ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tomm yamm (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 60:
'''เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์''' ({{lang-en|Major Cineplex}}) เป็นแบรนด์เรือธงของธุรกิจโรงภาพยนตร์ เปิดให้บริการครั้งแรกที่สาขาปิ่นเกล้าเมื่อ พ.ศ. 2538 โดยสร้างบนพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าเวลโก้<ref>[http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=3038 พิสูจน์ฝีมือ "วิชา พูลวรลักษณ์" ธุรกิจโรงหนังไฮเทคยังรุ่ง?]</ref> และมีสาขาเรือธงคือสาขารัชโยธิน ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทด้วย มีสาขาในประเทศไทย 149 สาขา<ref>[https://siamrath.co.th/n/49969 นาคี 2 รอบปฐมทัศน์!โรงแทบแตก ผวจ.หนองคาย เปิดเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกิจกรรม Meet & Greet กับ เคน ภูภูมิ]</ref> ต่างประเทศ 6 สาขา
==== อีจีวี ====
'''เอ็นเตอร์เทน โกลเดน วิลเลจ''' หรือ '''อีจีวี''' ({{lang-en|Entertain Golden Village: EGV}}) เป็นเครือธุรกิจ[[โรงภาพยนตร์]]แห่งหนึ่งของ[[ประเทศไทย]] เดิมดำเนินการโดยบริษัท อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเริ่มจากการลงทุนจากต่างชาติและคนไทย โดยนายวิชัย พูลวรลักษณ์ และพี่น้องในตระกูลพูลวรลักษณ์ ร่วมกับ กลุ่มโกลเด้นฮาร์เวสต์จากฮ่องกง และ วิลเลจโรดโชว์จากออสเตรเลีย ซึ่งใช้ชื่อทางการค้าในครั้งแรกว่า Entertain Golden Village International (EGV) เปิดทำการสาขาแรกที่ห้างสรรพสินค้า[[ซีคอนบางแค|ฟิวเจอร์พาร์ค บางแค]] เมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันเป็นศูนย์การค้า [[ซีคอนบางแค]] โดยใช้ชื่อว่า EGV บางแค 10 มีทั้งหมด 10 โรง และเป็นสาขาเรือธง ของแบรนด์ อีจีวี ด้วย
 
อีจีวี เป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในประเทศไทยที่เป็นระบบมัลติเพล็กซ์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบโรงภาพยนตร์ในประเทศไทยจากระบบโรงเดี่ยว หรือ Stand Alone มาเป็นโรงขนาดเล็กมีหลายโรงและเสริมด้วยระบบเสียงที่เป็น[[ดิจิตอล]] ตั้งอยู่ภายใน[[ห้างสรรพสินค้า]] มีระบบการขายตั๋ว จองตั๋วและเลือกที่นั่งด้วย[[คอมพิวเตอร์]] โดยอีจีวีเป็นธุรกิจโรงภาพยนตร์แห่งแรกที่ริเริ่มการขายบัตรชมภาพยนตร์ผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ หรือเอทีเอ็ม<ref>[http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4150 EGV eCinema]</ref> จากนั้นในต้นปี พ.ศ. 2540 อีจีวีก็ได้เปิดสาขาในต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกที่เป็นโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และดำเนินการถอนทุน เพื่อถอนตัวออกจากตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการ