ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาฬมรณะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53:
 
=== การแพร่ระบาดในเอเชีย ===
จากประวัติศาสตร์ การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศจีนในช่วงปี ค.ศ. 1330 กาฬโรคเริ่มระบาดในแถบ[[หูเป่ย]] ในปี ค.ศ. 1334 และเกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักในระหว่างปี ค.ศ. 1353-1354 จากบันทึกเก่าแก่ของจีน บันทึกไว้ว่า การแพร่ระบาดได้กระจายไปใน 8 พิ้นที่ของจีน ได้แก่ [[หูเป่ย]] [[เจียงซี]] [[ซานซี]] [[หูหนาน]] [[กว่างตง|กวางตุง]] [[กวางซี]] [[เหอหนาน]] และ[[ซุยยวน]] เพียงแต่ว่าข้อมูลนี้ได้มาจากผู้ที่รอดชีวิตจากยุคนั้น และยังไม่มีการศึกษาเพิ่มเติมในเบื้องลึก ซึ่งคาดว่ากองคาราวานพ่อค้าชาวมองโกล จะเป็นผู้นำเอากาฬโรคที่ระบาดที่เอเชียตอนกลาง มายังยุโรป
 
=== การแพร่ระบาดในยุโรป ===
[[ไฟล์:Bubonic plague-en.svg|thumb|450px|การแพร่ของแบล็กเดทในทวีปยุโรป]]
ในเดือนตุลาคม ปี 1347 กองเรือสินค้าที่อพยพมาจากเมือง ''เคฟฟา'' '' (Caffa) '' มาที่ท่าเรือ ''เมซซิน่า'' '' (Messina) '' ประเทศอิตาลี่ ในเวลาที่เรือเทียบท่า ลูกเรือทุกคนติดเชื้อหรือเสียชีวิตแล้ว จึงสัณนิษฐานได้ว่า เรือได้นำเอาหนูติดเชื้อที่เป็นพาหะนำโรคมาด้วย เรือบางลำยังไม่เทียบท่า แต่กลายเป็นเรือร้างลอยลำอยู่กลางน้ำ เพราะว่าทุกคนเสียชีวิตหมด พวกโจรสลัดที่เข้าไปปล้นเรือ ก็ได้ช่วยให้กาฬโรคแพร่ระบาดอีกทางหนึ่ง การระบาดได้กระจายจาก ''จีนัว'' '' (Genoa) '' และ ''เวนิช'' '' (Venice) '' ในช่วงปี 1347-1348
 
จากประเทศอิตาลี แพร่ระบาดไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามยุโรป จู่โจมฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคมปี 1348 หลังจากนั้น ก็แพร่ไปกระจายไปทาง ทิศตะวันออกไปยังประเทศเยอรมนี และแถบสแกนดิเนเวีย '' (Scandinavia) '' ในช่วงปี 1348-1350
บรรทัด 74:
อย่างไรก็ตามพื้นที่เหล่านี้ก็ถูกเล่นงาน ในการแพร่ระบาดใหญ่รอบที่ 2 ในปี 1360-1363 ซึ่งเริ่มมีกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถ ในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาด ของกาฬโรคขึ้นมาหลายกลุ่มแล้ว ส่วนพื้นที่อื่นที่เป็นที่อพยพหนีกาฬโรคจะเป็น เขตพิ้นที่ภูเขาโดดเดี่ยว เพราะว่าเขตตัวเมืองที่มีขนาดใหญ่ มีความหนาแน่นของประชากรสูง จะมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อกาฬโรคได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะเมืองในเขตที่สกปรก เต็มไปด้วยแมลงปรสิตอย่าง เห็บ หมัด หนู รวมไปถึงสภาพความอดอยากและ ไม่มีสุขอนามัยที่ดีพอ
 
ในประเทศอิตาลี เมือง ''ฟลอเรนซ์'' ''''' (Florence) ''''' ในช่วงปี 1338 มีประชากรอยู่ประมาณ 110000110,000-120000120,000 คน ถูกกาฬโรคเล่นงานจนเหลือประชากรเพียง 5000050,000 คนในปี 1351 ที่ ''ฮัมบูร์ก'' ''''' (Hamburg) ''''' กับ ''เบรเมน'' ''''' (Bremen) ''''' ประชากรเสียชีวิตจากกาฬโรคไปราว ๆ 60%-70% ของประชากรทั้งหมด ในพื้นที่อื่น ๆ บางพื้นที่ '''ประชากร 2/3 ตายเรียบ''' ที่อังกฤษมีผู้เสียชีวิตจากกาฬโรคราว 70% ซึ่งทำให้ประชากรลดลงจาก 7 ล้านคน เหลือเพียง 2 ล้านคนในปี 1400
 
กาฬโรคมีผลต่อประชากรทุกระดับชั้นโดยไม่ไว้หน้า ไม่ว่าจะเป็นคนระดับล่างที่อยู่ในที่สกปรก หรือชนชั้นสูง ''[[พระเจ้าอัลฟองโซที่ 11 แห่งคาสตีล]]'' ''''' (Alfonso XI of Castile) ''''' เป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่เสด็จสวรรคตจากกาฬโรค ''ปีเตอร์ ออฟ อารากอน'' ''''' (Peter IV of Aragon) ''''' สูญเสียภรรยา ลูกสาว และหลานสาวใน 6 เดือน ''จักรพรรดิไบเซนไทน์'' สูญเสียลูกชาย
 
== ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคม ==
รัฐบาลของยุโรปไม่มีนโยบายที่แน่ชัด ในการรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อกาฬโรค เพราะว่าไม่มีใครรู้สาเหตุของการแพร่ระบาด พวกผู้มีอำนาจปกครองส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีห้ามการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค กวาดล้างตลาดมืด ควบคุมราคาธัญพืช และการหาปลาบริเวณกว้างแบบผิดกฎหมาย ความพยายามต่าง ๆ นา ๆนานา นี้ส่งผลกระทบไปถึง ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ อย่างเช่น อังกฤษไม่สามารถนำเข้าธัญพืชจากฝรั่งเศสได้ เพราะฝรั่งเศสระงับการส่งออก อีกทั้งยังผู้ผลิตส่วนมากไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้เต็มที่ เพราะว่าขาดแคลนแรงงาน ซ้ำร้ายผลผลิตที่เตรียมส่งออกแต่ถูกระงับ ก็ถูกปล้นสะดมโดยพวกโจรสลัด และหัวขโมยที่จะเอาไปขายต่อในตลาดมืด ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ค่อนข้างใหญ่อย่างอังกฤษ และสก็อตแลนด์ก็ตกอยู่ในช่วงภาวะสงคราม และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการรับมือ ปัญหาสินค้าราคาสูง
 
ในปี 1337 อังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ในช่วงสงครามที่รู้จักกันในชื่อ [[สงครามร้อยปี]] จากงบประมาณที่ร่อยหรอ ผู้คนล้มตายจำนวนมาก บ้านเมืองถูกทำลายจากภาวะสงคราม ความอดอยากหิวโหย โรคระบาด และเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ภาวะช่วงกลางของศตวรรษที่ 14 นี้ของยุโรป เหมือนตกอยู่ในฝันร้าย
 
กาฬโรคไม่เพียงแต่ทำให้ประชากรล้มตายราวใบไม้ร่วง จนกระทั่งจำนวนประชากรโดยเฉลี่ย ลดลงเท่านั้น แต่มันยังส่งผลทางโครงสร้างเศรษฐกิจที่ผิดคาดอีกด้วย นักประวัติศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ ''เฟอร์นัล บรูเดล'' ''''' (Fernand Braudel) '''''
ได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ ''เดอะ แบล็กเด็ธ'' ไว้อย่างน่าสนใจว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ระหว่างภายหลังศตวรรษที่ 14 กับช่วงศตวรรษที่ 15 ศาสนจักรเสื่อมอำนาจลง '''ผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคมเปลี่ยนจากพวกศาสนจักร เป็นสามัญชน''' และทำให้เกิดการประท้วงของชนชั้นสามัญไปทั่วทั้งยุโรป
<br clear="all"/>