ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดินสอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Soponwit Sangsai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แทนที่เนื้อหาด้วย "thumb|ดินสอ[[แกรไฟต์ขนาดเอชบี]] ไฟล์:Caran d'Ache Farbsti..."
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Pencils hb.jpg|thumb|ดินสอ[[แกรไฟต์]]ขนาดเอชบี]]
[[ไฟล์:Caran d'Ache Farbstifte.JPG|thumb|[[ดินสอสี]] (ผลิตโดยบริษัท [[Caran d'Ache (company)|Caran d'Ache]]).]]
'''ดินสอ''' คือแท่งไม้สีดำ
'''ดินสอ''' เป็น[[อุปกรณ์ในการเขียน]] หรือ[[รายชื่อสื่อทางศิลปะ|สื่อทางศิลปะ]] มักทำจากเนื้อ[[รงควัตถุ]]แข็งและแคบอยู่ภายในเปลือกที่ปกป้องเนื้อดินสอไม่ให้หักหรือทิ้งรอยไว้บนมือขณะใช้งาน
 
ดินสอสร้างรอยโดยการขีดเขียน ทิ้งรอยวัสดุเนื้อดินสอแข็ง ๆ ติดกับกระดาษ หรือพื้นผิวอื่น ๆ ไว้ ดินสอแตกต่างจาก[[ปากกา]] ที่จะกระจายรอยของของเหลวหรือหมึกเจลติดลงบนกระดาษที่มีสีอ่อนกว่า
 
เนื้อดินสอส่วนมากจะทำจาก[[แกรไฟต์]]ผสมกับ[[ดินเหนียว]]ที่จะทิ้งรอยสีเทาหรือดำไว้และทำให้ลบออกง่าย ดินสอที่ทำจากแกรไฟต์ใช้สำหรับ[[เขียน]]และ[[การวาดเส้น|วาดเส้น]] และทำให้เกิดรอยที่ทนทาน แม้ว่ามันจะใช่[[ยางลบ]]ลบออกง่าย แต่ดินสอจะทนต่อความชื้น สารเคมี [[รังสีอัลตราไวโอเลต]] และอายุการใช้งาน ดินสอที่เนื้อทำจากวัสดุอื่นนั้นมีใช้กันน้อยกว่า เช่น ดินสอที่ทำจาก[[ถ่านไม้]] ที่ส่วนมากจิตรกรจะใช้วาดภาพและร่างภาพ [[ดินสอสี]]บางครั้งมีไว้สำหรับครูหรือบรรณาธิใช้แก้ไขข้อความ แต่ก็จัดว่าเป็นอุปกรณ์ศิลปะเช่นกัน โดยเฉพาะชนิดที่มีเนื้อทำจากขี้ผึ้งที่จะติดลงบนกระดาษแทนที่จะลบออก [[ดินสอน้ำมัน]]จะนุ่มกว่า มีเนื้อดินสอทำจากขี้ผึ้งคล้าย[[สีเทียน]]ที่ทิ้งรอยบนผิวราบเรียบ เช่น กระจก หรือเครื่องลายคราม
 
เปลือกดินสอโดยทั่วไปทำจากไม้ขนาดบาง ปกติเป็นทรง[[หกเหลี่ยม]]ด้านเท่าแต่บางครั้งก็เป็น[[ทรงกระบอก]] พันรอบเนื้อดินสอถาวร เปลือกดินสออาจทำจากวัสดุอื่น เช่น พลาสติก หรือกระดาษ ก็ได้ ในการใช้ดินสอ เปลือกจะต้องถูกสลักหรือปอกออกเพื่อให้ส่วนปลายของดินสอแหลมคม [[ดินสอกด]]มีเปลือกที่ละเอียดอ่อนมากกว่าซึ่งช่วยประคองชิ้นส่วนของเนื้อสีให้สามารถขยายหรือหดผ่านปลายแท่งหรือเปลือกดินสอตามที่ต้องการ
 
== ประวัติ ==
ในสมัยอดีต การเขียนเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรม ตำรา หรือการวาดรูป มนุษย์ในสมัยก่อนใช้อุปกรณ์ที่เป็นแปรงหรือกิ่งไม้เล็กๆ และเหล็กที่มีปลายแหลม นำไปเผาไฟจุ่มลงในน้ำหมึกเพื่อใช้ในการขีดเขียน ( ภาษาโรมันเรียกแปรงหรือเหล็กแหลมนี้ว่า " Pencillus " หรือ " Little tail " ซึ่งต่อมากลายเป็นคำว่า " Pencil " มีความหมายว่า " หางน้อย " ) ส่วน " ปากไก่ หรือ ปากกาขนห่าน " เริ่มมีการประดิษฐ์ขึ้นใช้ในทวีปยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 6
 
== การผลิต ==
 
ในปัจจุบัน ดินสอผลิตโดยการใส่แกรไฟต์กับผงถ่าน เติมน้ำลงไป ผสมแล้วทำให้เป็นแท่งยาวคล้าย[[ของที่มีลักษณปลายแหลม]] เผาในเตาให้แข็ง จากนั้นจุ่มใน[[น้ำมัน]]หรือ[[ขี้ผึ้ง]] เพื่อให้เขียนได้ง่ายขึ้น จากนั้นประกอบเข้ากับไม้ที่เจาะรูไว้ให้เป็นแท่งดินสอ
 
ดินสอส่วนใหญ่ โดยเฉพาะดินสอที่ใช้ในงานศิลปะ จะระบุความเข้มของดินสอเอาไว้ด้วยตามระบบยุโรป โดยใช้อักษร "H" (hardness - ความแข็ง) "B" (blackness - ความดำ) และ "F" (fine point - เนื้อละเอียด) ดินสอสำหรับศิลปะจะมีความเข้มหลายขนาดให้เลือกใช้ เพื่อให้มีความเข้ม ความสวยงาม และให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ดินสอที่แข็งและสีอ่อน ไปจนถึงสีเข้มมาก โดยมักเรียงตามลำดับต่อไปนี้
 
{| align=center style="text-align:center"
|- style="height:10px"
| style = "background:#DDDDDD; width:25px" | || style="background:#CCCCCC; width:25px" | || style="background:#C7C7C7; width:25px" | || style="background:#BBBBBB; width:25px" | || style="background:#B7B7B7; width:25px" | || style="background:#AAAAAA; width:25px" | || style="background:#999999; width:25px" | || style="background:#888888; width:25px" | || style="background:#777777; width:25px;" | || style="background:#666666; width:25px" | || style="background:#555555; width:25px" | || style="background:#4A4A4A; width:25px" | || style="background:#444444; width:25px" | || style="background:#3A3A3A; width:25px" | || style="background:#333333; width:25px" | || style="background:#2a2a2a; width:25px" | || style="background:#222222; width:25px" | || style="background:#1a1a1a; width:25px" | || style="background:#111111; width:25px" | || style="background:#000000; width:25px"|
|-
| 9H || 8H || 7H || 6H || 5H || 4H || 3H || 2H || H || F || HB || B || 2B || 3B || 4B || 5B || 6B || 7B/EB || 8B/EE || 9B
|-
| colspan = 3, style="text-align:left"|อ่อนที่สุด|| colspan=5|→ ||colspan=4|ปานกลาง||colspan=5|→||colspan=3 style="text-align:right"|เข้มที่สุด
|}
 
ใน[[คริสต์ศักราช]] [[1970]] ,[[STAEDTLER]] ได้กำหนดใช้[[สัญลักษณ์]][[ตัวอักษร]] EB และ EE ใน[[ผลิตภัณฑ์]]ของตน
 
ในปัจจุบันนี้ได้ยกเลิกการใช้[[สัญลักษณ์]][[ตัวอักษร]] EB และ EE แต่ถูกแทนที่ด้วย 7B และ 8B โดยEE นั้นย่อมาจาก Extra Extra
 
อย่างไรก็ตาม[[สัญลักษณ์]][[ตัวอักษร]] EE ยังคงปรากฏใน[[ผลิตภัณฑ์]]ชื่อ STAEDTLER Mars Lumograph ของ [[STAEDTLER]] ใน[[ประเทศไทย]]
 
 
นอกจากนี้แล้วยังมีระบบอเมริกันที่ใช้ตัวเลขเพียงอย่างเดียว โดยสามารถเทียบประมาณกับระบบยุโรปได้ดังนี้
{|
|- style="background:#CCCCCC;"
| สี || อเมริกา || || style="text-align:right" | ยุโรป
|-
| style = "background:#444444;"| || #1 || = || style="text-align:right" | B
|-
| style = "background:#555555;"| || #2 || = || style="text-align:right" | HB
|-
| style = "background:#666666;"| ||#2 ½ * || = || style="text-align:right" | F
|-
| style = "background:#777777;"| ||#3 || = || style="text-align:right" | H
|-
| style = "background:#888888;"| || #4 || = || style="text-align:right" | 2H
|}
 
<nowiki>*</nowiki> อาจพบความเข้ม 2 4/8, 2.5, 2 5/10 แล้วแต่ชนิด
 
ดินสอที่เขียนกันโดยทั่วไป มีความเข้มระดับ HB และดินสอสำหรับระบายกระดาษคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ความเข้มระดับ 2B ขึ้นไป
 
== รูปร่างของดินสอ ==
ดินสอส่วนใหญ่จะมีหน้าตัดเป็น[[รูปหกเหลี่ยม]] เนื่องจากสามารถจับได้ถนัด สบายมือ และเมื่อกลิ้งจะสามารถหยุดได้ (หากกลมจะมีโอกาสกลิ้งตกโต๊ะไปมากกว่า) ดินสอสำหรับช่างไม้จะเป็นรูปร่างแบน ซึ่งไม่กลิ้งเช่นกัน และสามารถกะระยะของเส้นได้เที่ยงตรงกว่า
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[ดินสอกด]]
* [[กบเหลาดินสอ]]
* [[ปากกา]]
 
== อ้างอิง ==
* Petroski, Henry (1990). ''The Pencil: A History of Design and Circumstance''. New York: Alfred A. Knopf. ISBN 0-394-57422-2; ISBN 0-679-73415-5.
* Petroski, Henry. ''H. D. Thoreau, Engineer''. American Heritage of Invention and Technology, Vol. 5, No. 2, pp. 8-16.
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.penciltalk.org/2007/12/the-hunt-for-the-ee-grade-pencil The hunt for the EE grade pencil.]
 
[[หมวดหมู่:ดินสอ| ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ดินสอ"