ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แรงหนีศูนย์กลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
AcademicArticle (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
หากนำหินผูกกับเชือก แล้วแกว่งเชือกนั้นเป็นวงกลมในแนวราบ แรงจริงที่กระทำกับหินในแนวราบคือแรงดึงของเชือก (ส่วนแรงโน้มถ่วงนั้นกระทำในแนวดิ่ง)
 
ใน[[Inertial frame of reference|กรอบอ้างอิงเฉื่อย]]นั้น หากไม่มีแรงของเชือกกระทำกับหิน หินย่อมเดินทางต่อไปเป็นเส้นตรง ซึ่งเป็นไปตามกฎข้อแรกของกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ดังนั้นหากจะอธิบายการเคลื่อนที่เป็นวงกลมของหิน จะต้องมี[[แรงสู่ศูนย์กลาง]] (centripetal force) จากเส้นเชือก มากระทำกับหินอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่นำแรงนี้ออก (เช่น เส้นเชือกขาด) หินย่อมเดินทางต่อไปเป็นเส้นตรงตามแนวราบ (และถูกแรงโน้มถ่วงในแนวดิ่งกระทำ จนตกลงสู่พื้น ทำให้การเคลื่อนที่ตามแนวราบสิ้นสุดลง) ดังนั้นการมองระบบด้วยกรอบอ้างอิงเฉื่อยเช่นนี้ จะทำให้สามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของหินได้ด้วยแรงจริงตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน โดยไม่ต้องอาศัยแรงเทียมอย่างแรงหนีศูนย์กลางมาอธิบายแต่อย่างใด
 
แต่หากมองในกรอบอ้างอิงที่กำลังหมุนและเคลื่อนที่ไปพร้อมกันกับหิน เช่น ผู้สังเกตจินตนาการว่าตนเป็นคนที่กำลังนั่งอยู่บนหิน จะถือเสมือนว่า หินนั้นอยู่นิ่งกับที่ และมีแรงดึงจากเชือกมาดึงหิน ดังนั้นผู้สังเกตที่อยู่ในกรอบอ้างอิงนี้จะพบว่า ถ้ามีแรงดึงจากเชือกเป็นแรงเดียวที่กระทำกับหิน หินจะต้องเคลื่อนที่เข้าสู่จุดศูนย์กลางตามแรงดึงของเชือก ดังนั้นจึงต้องสมมติแรงหนีศูนย์กลางขึ้นมาเป็นแรงเทียม กระทำในทิศตรงข้ามกับแรงจริง เพื่อให้กฎของนิวตันสามารถเป็นจริงขึ้นได้ ในกรอบอ้างอิงที่กำลังหมุนอยู่นี้