จึงเริ่มทำให้ทราบว่ากลุ่มราชวงศ์พระร่วงที่เคยครองอยู่ที่สุโขทัยมีพระนามอย่างใดบ้าง จารึกหลักแรกนี้หรือต่อมาเรียกว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฏพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นางเสือง พ่อขุนบาลเมือง และที่สำคัญคือพ่อขุนรามคำแหง ผู้โปรดฯให้กระทำหลักศิลาจารึกดังกล่าวขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของสุโขทัยอย่างมากมาย ได้มีการค้นพบศิลาจารึกต่างๆอีกหลายหลักซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้การปรากฏรับทราบเกี่ยวกับราชวงศ์พระร่วงแบบในทางวิชาการค่อยๆแจ่มชัดขึ้นเป็นลำดับ และเมื่อมีการผนวกนับรวมสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดรัฐไทยที่ชัดเจนเป็นแห่งแรก ราชวงศ์พระร่วงจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นราชวงศ์ไทยราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์ของชาติอีกด้วย ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปรากฏการสืบสายราชสันตติวงศ์อย่างเป็นลำดับชั้นต่อเนื่องในห้วงระยะเวลาถึง 200 ปี จาก พ.ศ. 1781 ไปจนถึง พ.ศ. 1981
 
== รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ==