ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ระบบการจ่ายไฟฟ้า" → "ระบบจ่ายไฟฟ้า" ด้วยสจห.
บรรทัด 2:
{{แก้ภาษา}}
[[ไฟล์:Three engines of type Rc4.jpg|thumb|250px|หัวรถจักรไฟฟ้าในสวีเดนที่ใช้กระแสไฟฟ้าจากสายไฟระบบเหนือหัว]]
'''ระบบจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟ''' หรือ ({{lang-en|Railway Electrification System}}) เป็นระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับรถไฟหรือรถราง เพื่อให้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบนขบวนรถ การจ่ายกระแสไฟฟ้ามีข้อดีเหนือกว่าระบบให้พลังงานอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนหัวรถจักร แต่ต้องใช้เงินลงทุนอย่างมีนัยสำคัญมากพอสมควรสำหรับการติดตั้ง ในบทความนี้ คำว่า "ระบบ" หมายถึงการกำหนดค่าทางเทคนิคและรายละเอียดทางเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้น ส่วนคำว่า "เครือข่าย" หมายถึงขอบเขตทางภูมิศาสตร์ปริมณฑลของระบบที่มีการติดตั้งจริงในสถานที่ติดตั้งพื้นที่ใช้งาน
 
== ลักษณะของการใช้พลังงานไฟฟ้าของรถไฟ ==
กระแสไฟฟ้าให้พลังงานฉุดรถไฟ ซึ่งอาจใช้หัวรถจักรไฟฟ้าเพื่อลากตู้ผู้โดยสาร หรือตู้สัมภาระ หรือเป็นรถไฟที่ประกอบด้วยตู้ที่มีเครื่องยนต์ไฟฟ้าหลายตู้ ที่ซึ่งแต่ละตู้โดยสารรับกระแสไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งหัวรถจักร พลังงานจะถูกสร้างขึ้นในโรงผลิตเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ ที่ประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสามารถ optimize ได้ พลังงานไฟฟ้าจะถูกลำเลียงไปยังรถไฟตามสายส่ง แล้วกระจายภายในเครือข่ายทางรถไฟไปให้รถไฟตามที่ต่างๆ โดยปกติจะมีระบบภายในในการจัดจำหน่ายการใช้พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าที่จัดการโดยการรถไฟเอง
 
พลังงานจะถูกถ่ายโอนไปยังรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่โดยผ่านตัวนำไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา ในกรณีที่ใช้ระบบการจ่ายเหนือศีรษะ มักจะเป็นลวดเปลือยแขวนลอยอยู่ในเสาเรียกว่าสายส่งเหนือศีรษะ ตัวรถไฟมีเสายึดติดตั้งอยู่บนหลังคาซึ่งรองรับแถบตัวนำยึดติดกับหน้าสัมผัสด้วยสปริงรวมทั้งหมดเรียกว่า[[แหนบรับไฟ]] รายละเอียดหาอ่านได้ใน [[ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว]]