ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองได้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Msirichit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
พิมพ์ผิด
บรรทัด 4:
'''ออโตทรอพ''' ({{lang-en| Autotroph}} หรือ '''อัตโภชนาการ''' เป็น[[คำสมาส]][[ภาษากรีก]]มาจากคำว่า ''autos'' ที่แปลว่าตัวเอง และ ''trophe'' ที่แปลว่า[[โภชนาการ]]) คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยทำการผลิตอาหารขึ้นมาจากก๊าซ[[คาร์บอนไดออกไซด์]]ที่เป็นแหล่ง[[คาร์บอน]] และ[[แสง]]หรือ[[สารอนินทรีย์]]อื่นๆ เป็นแหล่ง[[พลังงาน]] สิ่งมีชีวิตประเภทออโตทรอพถูกจัดให้เป็น'''ผู้ผลิต'''ใน[[ห่วงโซ่อาหาร]] สิ่งมีชีวิตจำพวกพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ผลิตอาหารโดย[[การสังเคราะห์แสง]]ถือว่าเป็น''[[โฟโตทรอพ]]'' (phototroph) ส่วน[[แบคทีเรีย]]ที่นำการ[[ออกซิเดชัน]]ของสารอนินทรีย์ต่างๆ เช่นก๊าซ[[ไฮโดรเจนซัลไฟด์]] หรือ[[เหล็ก]]โลหะมาเป็นแหล่งพลังงานเรียกว่า ''คีโมออโตทรอพ'' (chemoautotroph)
 
สิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งในห่วงโซ่อาหารในทุกๆ [[ระบบนิเวศ]] โดยที่พวกมันจะรับพลังงานมาจาก[[แสงอาทิตย์]] (หรือแหล่งอนินทรีย์อื่นๆ) แล้วแปลงพลังงานเหล่านี้ให้กลางกลายเป็นโมเลกุลที่มีโครงสร้างเป็นคาร์บอนหรือโมเลกุลอินทรีย์อื่นๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพของสิ่งมีชีวิต เช่นการสร้างเซลล์ รวมถึงเป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตจำพวก[[เฮเทโรทรอพ]] ที่ผลิตอาหารเองไม่ได้เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเฮเทโรทรอพต่างๆ ได้แก่[[สัตว์กินพืช]], ฟังไจหรือ[[เห็ดรา]] เช่นเดียวกับแบคทีเรียส่วนใหญ่และ[[โปรโตซัว]]จะพึ่งพาออโตทรอพเป็นอาหารที่จะให้พลังงานและวัตถุดิบที่จะนำไปใช้ในการผลิตโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเฮเทโรทรอพทำการแปลงอาหารเป็นพลังงานโดยการแตกโมเลกุลอาหารให้เล็กลง สัตว์กินเนื้อก็พึ่งพาออโตทรอพเช่นเดียวกัน เนื่องจากพลังงานและคุณค่าโภชนาการในอาหารก็มาจากอาหารประเภทพืชที่เหยื่อของสัตว์กินเนื้อได้กินเข้าไป
 
มีสิ่งมีชีวิตอยู่บางสายพันธุ์ที่อาศัย[[อินทรียสาร]]เป็นแหล่งคาร์บอน แต่ก็สามารถอาศัยแสงหรือ[[อนินทรียสาร]]มาเป็นแหล่งพลังงานได้ด้วย แต่สิ่งมีชีวิตจำพวกนี้มักไม่ถูกจัดให้อยู่ในสิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพ แต่มักจะถูกจัดให้อยู่ในจำพวกเฮเทโรทรอพเสียมากกว่า โดยสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากแสง จัดอยู่ในพวก''โฟโตเฮเทโรทรอพ'' (photoheterotroph) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนมาจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากการออกซิเดชันของอนินทรีย์สาร จะถูกจัดอยู่ในพวก''คีโมเฮเทโรทรอพ'' (chemoheterotroph)