ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วังบูรพา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
</ref>
 
ในยุครุ่งเรือง วังบูรพามีโรงภาพยนตร์ถึง 3 แห่ง ได้แก่ คิงส์, ควีนส์ และแกรนด์ ซึ่งฉายภาพยนตร์ที่ไม่ซ้ำกัน จึงไม่แย่งผู้ชมกัน โดยคิงส์ จะฉาย[[ภาพยนตร์จีน]], ภาพยนตร์ฮ่องกงของ[[ชอว์บราเดอร์สสตูดิโอ]] และภาพยนตร์ฮอลลีวูดของ[[ยูไนเต็ดอาร์ทติสทส์]]และ[[ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์]], ควีนส์ จะขึ้นชื่อในเรื่องของการฉาย[[ภาพยนตร์อินเดีย]] และภาพยนตร์ฮอลลีวูดของ[[โคลัมเบียพิคเจอร์ส]] ขณะที่แกรนด์จะเน้นไปที่[[ภาพยนตร์ไทย]] และภาพยนตร์ฮอลลีวูดของ[[ยูไนเต็ดอาร์ทติสทส์]]และ[[ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์]] ซึ่งนั่นยังไม่นับ[[ศาลาเฉลิมกรุง]] อีกหนึ่งโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันอีกด้วย อีกทั้งยังมีร้านอาหาร, [[ร้านกาแฟ]], ร้านถ่ายรูป, ร้านตัดเสื้อต่าง ๆ มากมาย โดยพื้นที่วังบูรพายังเป็นที่ตั้งของตลาดมิ่งเมือง ที่เป็นแหล่งรวมของร้านตัดเสื้อ โดยเฉพาะร้านตัดเสื้อผู้หญิง ซึ่งนับว่าอยู่ในทำเลที่ไม่ไกลไปจากย่านพาหุรัด ซึ่งเป็นแหล่งค้าขายผ้าแหล่งใหญ่ โดยกล่าวกันว่าร้านตัดเสื้อที่นี่ ลูกค้าสามารถสั่งตัดแล้วรออีกราว 1–2 ชั่วโมง ก็ได้รับของแล้ว นับว่ารวดเร็วมาก รวมถึงเป็นที่ตั้งของ[[ห้างเซ็นทรัล]] สาขาวังบูรพา ซึ่งเป็นกิจการของกลุ่มเซ็นทรัล อีกทั้งวังบูรพายังเป็นท่ารถโดยสาร คล้ายกับ[[สถานีขนส่งหมอชิต]]ในปัจจุบัน และยังเป็นทางผ่านของ[[รถราง]] พาหนะที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้นด้วย <ref name=โก๋/>
[[file:2016 Bangkok, Dystrykt Phra Nakhon, Kładka dla pieszych na skrzyżowaniu.jpg|thumb|left|250px|ย่านวังบูรพาด้านถนนตรีเพชร ตัดกับถนนมหาไชย (แยกบูรพา)]]
นอกจากนี้แล้ว กลุ่มวัยรุ่นคนหนุ่มสาวที่รวมตัวกันอยู่ที่วังบูรพา ได้รับการขนานนามว่า "โก๋ หลังวัง" อันหมายถึง วัยรุ่นที่แต่งตัวตามสมัยนิยมในเวลานั้น หากเป็นวัยรุ่นชายจะแต่งตัวโดยสวมเสื้อรัดรูปลายดอก แขนทรงกระบอก และหวีผมให้เป็นทรงสูงและม้วนที่ด้านบน และไว้จอน เรียกกันว่า "ออร์เลน" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "ออลอน" อันเป็นชื่อของเส้นใยสังเคราะห์ที่ใช้ตัดเสื้อในเวลานั้น และออกเสียงในภาษาไทยคล้ายกับคำว่า[[จิ้งเหลน]] ถ้าหากเป็นวัยรุ่นหญิงจะสวมกระโปรงบาน แต่งหน้าอ่อน ๆ มีผ้าคาดผม และที่เข็ดขัดจะเหน็บผ้าเช็ดหน้าเอาไว้ ในส่วนของพฤติกรรมจะชื่นชอบในการฟังเพลงสากลตะวันตก เช่น [[ร็อกแอนด์โรล]], คลั่งไคล้ดารานักร้องชาวต่างประเทศ เช่น [[เอลวิส เพรสลีย์]], [[คลิฟฟ์ ริชาร์ด]] และ[[เจมส์ ดีน]] เป็นต้น เนื่องจากที่ชุมนุมของวัยรุ่นกลุ่มนี้ คือ พื้นที่บริเวณด้านหลังของสถานที่ตั้งวังบูรพาภิรมย์ <ref>{{cite web|url=https://guru.sanook.com/12212/|title=จากจิ๊กกะโล่ถึงโก๋?|date=2013-11-26|work=[[สนุกดอตคอม]]}}</ref><ref name=โก๋/><ref name=วัง/>
 
วังบูรพา เริ่มถดถอยความนิยมลงไปราว พ.ศ. 2508 หลังการเกิดขึ้นของ[[สยามสแควร์]] และ[[สี่แยกราชประสงค์|ศูนย์การค้าราชประสงค์]] ที่ได้รับความนิยมขึ้นมาแทน ตลาดมิ่งเมืองที่เคยคึกคัก {{cn-span|ก็ได้มีมติรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2501 ให้รื้อถอน และได้รื้อถอนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2521}}<ref name=วัง/> ขณะที่โรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ก็ทยอยปิดตัวลง โดยแห่งสุดท้ายที่ปิดกิจการคือ ควีนส์ ซึ่งปิดตัวลงเมื่อปี พ.ศ. 2533 หลังจากแบกรับความขาดทุนไม่ไหว โดยภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ฉาย คือ ''[[ฉลุย โครงการ 2]]''<ref name=โก๋/>
 
ต่อมา สถานที่เดิมที่เคยเป็นที่ตั้งของวังบูรพาภิรมย์ ได้เปลี่ยนมาเป็นห้าง[[เมอร์รี่คิงส์]] สาขาวังบูรพา อยู่ระยะหนึ่ง หลังจากห้างเมอร์รี่คิงส์ปิดตัวลง ได้เปลี่ยนมาเป็นเมก้า พลาซ่า สะพานเหล็ก เช่นในปัจจุบัน และที่ตั้งเดิมของตลาดมิ่งเมือง ก็ได้กลายมาเป็น[[ดิโอลด์สยามพลาซ่า]] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นการรื้อฟื้นความรุ่งเรืองของย่านวังบูรพาในอดีต