ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chiangmai2499 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
| thaifilmdb_id = 03984
}}
'''ศรัณยู วงษ์กระจ่าง''' ([[ชื่อเล่น]]: ตั้ว) มีชื่อจริงว่า '''นรัณยู วงษ์กระจ่าง''' (เปลี่ยนมาจาก ศรัณยู วงษ์กระจ่าง)<ref>[http://www.thaipost.net/index.asp?bk=xcite&iDate=7/Aug/2551&news_id=162135&cat_id=200805 ไทยโพสต์]</ref> เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ [[17 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2503]] ที่ตำบลกระดังงา [[อำเภอบางคนที]] [[จังหวัดสมุทรสงคราม]]<ref>ภัทรพร อภิชิต, ในความทรงจำ... ศรัณยู วงศ์กระจ่าง, นิตยสารมนต์รักแม่กลอง, ปีที่ 1 ฉบับที่ 5, ตุลาคม 2551, หน้า 41</ref>
 
ศรัณยู เป็นนักแสดงชาย พิธีกร ผู้กำกับการแสดงละครและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการบันเทิงของไทย ก่อนจะเข้ามาในวงการบันเทิง ประกอบอาชีพเป็น[[สถาปนิก]]มาก่อน แต่เนื่องจากอาชีพสถาปนิกในเวลานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างในปัจจุบัน ซึ่งศรัณยูได้ร่วมกิจการการแสดงโดยแสดง[[ละคอนถาปัด|ละครของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] มาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2522]] เมื่อยังเป็นนักศึกษาอยู่แล้ว เมื่อจบออกมามีผลงานชิ้นแรกทางโทรทัศน์ โดยแสดงเป็นตัวประกอบในรายการ[[เพชฌฆาตความเครียด]] ทาง[[ช่อง 9]] ในปี [[พ.ศ. 2527]] โดยแสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่า[[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เช่นเดียวกัน เช่น [[ปัญญา นิรันดร์กุล]], [[เกียรติ กิจเจริญ]], [[วัชระ ปานเอี่ยม]] เป็นต้น
 
ศรัณยูรักอาชีพนักแสดงที่สุด<ref name=deepinterview>{{cite web|title=“ผมถอดแล้ว... คุณล่ะ ถอดหัวโขนออกหรือยัง?”|url=http://www.manager.co.th/asp-bin/PrintNews.aspx?NewsID=9540000107864|website=MGR Online|accessdate=15 April 2017}}</ref> เขามีผลงานทางด้านการแสดงมากกว่า 100 เรื่อง ทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และละครเวที เป็นพระเอกที่ครองความนิยมในประเทศไทยในช่วงยุค 80-90 มีผลงานละครโทรทัศน์โด่งดังมากมาย ได้แก่ [[เก้าอี้ขาวในห้องแดง]] (2527) [[ระนาดเอก]] (2528) [[มัสยา]] (2528) [[บ้านทรายทอง]] และ [[พจมาน สว่างวงศ์]] (2530) [[เกมกามเทพ]] (2531) [[เจ้าสาวของอานนท์]] (2531) [[ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง]] (2532) [[รัตติกาลยอดรัก]] (2532) [[วนาลี]] (2533) [[รอยมาร]] (2533) [[วนิดา]] (2534) [[ไฟโชนแสง]] (2535) [[น้ำเซาะทราย]] (2536) [[ทวิภพ]] (2537) [[มนต์รักลูกทุ่ง]] (2538) [[ด้วยแรงอธิษฐาน]] (2539) และ [[นายฮ้อยทมิฬ]] (2544) ซึ่งแทบทุกเรื่องถูกนำมาสร้างใหม่ในภายหลัง ส่วนผลงานละครเวทีที่เป็นที่จดจำมากที่สุด คือ [[สู่ฝันอันยิ่งใหญ่]] (2530)