ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย''' (Phrapathom Witthayalai School ; อักษรย่อ : พ.ป. / P.T.) เป็น[[โรงเรียนรัฐบาล]]ประเภทสหศึกษา เป็น[[โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ]]เป็นโรงเรียนประจำ[[จังหวัดนครปฐม]] ก่อตั้งเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ.2452 เป็น[[โรงเรียนมาตรฐานสากล(World Class Standard School)]]เป็น[[โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง]]และยังเป็นโรงเรียนศูนย์[[สะเต็มศึกษา]]ภาคกลางตอนล่างและโรงเรียนเครือข่าย[[สะเต็มศึกษา]] STEM สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 [[กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)|กระทรวงศึกษาธิการ]] ที่ตั้งปัจจุบัน 117/2 ถ.เทศา [[ต.พระปฐมเจดีย์]] อ.[[เมืองนครปฐม]] จ.[[จังหวัดนครปฐม|นครปฐม]] รหัสไปษรณีย์ 73000 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 24 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา
== อ้างอิง ==
 
==ประวัติ==
เมื่อปี พ.ศ.2542 [[กระทรวงธรรมการ]]ได้รับโอนกิจการโรงเรียนวิชาชำนะโฉดซึ่งตั้งอยู่บริเวณเรือนจำ ระหว่างกำแพงชั้นนอกกับชั้นในด้านตะวันตกมาดำเนินมีชื่อว่า [[โรงเรียนตัวอย่างมณฑลนครชัยศรี]] "พระปฐมวิทยาลัย" เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงชั้นระถมปีที่ 4 ตั้งแต่แรกจนถึงปี พ.ศ.2456
 
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะที่ยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช โปรดเสร็จเมือง[[จังหวัดนครปฐม|นครปฐม]] และทรงประทับที่วังของสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์สนใจประวัติศาสตร์ โบราณคดี โดยเฉพาะ[[จังหวัดนครปฐม|นครปฐม]] เป็นเมืองเก่าพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก ดังปรากฎตมคำประพันธ์นิทานโบราณคดี [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้เสร็จเข้าตรวจเยี่ยมเรือนจำนครปฐมเสมอ และทรงทอดพระเนตรตรวจเยี่ยมโรงเรียนที่ได้ดำเนินการ [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชนามโรงเรียนนี้ว่า "[[โรงเรียนวิชาชำนะโฉด]]" เมื่อ พ.ศ.2450
 
[[โรงเรียนวิชาขำนะโฉด]] คำว่า "วิชา" แปลว่า วิชา คำว่า "ชำนะ" แปลว่า ชนะ คำว่า "โฉด" แปลว่า โง่เขลา จึงรวมกันได้ว่า "โรงเรียนวิชาชนะความโง่เขลา" [[พระพุทธเกษตรานุรักษ์]]ได้ทำป้ายชื่อตามนามพระราชทานว่า "[[โรงเรียนวิชาชำนะโฉด]]" อยู่ใต้พระลัญจกรของสมเด็จ[[พระบรมโอรสาธิราช]] เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ในตู้ไม้บานกระจกติดตั้งที่หน้าจั่วอาคารโรงเรียนและใช่ตราพระเกี้ยวเป็นตราของโรงเรียน
 
หนังสือเฉลิมพระเกียรติ [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] เรื่อง วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา [[จังหวัดนครปฐม]] ได้กล่าว ถึงประวัติด้านการศึกษาว่า ผู้บุกเบิกการศึกษาคนแรกที่มีบทบาทในด้านการศึกษาของ[[จังหวัดนครปฐม]] คือ [[พระพุทธเกษรานุรักษ์]] พัศดีเรือนจำมณฑลนครชัยศรี [[พระพุทธเกษตรานุรักษ์]] เป็นผู้เห็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาอย่างยิ่งได้สร้างอาคารเรียนในเรือนจำขึ้นหลังหนึ่ง เพื่อให้ความรู้ด้านหนังสือและวิชาการช่างให้แกนักโทษในเรือนจำ
 
[[พระพุทธเกษตรานุรักษ์]] เมื่อรับราชการ ตำแหน่ง พะทำมะรงเรีอนจำมณฑลนครชัยศรี ได้ทำคุณวิเศษนอกหน้าที่อย่างหนึ่ง คือ คิดตั้งโรงเรียนสอนเด็กชาวบ้านขึ้นในบริเวณชั้นนอกเรือนจำ อันเป็นที่อยู่ของพระเกษตรฯ ซึ่งสนใจและบำรุงโรงเรียนนั้นให้เจริญขึ้นโดยลำดับ มีผู้นิยมส่งเด็กเข้าเล่าเรียนมาก จนเป็นโรงเรียนใหญ่แห่งแรกใน[[จังหวัดนครปฐม|นครปฐม]] ต่อมา พ.ศ.2452 ทางข้าราชการจะตั้งโรงเรียน "ดัดสันดาร" เพื่ออบรมเด็กที่ต้องโทษ จึงได้ซื้อที่ดินที่[[ตำบลห้วยจระเข้]] สร้างอาคาร มีห้องครัง ห้องฝึกอบรม ห้องนอน ห้องเจ้าหน้าที่ เมื่อสร้างเสร็จมีผู้กราบังคมทูลว่าโรงเรียนไม่ควรอยู่ในเมืองใกล้กรุงเทพฯ จึงย้ายไปร้างใหม่ที่[[เกาะสีชัง]] อาคารที่สร้างไว้จึงโปรดเกล้าให้เป็นที่ตั้งของ[[โรงเรียนรัฐบาล|โรงเรียรรัฐบาล]] [[กระทรวงธรรมการ]] จึงรับโอนนักเรียนจากโรงเรียนวิชาขำนะโฉดมาเรียนแทนและใช้ชื่อว่า [[โรงเรียนตัวอย่างมณฑลนครชัยศรี]] "พระปฐมวิทยาลัย" ทำพิธีมอบนักเรียนมา และครูโรงเรียนวิชาขำนะโฉดมอบให้หมด
 
พ.ศ.2462 ได้เปิดสอนแผนกฝึกหัดครู ต่อมาได้ยุบ เลิก หรือแยกไปที่ใดไม่ปรากฏหลักฐาน และทางโรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนให้สูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงชั้น ม.6
พ.ศ.2464 มีการเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนเป็น[[โรงเรียนประจำมณฑลนครชัยศรี]] "พระปฐมวิทยาลัย"
พ.ศ.2475 ทางราชการสั่งยุบมณฑลนครชัยศรี โรงเรียนจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อเพื่อให้สอดคล้องกับการยุบมณฑลฯ ชื่อว่าโรงเรียนประจำ[[จังหวัดนครปฐม]] "พระปฐมวิทยาลัย"
พ.ศ.2479 ได้รับโอนอาคารสถานที่จาก[[โรงเรียนนายร้อยตำรวจ]] [[ตำบลห้วยจรเข้]] ซึ่งมีเขตติดต่อกับโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ทางโรงเรียนได้แยกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ไปเรียนอาคารที่ได้รับโอน
พ.ศ.2487 ได้โอนอาคารสถานที่ของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย แต่เดิมให้เป็นโรงเรียนฝึกหัดครู (ชาย) [[จังหวัดนครปฐม|นครปฐม]] และให้นักเรียนทั้งหมดเรียนรวมกันที่อาคารเรียนที่ได้รับโอนมาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
พ.ศ.2494 [[กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)|กระทวงศึกษาธิการ]]สั่งเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศโรงเรียนจึงต้องเปลี่ยนชื่ออีกครั้งชื่อว่า โรงเรียนนครปฐม "พระปฐมวิทยาลัย"
พ.ศ.2495 อาคารที่ได้รับโอนมาจาก[[โรงเรียนนายร้อยตำรวจ]]ชำรุดทรุดโทรมมาก ประกอบกับทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสำหรับสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ในพื้นที่เดิมซึ่งเป็นอาคารไม้สองชั้น 12 ห้องเรียน
พ.ศ.2499 รับโอนอาคารสถานที่ซึ่งได้ให้โรงเรียนฝึกหัดครูไป กลับคืนมาและปีนี้โรงเรียนได้เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษาขึ้นเป็นปีแรก เปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนใหม่อีกครั้งว่า
 
โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย โดยตัดคำนำหน้าว่า นครปฐมออก และชื่อนี้เองที่ได้ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้
{{รายการอ้างอิง}}