ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดอนาลโยทิพยาราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วัดอนาลโยทิพยาราม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: ถูกแทน
บรรทัด 1:
{{issues|สั้นมาก=yes|ต้องการอ้างอิง=yes}}
   
'''วัดอนาลโยทิพยาราม''' หรือ '''ดอยบุษราคัม''' ตั้งอยู่บน[[ดอยบุษราคัม]] บ้านสันป่าม่วง หมู่ที่ 6 ต.สันป่าม่วง [[จังหวัดพะเยา]] จากตัวเมืองไปเส้นทางพะเยา -เชียงราย ประมาณ 7 กม.แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1127 ประมาณ 9 กิโลเมตร สร้างโดยพระปัญญาพิศาลเถร (พระอาจารย์ไพบูลย์ฯ)เป็นอุทยานพระพุทธศาสนา มีศาสนสถานที่สวยงามเช่น พระพุทธรูปศิลปสุโขทัย องค์ใหญ่ พระพุทธรูปปางต่างๆ [[พระพุทธลีลา]] [[พุทธคยา]] เก๋ง จีน ประดิษฐาน[[เจ้าแม่กวนอิม]] หอ[[พระแก้วมรกต]]จำลองทำด้วย[[ทองคำ]] ฯลฯ บรรยากาศร่มรื่น พื้นที่กว้างขวาง แวดล้อมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ จากยอดดอยสามารถชมทัศนียภาพของ[[กว๊านพะเยา]] และตัวเมืองของพะเยาได้อย่างสวยงามสามารถขึ้นวัดอนาลโยได้ 2 ทางคือ ทาง[[รถยนต์]]และทาง[[บันได]] มีที่พักแบบรีสอร์ทอยู่บนวัด
 
 
 
'''วัดอนาลโยทิพยาราม''' ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา - เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 - 1193 อีก 9 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม ขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์ มีที่พักแบบรีสอร์ทบนวัด
 
 
   '''ประวัติโดยสังเขป'''
 
 
   พระเทพวิสุทธิญาณ (พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล) ซึ่งเป็นพระผู้สร้างวัดรัตนวนาราม จังหวัดพะเยา โดยเริ่มจากศาลาหลังเดียว จากสภาพป่ารกร้าง และซากปรักหักพังของพระพุทธรูปที่ได้มีชาวบ้านที่ศรัทธาพระอาจารย์ไพบูลย์นำมาประกอบกันจนครบองค์พระที่สมบูรณ์ได้ 2 องค์ เรียกขานกันว่าหลวงพ่อเกษมและหลวงพ่อสุข ประดิษฐานในหลังคาเดียวกันเรียกรวมกันเป็นแฝดว่า'''หลวงพ่อเกษม-สุข''' ประมาณ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ หลังจากนั้นท่านได้นิมิตเห็นสายทรายทองคำหลั่งไหลลงมายังวัดรัตนวนารามเหมือนแม่น้ำไหลมาจำนวนมากมากองอยู่ที่วัดรัตนวนารามเป็นกองมหึมา เมื่อท่านมองไปยังต้นสายจึงเห็นเป็นเขาลูกหนึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยาซึ่งหลังจากนั้นอีก 2 ปี ได้มีญาติโยมอาราธนานิมนต์ท่านไปสร้างวัดบนเขาลูกนั้นที่ชาวบ้านเล่าว่าเคยเห็นแสงสีเหลืองเหมือนทองสุกสว่างอาบไปทั่วทั้งเขา ซึ่งมักจะได้เห็นกันในช่วงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ชาวบ้านจึงได้ขนานนามเขาลูกนั้นว่า'''ดอยม่อนแก้ว''' ท่านมิได้รับปากสร้างวัดแต่อย่างใดเพราะเห็นว่าเวลานั้นการสร้างวัดรัตนวนารามก็เป็นภาระอย่างใหญ่หลวงแล้ว
 
 
   คืนหนึ่งหลังจากกลับจากนิมนต์ท่านฝันว่าท่านได้เหาะขึ้นไปบนเขาลูกหนึ่งห่างจากบ้านสันป่าบงประมาณ 2 กิโลเมตร เห็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ทองคำเหลืองอร่ามสวยงามและท่านได้กราบนมัสการพระพุทธรูปนั้นด้วยความเต็มตื้นศรัทธา ท่านอดคิดไม่ได้ว่า มหามงคลนิมิตนี้แสดงว่าเขาลูกนี้คงเหมาะเป็นที่ปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่ได้บอกใคร
 
 
   ตั้งแต่นั้นมาญาติโยมฟากนั้นของกว๊านก็ได้เดินทางมากราบท่านแทบทุกอาทิตย์ โดยทุกครั้งก็จะอาราธนานิมนต์ท่านไปสร้างวัดบนเขาลูกนั้นอยู่ทุกครั้ง จนเวลาผ่านไป 3 ปี ท่านจึงคิดว่าศรัทธาของญาติโยมที่ต้องการสร้างวัดแห่งนี้มีความแน่วแน่มั่นคงท่านจึงถามว่าเพราะเหตุไรจึงต้องการสร้างวัดนี้นัก ชาวบ้านตอบว่าเคยเห็นแสงสว่างเป็นดวงกลมสีเหลืองเหมือนทองอาบยอดเขาลูกนี้ และมีผีดุ เจ้าที่แรง ชาวบ้านที่ทำไร่ทำนาอยู่บริเวณนี้จะต้องกลับแต่หัววัน อยู่พักผ่อน หรือนอนพักไม่ได้เด็ดขาด หลายคนเห็นชายร่างใหญ่สีดำมากระตุกขา มาทำให้ตกใจตื่น มาทำให้เกิดความกลัว บางคนเสียสติ บางคนจับไข้จนทำมาหากินไม่ได้ ท่านได้ฟังแล้วก็เกิดความเมตตาสงสารชาวบ้านจึงตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้ว่า "ถ้ามีโอกาสคงได้ไปร่วม"
 
 
   ต่อมาเมื่อเข้าถึงความสงบก็นิมิตเห็นชายร่างใหญ่สูงดำพร้อมบริวารตรงเข้ามาเหมือนจะทำร้ายท่าน ท่านก็แผ่เมตตาไปชายร่างใหญ่เหล่านั้นก็ก้มกราบพร้อมมอบดาบให้ท่าน ท่านตอบว่าท่านเป็นพระไม่สามารถรับอาวุธนั้นได้ ให้ท่านเก็บรักษาไว้ตามเดิมเถิด ชายร่างดำสูงใหญ่นั้นได้บอกกับท่านว่า หากท่านจะมาสร้างวัดอยู่ ณ ที่แห่งนี้กระผมไม่ขัดข้อง มีแต่ความดีใจ เต็มใจและอนุโมทนาด้วยแต่ขอให้สร้างเป็นวัดหลวงปู่ขาวเถิด ซึ่งท่านไม่ขัดข้องเพราะในตอนนั้นแทบไม่มีใครไม่รู้จักหลวงปู่ขาว อนาลโย การใช้ชื่อนี้จึงนับว่าเป็นนามมงคลดีแล้ว
 
 
   ในราวปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ท่านนำคณะอีก 2-3 รูป และชาวบ้านขึ้นไปสำรวจบริเวณดังกล่าวที่เรียกกันว่า ดอยม่อนแก้ว โดยเห็นว่าเป็นที่ที่มีความสงบด้วยมองเห็นกว๊านพะเยาทั้งยามพระอาทิตย์ขึ้นและยามพระจันทร์ส่องแสงระยิบระยับบนผิวน้ำทำให้จิตใจสงบได้ง่าย อีกทั้งการเดินทางบิณฑบาตรก็พอทำได้ไม่ลำบากมากนักจึงตั้งเป็น'''สำนักสงฆ์อนาลโย''' บนม่อนพระนอน ต่อมาด้วยกระแสศรัทธาจากญาติโยมทั่วทุกสารทิศที่หลั่งไหลมา จนเริ่มมีผู้คิดสร้างเป็นวัดจึงได้ขออนุญาตสร้างวัดขึ้นกับทางกรมป่าไม้ จึงได้มีการสำรวจพื้นที่อย่างละเอียดจึงพบว่าที่ม่อนพระนอนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีพื้นที่ไม่เหมาะสมเพราะหากสร้างอาคารขึ้นคงต้องมีการตัดไม้สูงใหญ่จำนวนมาก จึงได้พบกับม่อนเขาอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีลักษณะต่อกันกับม่อนพระนอนเดิมเพียงแต่มีช่องเขาขาดกั้นอยู่เท่านั้น มีพื้นที่เป็นแนวยาวตามสันเขาเหมาะแก่การสร้างวัดมากกว่า จึงได้เลือกสร้างบนสถานที่ที่เห็นในปัจจุบัน
 
 
   จนเมื่อเริ่มก่อสร้างก็พบว่ามีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ ในระหว่างพระอาจารย์ไพบูลย์กำลังครุ่นคิดวิธีการแก้ไขปัญหาอยู่นั้น วันหนึ่งได้รับอาราธนานิมนต์ไปเจริญพระพุทธมนต์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษินในพระบรมมหาราชวัง ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมมาถึงท่านอาจารย์ ทรงมีพระราชปฏิสันถารว่า "ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์ได้ไปสร้างสำนักสงฆ์บนเขาสูงที่จังหวัดพะเยาทางฟากกว๊าน คงจะขาดแคลนน้ำ ไม่เป็นไรผมจะปรึกษากรมชลประทานให้"
 
 
   วันพุธที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมนมัสการ พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล หัวหน้าสำนักสงฆ์อนาลโยเป็นการส่วนพระองค์ ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นทรงสำราญพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง ทรงสนทนาธรรมแล้วทรงเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ ที่ประทับรับรองของสำนักสงฆ์อนาลโย ตั้งแต่เวลา ๑๕.๐๐ น. จนถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ แล้วได้ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทาน จัดสร้าง'''อ่างเก็บน้ำแม่ต๋อม''' และ'''อ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง''' เพื่อผันน้ำมาใช้บนสำนักสงฆ์ และจ่ายไปยังไร่นาของประชาชน จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นที่สุด
 
'''ศาลาจตุรมุขกลางน้ำวัดอนาลโยทิพยาราม''' เดินทางมาถึงวัดอนาลโยทิพยารามที่ลานจอดรถ จะผ่านซุ้มประตูบันไดพญานาคทางเดินขึ้นวัดอนาลโยดอยบุษราคัม แต่ที่เมื่อเข้าลานจอดรถจะเห็นมีบันไดอีกแห่งหนึ่งกับป้ายบอกทางขึ้นศาลาจตุรมุขกลางน้ำ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของวัดอนาลโยทิพยารามนี้ เดินขึ้นบันไดสักพัก (ไม่สูงมากนัก) ก็เห็นศาลาไม้ทรงจตุรมุขขนาดใหญ่อยู่กลางสระน้ำที่มีลักษณะเป็นรูปวงกลม มีศาลารายล้อมรอบนอกคล้ายเป็นสถานที่สำหรับฉันภัตตาหารของพระภิกษุที่จำพรรษาที่วัดนี้ ศาลาจตุรมุขมีทางเดินเป็นไม้เข้าไปเฉพาะตรงซุ้มประตูที่ทำด้วยปูน
 
'''ภาพเขียนสีบนกระจกศาลาจตุรมุข''' ด้านหน้าขององค์พระพุทธรูป มีภาพเขียนสีบนกระจกเป็นเทพเทวดา เขียนเหมือนกัน มีเป็นคู่อยู่ด้านซ้ายและ ขวา 2 คู่
 
'''พระพุทธรูปปางนาคปรก''' กลางศาลาจตุรมุขขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ซุ้มประตูเขียนภาพเทวดา 2 ข้าง
 
'''ซุ้มประตูวัดอนาลโยทิพยาราม''' หลังจากชมความงามของศาลาจตุรมุขแล้วก็เดินย้อนกลับมาทางเข้าวัดที่ตอนแรกจะเห็นซุ้มประตูและบันไดพญานาคแห่งนี้ระหว่างทางเดินมีร้านค้าบริการมากมายทั้งเครื่องดื่มและของฝาก ซุ้มประตูแห่งนี้สร้างเหมือนปราสาทหินโบราณสวยงาม
 
'''ซุ้มประตูวัดอนาลโยทิพยาราม''' เมื่อเดินขึ้นบันไดมาจะเห็นพญานาคที่มีร่างเป็นมนุษย์แต่ส่วนหางเป็นพญานาคขดเป็นฐานนั่งอยู่ที่หน้าซุ้มประตูกับป้ายชื่อวัดดนาลโยที่ใช้อักษรสวยงาม
 
'''จุดเริ่มต้นทางเดินบันไดพญานาค''' ด้านหลังพญานาคที่ซุ้มประตูมีงานประติมากรรมปูนปั้นรูปร่างคล้ายยักษ์แบกอ่างรูปแปดเหลี่ยมบนรอบๆ อ่างทำเป็นบุตรพญานาคยังเด็กยืนล้อมอ่าง แต่ละด้านของอ่างแปดเหลี่ยมมีงานปูนนูนต่ำเป็นรูปต่างๆ กัน
 
'''บันไดวัดอนาลโยทิพยาราม''' ข้อมูลจากชาวบ้านบอกเล่าว่าบันไดนี้มี 200 กว่าขั้น หากไม่มีเรี่ยวแรงเดิน หรือมีเวลาไม่มากพอชาวบ้านที่นี่มีรถบริการขึ้นดอยบุษราคัม คนละ 50 บาท หรือเหมาเที่ยวหลายๆ แห่ง 400 บาทสำหรับผู้ที่นำรถมาเองขับขึ้นไปได้เพราะทางไม่ชันมากมายอะไรนัก
 
'''บันไดพญานาควัดอนาลโยทิพยาราม''' ช่วงต่อระหว่างบันไดซุ้มประตูและบันไดพญานาคที่จะเดินขึ้นไปยังวัด เป็นจุดเริ่มต้นของพญานาคเลื้อย มี 3 เศียรทั้ง 2 ข้าง ลวดลายละเอียดสวยงาม ทางเดินเป็นป่าไม้ร่มรื่น
 
'''ศาลาเจ้าแม่กวนอิม''' เป็นจุดแรกที่ลานจอดรถบนเขาวัดอนาลโยต้องจอดรถตรงนี้แล้วเดินเข้าไปบริเวณของวัดกว้างใหญ่มากหากจะเดินชมทั้งหมดรวมทั้งพุทธอุทยานเขาตรีเพชร อาจจะต้องใช้เวลาทั้งวัน
 
'''ซุ้มประตูทางเข้าบนเขา''' ที่บนเขาดอยบุษราคัมก็มีซุ้มประตูที่สร้างในลักษณะปราสาทโบราณเหมือนซุ้มประตูด้านล่าง บนยอดซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนหันพระพักตร์ไปตรงข้ามกัน (หันหลังเข้าหากัน) ทำให้มองเห็นพระพุทธรูปทั้งตอนเดินเข้าและเดินออกจากประตู
 
'''แท่น ๑๒ นักษัตร''' เป็นแท่นที่สร้างด้วยปูนลักษณะเป็นวงกลมอยู่ไม่ห่างจากซุ้มประตูมากนัก นักท่องเที่ยวหลายคนที่เดินผ่านแท่นนี้จะอธิษฐานตั้งเหรียญตรงกับปีเกิดของตนเอง จนมีเหรียญวางอยู่บนแท่นนี้จำนวนมาก ข้างๆ แท่นมีวัตถุมงคลให้บูชาชื่อ ศาลาอนาลโยมงคล มีหนังสือประวัติการสร้างวัดอนาลโยเล่มละ 50 บาท หนามาก เพราะเล่าเรื่องประวัติพระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล อดีตเจ้าอาวาสผู้เริ่มก่อสร้างวัดรัตนวนาราม และวัดอนาลโยทิพยารามแห่งนี้ เมื่อปี ๒๕๑๒ และปี ๒๕๒๓ ตามลำดับ
 
'''หอพระสยามเทวาธิราช''' ระหว่างทางเดินมีอาคารต่างๆ มากมายจนไม่อาจบรรยายได้ครบทั้งหมด อย่างเช่น หอพระสยามเทวาธิราชเป็นลักษณะคล้ายซุ้มศาลาหลังไม่ใหญ่มาก มีทางเข้าออกทางเดียว มีช่องหน้าต่างเล็กๆ พอให้แสงลอดเข้ามาได้ อยู่ห่างจากหอหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งมีรูปปั้นเหมือนหลวงปู่ขาวอยู่ภายในเพียงเล็กน้อย
 
'''รูปจำลองนาคมานพในเครื่องทรงกษัตริย์''' สร้างไว้บนบันไดทางเดินอยู่ตรงกลาง แบ่งทางเดินออกเป็น 2 ทางวันที่เปิดน้ำพุจากบันไดพญานาคทั้ง 2 ข้างจะเห็นสายน้ำพุพุ่งเข้ามาประสานกัน
 
'''วิหารพระพุทธชินราช''' อยู่นอกทางเดินด้านซ้ายมือใกล้กันกับรูปจำลองนาคมานพ หากเดินเข้าวิหารหลังนี้จะมีทางเดินทะลุออกด้านหลัง กลับไปยังทางเดินหลักได้ตามเดิม
 
'''พระพุทธชินราชจำลอง''' เป็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในวิหารพระพุทธชินราชวัดอนาลโย
 
'''วิหารพระหมื่นปี''' เป็นวิหารทรงสูงหลังคาหลายชั้น ขนาดค่อนข้างกว้างขวางอยู่นอกทางเดินหลักแต่ไม่ไกลนัก ภายในสามารถบรรจุพระภิกษุสงฆ์ได้หลายรูป มีอาสนและเก้าอี้อยู่ภายในน่าจะเป็นที่ใช้สำหรับพิธีสังฆกรรมในบางครั้ง เมื่อเข้าไปภายในมีแสงลอดเข้ามาจากหน้าต่างทั้ง 2 ข้างแต่ไม่มาก มองเห็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในแต่การถ่ายภาพภายในค่อนข้างลำบากต้องมีขาตั้งไปด้วยพานดอกบัวที่เห็นวางอยู่ที่แท่นบูชาพระพุทธรูปแสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนดอกบัวทุกวัน
 
'''พระพุทธรูปปางนาคปรกแบบศิลปะไทย''' เดินกลับเข้าทางเดินอีกครั้งหลังจากเข้าวิหารพระหมื่นปี เห็นพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดใหญ่มากองค์หนึ่งในวัดอนาลโยทิพยาราม สร้างด้วยศิลปะแบบไทยและใช้สีสันที่สวยงาม
 
'''พระเจดีย์''' อยู่กลางทางเดินถัดจากพระพุทธรูปปางนาคปรก เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมส่วนยอดเป็นกรวยแหลม มีบันไดทางขึ้นสู่พระเจดีย์ 3 ด้าน ด้านตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ส่วนด้านทิศเหนือและทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปที่บันไดทางขึ้นลง ปางมารวิชัยพร้อมฉัตร ในรูปเป็นด้านทิศตะวันตก ที่มุมทั้งสี่ด้านของลานพระเจดีย์ มีเจดีย์องค์เล็กๆ สร้างแบบเดียวกันอยู่ทั้งสี่มุม ลานรอบๆ องค์พระเจดีย์ปูด้วยแผ่นกระเบื้องมีลวดลายเรียงต่อกันไป
 
'''หอพระเงิน''' เป็นหอพระสร้างจากไม้ทั้งหลัง อยู่นอกทางเดินหลัก ถัดจากวิหารพระหมื่นปี หอสร้างแบบหลังคาสูงไม่กว้างมากแต่มีความยาวตามแนวลึก รอบๆ บริเวณเป็นระเบียงทางเดินมีแนวรั้วสร้างจากไม้ทั้งหมด การก่อสร้างอยู่บนส่วนสันเขาด้านล่างจึงมีเสารองรับลงไปจนถึงพื้นที่ลาดเอียงของแนวสันเขาจำนวนมาก ทั้งวิหารพระหมื่นปีและหอพระเงิน ผู้ที่เดินอยู่ตามทางเดินด้านบนแทบไม่รู้สึกเลยว่ากว่าจะก่อสร้างมาได้ขนาดนี้ต้องผ่านความยากลำบากขนาดไหนหากไม่ได้เห็นตรงส่วนที่เสาฝังอยู่ใต้อาคารต่างๆ เหล่านี้
 
'''สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี''' เป็นรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ที่อยู่ในหอพระเงิน ด้านหลังหอพระเงินมีเจดีย์ สร้างด้วยอิฐ ลวดลายสวยงาม ด้านหลังหอนี้เป็นพระเจดีย์
 
'''พระพุทธเมตตานภาวิสุทธิมงคล''' พระพุทธรูปแบบสุโขทัย สูง ๑๘ เมตร หน้าตักกว้าง ๑๒ เมตร อยู่ถัดมาจากพระเจดีย์
 
'''ศิลปะที่บันได''' หลังจากนมัสการพระพุทธเมตตานภาวิสุทธิมงคล แล้วเดินตามทางเดินต่อมาเรื่อยๆ จะเห็นบันไดแห่งนี้ซึ่งเป็นบันไดไปยังอาคารหลังหนึ่ง พญานาคเลื้อยที่บันไดนี้มีลวดลายสวยงามปราณีต
 
'''งานก่อสร้างปูนผสมไม้''' เป็นการก่อสร้างที่เรียกได้ว่าแปลกตากว่าอาคารหลังอื่นๆ ตรงส่วนกลางสร้างด้วยปูนมีระเบียงยื่นออกมาทั้ง 2 ข้างสร้างด้วยไม้อย่างลงตัวส่วนที่เป็นไม้มีลวดลายสลักสวยงาม
 
'''พระเจดีย์ด้านหลังอาคาร''' นับเป็นอาคารที่ 2 ที่มีลักษณะการก่อสร้างคล้ายๆ กัน คือ หอพระเงิน และอาคารหลังนี้ที่มีการสร้างเจดีย์อยู่ชิดกับอาคารที่ด้านหลัง
 
'''ซุ้มประตูไม้สลักลายสวยงาม''' เมื่อเดินต่อมาอีกหน่อยจะเห็นซุ้มประตูแห่งนี้ ระหว่างที่เดินถึงจุดนี้อยู่ๆ ก็มีฝนตกลงมา ทั้งๆ ที่ฟ้ายังสว่างสดใสทำให้เราต้องรีบเดินไปยังวิหารพระแก้วมรกต
 
'''หอพระแก้วมรกต''' เป็นอาคารที่สร้างด้วยไม้ ภายนอกประดับด้วยไม้แกะสลักสวยงามมากผนังเป็นไม้เปิดช่องกระจกหลายๆ ช่อง บานกระจกกว้างประมาณ 4 นิ้ว มีลวดลายดอกไม้สวยงาม
 
'''หอพระแก้วมรกต''' เมื่อถ่ายภาพส่วนตรงกลางของอาคารรู้สึกได้ถึงศิลปะแบบจีนผสมอยู่ หอพระแก้วมรกตนี้สร้างขึ้นโดยมุ่งหวังเป็นสถานที่เก็บรักษาพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าต่างๆ ที่มีผู้นำมาถวาย การก่อสร้างเน้นให้มีความมั่นคงแข็งแรง และไม่ต้องเกรงกลัวโจรขโมยจะมาขโมยสิ่งล้ำค่าต่างๆ
 
'''พระแก้วมรกตและพระพุทธรูปสำคัญ''' ในวิหารพระแก้วมรกตแห่งนี้ ได้มีการจัดทำโต๊ะหมู่เรียงลำดับความสำคัญของพระพุทธรูปที่มีผู้นำมาถวาย โดยเริ่มจากพระแก้วมรกตทำจากแก้วสีเขียวมรกต พระแก้วบุษราคัม ทำด้วยแก้วมณีสีเหลืองสดใส มีพระพุทธรูปทองคำหน้าพระเพลา ๗ นิ้ว หนัก ๒๗๓ บาท
 
'''ทุ่งนาเชิงดอยบุษราคัม''' หลังจากเดินถึงหอพระแก้วมรกตแล้วด้วยการที่มีฝนตกอยู่บ้าง หยุดบ้างสลับกันอยู่ตลอดเวลา ทีมงานทัวร์ออนไทยซึ่งยังมีสถานที่ที่ต้องเดินทางไปต่อจึงได้หยุดการเยี่ยมชมศาสนสถานวัดอนาลโยทิพยารามไว้เพียงเท่านี้ สำหรับวัดอนาลโยยังมีสถานที่สำคัญๆ อีกหลายแห่ง เรียกชื่อว่าพระพุทธอุทยานเขาตรีเพชร แบ่งออกเป็น ๙ เขต ได้แก่
 
๑. อุทยานภูเขาคิชฌกูฏ เนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่
 
๒.อุทยานเวฬุวนาราม เนื้อที่ประมาณ ๑๔๐ ไร่
 
๓.อุทยานปฐมเทศนา เนื้อที่ประมาณ ๑๒๖ ไร่
 
๔.อุทยานที่ประสูติ เนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่
 
๕.อุทยานที่ตรัสรู้ เนื้อที่ประมาณ ๕๗ ไร่
 
๖.อุทยานที่ปรินิพาน เนื้อที่ประมาณ ๑๔๙ ไร่
 
๗.อุทยานสวนอัมพวัน เนื้อที่ประมาณ ๑๑๐ ไร่
 
๘.อุทยานลัฏฐิวัน เนื้อที่ประมาณ ๑๘๗ ไร่
 
๙.อุทยานเชตวนาราม เนื้อที่ประมาณ ๑๐๖ ไร่
 
<br />
[[หมวดหมู่:วัดในจังหวัดพะเยา]]
{{โครงวัดไทย}}
<br />