ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Amornneverdie (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 80:
|date=14 พฤษภาคม 2557
|accessdate=17 พฤษภาคม 2557}}</ref>
ปีพ.ศ. 2516 ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้เป็นตัวแทนของนักเรียนในสภานักเรียนโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม  ในช่วงเดือนตุลาคม เกิดการเคลื่อนไหวของขบวนการนักเรียน นักศึกษา เรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนตัวได้เข้าร่วมในการชุมนุม ในช่วงวันที่ 14-16 ตุลาคม พ.ศ. 2516
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้ย้ายมาศึกษาที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร และได้เข้าร่วมทำกิจกรรมกับศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย(ศรท.) ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตึกสันทนาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทำกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมให้เยาวชนสนใจในปัญหาสิทธิเสรีภาพและระบอบประชาธิปไตย รวมถึงการมีส่วนร่วมของนักเรียนในกิจกรรมของโรงเรียนในขอบข่ายทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันศูนย์การนักเรียนก็ได้ทำงานร่วมกับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(ศนท.) ทำกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ประชาธิปไตย ให้กับประชาชนผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร ในขอบเขตทั่วประเทศ
ปี พ.ศ. 2018 ได้รับการคัดเลือกจากตัวแทนนักเรียนทั่วประเทศให้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีส่วนนำพาศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย ทำกิจกรรมอย่างเข้มข้น และมีบทบาทอย่างสูงในการสร้างและจัดตั้งนักเรียนในระดับมัธยมปลายเพื่อไปเป็นผู้ปฏิบัติงาน ในองค์กร ชมรม กลุ่ม สภา และองค์การบริหาร ในมหาวิทยาลัยต่างๆ
ปี พ.ศ. 2519 สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่รักประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศูนย์กลางนักเรียนเป็นองค์กรแนวร่วม) กับฝ่ายนิยมระบบเผด็จการขวาจัด เริ่มรุนแรงมากขึ้น ฝ่ายนิยมขวาจัดมีการจัดตั้งกลุ่มกระทิงแดง กลุ่มนวพล กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ชมรมวิทยุเสรี ฯลฯ ออกมาคัดค้าน ต่อต้าน รวมถึงการคุกคามและทำร้ายในบางกรณีมีการเข่นฆ่านักศึกษา ประชาชน ชาวไร่ชาวนา รวมถึงผู้นำกรรมกร โดยมีการยัดเยียดข้อกล่าวหาว่าขบวนการของนักเรียนนิสิตนักศึกษาถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์ และต่างชาติครอบงำ กลุ่มฝ่ายขวาได้ทำการปลุกระดม มวลชน สร้างข้อมูลเท็จ ให้ร้ายป้ายสี สร้างความเกลียดชัง อย่างรุนแรง ถึงขั้นเสนอว่า จำเป็นต้องหยุดยั้งขบวนการนักศึกษาทุกรูปแบบ โดยให้ พระกิตติวุฒโฑ ซึ่งเป็นแกนหลักในกลุ่มนวพล สร้างวาทกรรมและวิธีคิดว่าการฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป เสมือนหนึ่งการฆ่าปลาเพื่อใส่บาตร ให้พระภิกษุสงฆ์
 
การคุกคามฝ่ายนักศึกษาเกิดขึ้นอย่างหนักใน พ.ศ. 2519 ตั้งแต่ต้นปี การปฏิบัติการดังกล่าวกระทำจนกระทั่งแน่ใจได้ว่า ขบวนการอ่อนกำลังลงมากแล้ว จึงได้มีการนำเอาตัวจอมพลประภาส จารุเสถียร เข้ามาสู่ประเทศเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2519 ในข้ออ้างของจอมพลประภาสว่า จะเข้ามารักษาตา ฝ่ายนักศึกษาได้เรียกชุมนุมประชาชน เพื่อเรียกร้องให้นำตัวจอมพลประภาสมาลงโทษ ในการประท้วงครั้งนี้ กลุ่มอันธพาลการเมืองก็ก่อกวนเช่นเดิม ด้วยการขว้างระเบิดใส่ที่ชุมนุมของฝ่ายนักศึกษา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บอีก 38 คน
 
แต่ปรากฏว่าเหตุการณ์นี้ กลุ่มฝ่ายขวายังไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะก่อการรัฐประหารได้ จึงต้องผลักดันให้จอมพลประภาสเดินทางออกนอกประเทศไปก่อน ในที่สุดจอมพลประภาสยินยอมเดินทางออกไปยังกรุงไทเปอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม โดยก่อนออกเดินทาง ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อีกด้วย
บรรทัด 204:
การได้นายอานันท์ ปันยารชุน มาเป็นนายกรัฐมนตรีได้คลายความกังวลใจ ให้กับพวกเราระดับหนึ่ง เนื่องจากนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นอดีตข้าราชการ เป็นนักเทคโนแครต ที่มีประสบการณ์ คงไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจทหาร  100% 
 
จนกระทั้งกระทั่งมีการประกาศการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ 2535  โดยบรรยากาศในช่วงการเลือกตั้ง ได้มีกระแส การเรียกร้องจากประชาชน ต้องการนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งทุกพรรคต่างสนับสนุน
 
โดยก่อนการเลือกตั้ง ฝ่ายทหารได้มีการสนับสนุน และดึงนักการเมือง จากหลายพรรคมารวมกัน ในนามพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งเป็นการปูทางสืบทอดอำนาจ ของ รสช. ขึ้น