ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panusithc (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูลจากจาก wiki สถานบันพระปกเกล้า : ผู้เรียบเรียง วิจิตรา ประยูรวงษ์
บรรทัด 36:
}}
 
'''พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์''' ([[17 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2460]] - [[23 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2546]]) [[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|อดีตนายกรัฐมนตรี]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง]] [[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] เจ้าของฉายา '''“อินทรีบางเขน”''' เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากมติของคณะปฏิวัติในปี พ.ศ. 2521 ภายใต้การนำของพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองวิกฤติ เกิดความแตกแยกแบ่งเป็นฝักฝ่าย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่สามารถประสานประโยชน์และสร้างความสมานฉันท์ให้บ้านเมือง เนื่องจากท่านมีนโยบายที่ประนีประนอมทุกฝ่าย ดังวลีที่ท่านได้กล่าวว่า '''“เราไม่มีเวลาทะเลาะกันอีกแล้ว”''' <ref name=":0">สมบูรณ์ คนฉลาด. '''บันทึกเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อสองนายพลเป็นนายกฯ : ปฏิวัติสามสมัย ตอน 2.''' ม.ป.ท. : โรงพิมพ์รวมการพิมพ์, 2524. หน้า 93.</ref>
 
== ประวัติ ==
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ หรือนามเดิมสมจิตร ชมะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายแจ่มกับนางเจือ ชมะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์ มีบุตรธิดารวม 2 คน
พลเอก เกรียงศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 <ref name="ปทุม">{{cite web |url=http://www.patumkongka-alumni.net/proud.htm|title=นักเรียนเก่าที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวน้ำเงิน-ฟ้า|author= |date=|work= |publisher=สมาคมนักเรียนเก่าปทุมคงคา|accessdate=18 ธันวาคม 2557}}</ref> เป็นบุตรของนายแจ่ม กันนางเจือ ชมะนันทน์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกรียงศักดิ์ตามนโยบายของรัฐบาลในขณะนั้น (รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม)<ref>{{cite web |url=http://www.dailynews.co.th/article/376026|title=เกรียงศักดิ์ : นายกฯ ผู้ลาออกกลางสภา|author=นรนิติ เศรษฐบุตร |date=4 มีนาคม 2559|work= |publisher=เดลินิวส์|accessdate=29 มกราคม 2559}}</ref> ชีวิตครอบครัว สมรสกับคุณหญิง [[วิรัตน์ ชมะนันทน์]] มีบุตรและธิดาคือ พันเอก '''พงศ์พิพัฒน์ ชมะนันทน์''' และ '''รัตนวรรณ ชมะนันทน์'''<ref name="ปทุม"/>
 
'''การศึกษา''' พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จากนั้นเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนปทุมคงคาจนจบชั้นมัธยมศึกษา แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2483 ในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบกและวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่น 5
 
'''การรับราชการ''' ในปี พ.ศ. 2484 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ รับราชการเป็นผู้บังคับหมวด กองพันทหารราบที่ 26 ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กองพันทหารราบที่ 26 ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ช่วงเวลาเดียวกันยังรับหน้าที่เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กองพันทหารราบที่ 33 จนกระทั่งติดยศร้อยเอกในปี พ.ศ. 2486 จากนั้น ย้ายมาประจำที่ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3 ก่อนจะได้เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองทัพภาคที่ 3 ถึงปี พ.ศ. 2495 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบกรมผสมที่ 20 และไปร่วมรบในสมรภูมิเกาหลีรุ่นแรก ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 สร้างเกียรติภูมิอย่างมาก จนหน่วยที่บังคับบัญชาได้ฉายาว่า “กองพันพยัคฆ์น้อย”
 
เมื่อกลับมาย้ายไปสายวิชาการ เป็นหัวหน้าภาควิชายุทธการโรงเรียนเสนาธิการทหารบกโดยติดยศพันเอกในปี พ.ศ. 2499 ต่อมาได้เข้าทำงานที่สำนักงานวางแผนทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ หรือ ส.ป.อ. จนได้เป็นหัวหน้ากองการทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ในปี พ.ศ. 2502 ถึงปี พ.ศ. 2506 ย้ายมาดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการกองอำนวยการกลาง สำนักงานผู้บัญชาการทหารสูงสุด ระหว่างนั้นได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา
 
ต่อมาได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเอกเมื่อปีพ.ศ. 2516 ในตำแหน่งรองเสนาธิการทหารบก จากนั้นในปี พ.ศ. 2517 ก็ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ต่อด้วยผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในที่สุดขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 จนเกษียณอายุราชการ[
 
ช่วงเวลาที่รับราชการ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่เกือบตลอดเวลา โดยเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2511 และสมาชิกสภานิติบัญญัติ เมื่อปี พ.ศ. 2515 ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ช่วงรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
 
== การศึกษา ==
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่[[โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย]], [[โรงเรียนปทุมคงคา]]<ref name="ปทุม">{{cite web|url=http://www.patumkongka-alumni.net/proud.htm|title=นักเรียนเก่าที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวน้ำเงิน-ฟ้า|author=|date=|work=|publisher=สมาคมนักเรียนเก่าปทุมคงคา|accessdate=18 ธันวาคม 2557}}</ref> จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายจาก[[โรงเรียนอำนวยศิลป์]] พระนคร จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] จนสำเร็จการศึกษาในปี 2483 ในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และ [[วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร]] รุ่น 5
 
== ราชการทหารต่างประเทศ ==
ในช่วงที่รับราชการทหาร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เคยร่วมรบใน[[สงครามเกาหลี|สมรภูมิเกาหลี]]รุ่นแรก ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 สร้างเกียรติภูมิอย่างมาก จนหน่วยใต้บังคับบัญชาได้ฉายาว่า "กองพันพยัคฆ์น้อย" (ปัจจุบันแปรสภาพเป็นกองพันทหารราบที่ 1 [[กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์]]) ภายหลังกลับจากสงครามก็เข้าประจำ[[กองบัญชาการทหารสูงสุด]] เติบโตในสายเสนาธิการมาเป็นลำดับจนเป็นพลเอก และดำรงตำแหน่ง[[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]]จนเกษียณอายุราชการ
 
เส้น 59 ⟶ 69:
 
นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้แก่นักศึกษาที่ถูกจำคุกเนื่องจาก[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์ชุมนุม 6 ตุลาคม]] พ.ศ. 2519 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย ซึ่งรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างดังกล่าวในปี พ.ศ. 2521 โดยมีเหตุผลสำคัญคือเพื่อความปรองดองของประเทศ ซึ่งทำให้นักศึกษาที่ถูกจับทั้งหมดได้รับการปล่อยตัว
 
'''สมัยที่ 1''' (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521)
 
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์นั้น สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โดยคณะปฏิวัติภายใต้การนำของพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 จากนั้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 จึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 เป็นการชั่วคราว และได้จัดตั้งสภานโยบายแห่งชาติขึ้น จากนั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ของประเทศเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 โดยมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และยังได้รับการสนับสนุนจากคณะทหารหนุ่ม หรือกลุ่ม “ยังเติร์ก" <ref>นรนิติ เศรษฐบุตร. '''เกิดมาเป็นนายก.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2538, หน้า 257-268.</ref> ทั้งนี้ ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2520 ได้ประกาศนโยบายหลักในการปกครองประเทศที่สำคัญ คือ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2521 เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอย่างช้าที่สุดภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2522 <ref>ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 94 ตอนที่ 111 ฉบับพิเศษ, 9 พฤศจิกายน 2520,หน้า 1-14.</ref>
 
หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลากว่า 1 ปี รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ สมัยแรก ก็สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐบาลคณะปฏิวัติประกาศว่า จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ และให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว แต่สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลได้แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดอำนาจของฝ่ายทหารจนกระทั่งได้ฉายาว่า “ประชาธิปไตยครึ่งใบ”<ref>สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. เรื่องเดียวกัน, หน้า 433-434.</ref> และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป (ครั้งที่ 12) เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
 
'''สมัยที่ 2''' (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523)
 
ภายหลังการเลือกตั้ง ก็มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยมีพลอากาศเอกหะริน หงสกุลประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
 
การบริหารประเทศของรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ตั้งแต่สมัยที่ 1 ต่อเนื่องมาถึงสมัยที่ 2 ต้องประสบปัญหามากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมาก การผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ต้องขึ้นราคาน้ำมันภายในประเทศ ส่งผลเป็นลูกโซ่ ให้มีการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าและน้ำประปา สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชน รัฐบาลจึงถูกมองว่าไม่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มพลังนอกสภากดดันรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็โจมตีรัฐบาลอย่างหนัก โดยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2522 มุ่งประเด็นความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ในที่สุดด้วยเสียงที่มากกว่า รัฐบาลจึงได้รับความไว้วางใจให้บริหารประเทศต่อไปได้<ref>วีรชาติ ชุ่มสนิท. เรื่องเดียวกัน, หน้า 135-136.</ref>
 
จากวิกฤติการณ์ดังกล่าว พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พยายามประคับประคองสถานะของรัฐบาลอย่างสุดความสามารถ โดยการปรับคณะรัฐมนตรีอีกหลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาหลักคือเรื่องเศรษฐกิจได้ และเมื่อมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันในปี พ.ศ. 2523 นำมาซึ่งการประท้วงอย่างกว้างขวาง เพราะมีการมองว่ารัฐบาลผลักภาระของบริษัทน้ำมันมาให้ประชาชนแบกรับ มีการจัดชุมนุมครั้งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 มีประชาชนเข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก ขณะที่ในสภาฯ ผู้นำพรรคการเมืองที่ประกอบด้วย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชหัวหน้าพรรคกิจสังคม พลตรีประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย และพันเอกพล เริงประเสริฐวิทย์ หัวหน้าพรรคสยามประชาธิปไตย ได้ร่วมกันยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 137 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ต่อพลอากาศเอกหะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา โดยมี ส.ส. ลงชื่อรับรองจำนวน 204 คน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โดยกำหนดการอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 <ref>“ความเคลื่อนไหวเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล.” สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์. 5,9 (22-28 กุมภาพันธ์ 2523), หน้า 235-236.</ref>
 
ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา สมัยที่สอง พ.ศ. 2523 ในวันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้แถลงชี้แจงถึงปัญหาที่ผ่านมา ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่รัฐบาลต้องประสบจนยากที่จะบริหารงานของประเทศให้บรรลุสู่เป้าหมายได้ และได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงท้ายของการชี้แจงดังกล่าว ความว่า
 
“…การขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและรัฐสภาไม่เป็นสิ่งที่ดี และเชื่อว่าไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนปรารถนา ประชาชนบางส่วนที่อยู่ในชนบทไม่สนใจว่าใครจะมาบริหารประเทศ ขอให้ท้องอิ่มก็แล้วกันแต่ความขัดแย้งก่อเกิดเพิ่มขึ้นทับทวี จนยากที่รัฐบาลจะบริหารงานของชาติให้บรรลุสู่เป้าหมายได้ '''ฉะนั้นเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยระบบรัฐสภา กระผมจึงได้ตัดสินใจดังนี้ กระผมขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ระบบรัฐสภาของประชาธิปไตยดำรงอยู่ตลอดไป ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ท่านเลือกบุคคลที่มีความสามารถดีกว่า เข้ามาบริหารประเทศและรับใช้ประชาชนและประเทศชาติต่อไป ขอบพระคุณ”'''<ref>รายงานการประชุมรัฐสภา (สมัยวิสามัญ สมัยที่สอง) ครั้งที่ 1/2523 29 กุมภาพันธ์ 2523. หน้า 7-15.</ref>
 
หลังจากการแถลงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เสร็จสิ้น สมาชิกรัฐสภาพร้อมใจกันปรบมือให้เกียรติดังลั่นไปทั้งห้องประชุมสภา การตัดสินใจของท่านนั้นได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญเป็นอย่างสูงจากบุคคลต่างๆ อาทิเช่น '''พลเอกเปรม ติณสูลานนท์''' ได้กล่าวว่า “พลเอกเกรียงศักดิ์ ได้แสดงสปิริตออกมาเป็นที่น่ายกย่อง ไม่คาดมาก่อนว่าจะแก้ปัญหาด้วยการลาออก แต่ก็เหมาะสมดีแล้ว” หรือที่'''นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช''' สมาชิกพรรคเสรีธรรม กล่าวว่า “เป็นตัวอย่างที่ดี ในชีวิตนักการเมืองของผม ถือว่าเป็นการตัดสินใจของลูกผู้ชาย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานทางด้านประชาธิปไตย ผมนะปรบมือให้ไม่หยุดเลย”[9] นับว่าพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นสุภาพบุรุษทางการเมือง ไม่หวงอำนาจ แม้ว่าท่านจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการปฏิวัติ แต่ก็ลาออกตามวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักการเมืองที่ควรยึดถือปฏิบัติ<ref>สมบูรณ์ คนฉลาด. เรื่องเดียวกัน, หน้า 605.</ref> รวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 2 สมัย เป็นเวลา 2 ปี 4 เดือน
 
=== โรคร้อยเอ็ด ===
เส้น 85 ⟶ 115:
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}<ref>วีรชาติ ชุ่มสนิท. '''24 นายกรัฐมนตรีไทย.''' กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง, 2549, หน้า 134-135.</ref>
{{รายการอ้างอิง}}
 
<ref name=":0" />
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Kriangsak Chomanan|เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์}}