ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอสวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 17:
| คำขวัญ = พระธาตุเก่าแก่ กาแฟเลิศล้ำ ระกำหวานดี<br>สตรีสวยสด สับปะรดหวานกรอบ เที่ยวรอบหมู่เกาะสวี
}}
'''อำเภอสวี''' [—สะ-หฺวี]<ref>ราชบัณฑิตยสถาน. '''อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.''' พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.</ref> เป็น[[อำเภอ]]หนึ่งใน[[จังหวัดชุมพร]] อำเภอสวีเป็นเมืองเก่าแก่มาตั้งแต่สมันโบราณเมืองหนึ่งของจังหวัดชุมพร ตามประวัติสาสตร์ อำเภอนี้มีชื่อเรียกแต่เดิมว่า “เมืองฉวี” แล้วเพี้ยนมาเป็น “สวี” ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย เมืองสวีมีกำหนดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ใครเป็นคนสร้าง ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดในประวัติศาสตร์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2357 ปรากฏว่าได้มีเมืองสวีแล้ว โดยปรากฏในประวัติศาสตร์ว่า สมณทูตของไทยจะไปลังกา แต่เรือแตกก็เปลี่ยนเป็นเดินทางบก และได้เดินทางจากเมืองชุมพรผ่านเมืองสวี แต่สถานที่ตั้งตัวเมืองเดิมอยู่ที่ใดไม่มีหลักฐานยืนยัน ประมาณปี พ.ศ. 2449 ซึ่งเป็นปีที่จัดการหัวเมืองใหม่ เมืองสวีได้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสวี แต่จะตั้งอยู่ริมแม่น้ำสวีตอนใดก็ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจนเช่นเดียวกัน ปัจจุบันพื้นที่อำเภอสวีส่วนใหญ่ อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตจากการประมง และมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง
 
== ประวัติศาสตร์  ==
บรรทัด 34:
  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ทางราชการจัดระบบการปกครองเป็นมณฑล โดยมีข้าหลวงสมุหเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชา ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ ๕]] โปรดเกล้า ฯ ให้ยุบเมืองสวีลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองหลังสวนแล้วให้รวมหัวเมืองคือ ๑ [[จังหวัดชุมพร|เมืองชุมพร]] ๒ เมืองหลังสวน ๓ [[อำเภอไชยา|เมืองไชยา]] ๔ [[เมืองกาญจนดิษฐ์]] รวม ๔ เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลเรียกชื่อว่า มณฑลชุมพร ตั้งที่ทำการศาลาว่าการมณฑลชุมพร ณ ที่ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมือง เมืองชุมพร แต่งตั้งพระยารัตนเศรษฐี (ตอซิมกอง) ผู้ว่าราชการเมืองระนองมาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร
 
     ต่อมาในปีพ.ศ. 2450 (ร.ศ.116) เพิ่งจะมีหลักฐานปรากฏชัดว่า เมื่อได้จัดการปกครองหัวเมืองใหม่ตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ ร.ศ.116 แล้ว เมืองสวีได้จัดระเบียบใหม่ และมีชื่อว่า “อำเภอสวี” เมื่อตั้งเป็นอำเภอสวีแล้ว ในชั้นแรกได้ใช้บ้านพักของนายรื่น ทองคำ ซึ่งเรียกว่า “ท่านรักษาเมือง” ตั้งอยู่ริมคลองสวี ในหมู่ที่5 ตำบลนาโพธิ์ เป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราว ได้เปิดที่ทำการเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2440 มีนายแดง ธะนะไชย (หลวงเสวีวรราช) เป็นนายอำเภอคนแรก ตั้งที่ทำการอยู่ที่นั่นได้ครึ่งปีจึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ตำบลปากแพรก ใช้บ้านพักของนายทองชุ่ม กำนันตำบลปากแพรกเป็นที่ว่าการอำเภอ อยู่ได้ประมาณปีเศษจึงได้ทำการปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอสวีขึ้นที่ริมแม่น้ำสวี ในตำบลสวี จนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2462 ที่ว่าการชำรุดหักพังจนถึงทำงานไม่ได้ จึงได้ขอบ้านพักนายฮก บุญยสมบัติ คหบดี เป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราว นายแถว สมิโตบล (หลวงรักษ์นรกิจ) ซึ่งเป็นนายอำเภออยู่ในขณะนั้น ได้จัดสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ในหมู่ที่5 ตำบลนาโพธิ์ ได้ทำพิธีเปิดที่ว่าการอำเภอเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2462 จนกระทั่งถึงวันที่ 24 มกราคม 2511 ที่ว่าการอำเภอได้ถูกเพลิงไหม้ กรมการปกครองจึงได้อนุมัติงบประมาณพิเศษให้ก่อสร้างใหม่และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2512 ใช้ปฏิบัติราชการจนถึงถึง พ.ศ. 2544 เป็นระยะเวลา 32 ปี อาคารที่ว่าการอำเภอสวีก็ได้ชำรุดทรุดโทรมตามสภาพการใช้งาน กรมการปกครอง ได้อนุมิติงบประมาณให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ หลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยได้ย้ายที่ว่าการอำเภอสวีมาปฎิบัติสวีมาปฏิบัติงานที่ว่าการอำเภอ สวี (หลังใหม่) ตั้งอยู่ที่บ้านดอนรักษ์ หมู่ที่ 4 ตำบลสวี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จนกระทั่งถึง ปัจจุบัน
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==