ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูจงอาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 108:
งูจงอางสืบพันธุ์โดยการวางไข่ปีละ 1 ครั้ง โดยมีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ในราวต้นฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม–เมษายน วางไข่ครั้งละประมาณ 20–30 ฟอง มากที่สุดคือประมาณ 45 ฟอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ งูจงอางตัวผู้จะเลื้อยเข้าหางูจงอางตัวเมียที่พร้อมการผสมพันธุ์ ซึ่งในแต่ละครั้งการเข้าหางูจงอางตัวเมียนั้น งูจงอางตัวผู้หลาย ๆ ตัวจะทำการต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงงูจงอางตัวเมีย ''(Combat Dance)'' โดยวิธีการฉกกัดและใช้ลำตัวกอดรัดกัน กดให้คู่ต่อสู้ที่เพลี้ยงพล้ำอยู่ด้านล่างให้อ่อนแรงในลักษณะคล้ายกับมวยปล้ำ ผลัดกันรุกผลัดกันรับแต่จะไม่มีการฉกกัดกันจนถึงตาย เมื่องูจงอางตัวผู้ตัวใดอ่อนแรงก่อน ก็จะยอมแพ้และเลื้อยหนีไป<ref name="งูพิษที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท">ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 81</ref>
 
งูจงอางตัวเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะมีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 25–70 วัน โดยทั่วไปลักษณะของไข่งูจงอาง จะมีลักษณะเป็นรูปทรงไข่หรือรูป[[ทรงรี]]ยาว มีสีขาวถึงสีครีม เปลือกไข่ค่อนข้างนิ่มแต่ไม่แตก ''(Leathery)'' และจะมีขนเส้นเล็ก ๆ บริเวณเปลือกไข่สำหรับดูดซับความชื้นภายในรัง ไข่ของงูจงอางจะไม่ติดกันเป็นแพเหมือนกับไข่ของงูกะปะชนิดอื่น

มีขนาดประมาณ 3.50–6.00 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายไข่เป็ดและจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนในตอนต้นของฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม
 
ก่อนการวางไข่ งูจงอางตัวเมียจะใช้ลำตัวกวาดเศษใบไม้ร่วง ๆ มากองสุมกัน เพื่อทำเป็นรังสำหรับวางไข่ให้เป็นหลุมลึกเท่ากับขดหางโดยใช้ใบไม้แห้งรองพื้น และหลังจากวางไข่เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะใช้เศษใบไม้คลุมไข่อีกชั้นหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันไข่จากศัตรูอื่นเช่นมนุษย์ และจะคอยเฝ้าหวงและดูแลไข่โดยการนอนขดทับบนรังเฝ้าไข่ของมันตลอดเวลาโดยไม่ยอมออกไปหาอาหาร ซึ่งผิดกับงูชนิดอื่น ๆ ที่ส่วนมากมักจะทิ้งไข่ไว้ภายในรัง ให้ฟักออกมาเป็นตัวเองโดยไม่เหลียวแลคอยดูแลและปกป้อง งูจงอางตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ จะเป็นยามเฝ้ารังและอยู่ใกล้ ๆ บริเวณรัง ในขณะที่งูจงอางตัวเมียจะอยู่แต่ภายในรัง ซึ่งในฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่จะเป็นช่วงที่งูจงอางดุมากเป็นพิเศษ จะคอยไล่ผู้ที่เดินทางผ่านรังของมัน ส่วนงูจงอางตัวเมียจะอยู่กับไข่ภายในรัง ไม่กวดไล่