ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำแยงซี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ชื่อแม่น้ำแยงซีเกียงที่คนไทยเรียกกันนั้น เป็นชื่อที่ตกทอดมาจากแม่น้ำหยางจื่อเจียง (อักษรจีนตัวเต็ม: 揚子江;อักษรจีนตัวย่อ: 扬子江; พิงอิน:Yángzǐ Jiāng) ) ซึ่งเริ่มเรียกในสมัย[[ราชวงศ์สุย]]. ชื่อแม่น้ำหยางจื่อเจียงถูกเรียกตามเรือบรรทุกสินค้าในสมัยก่อนจากเมืองหยางจื่อจิน (อักษรจีน:扬子津, ความหมายว่า ข้ามหยางจึ) ในสมัย[[ราชวงศ์หมิง]] ตัวเขียนของแม่น้ำหยางจึจินบางครั้งเขียนเป็น洋子 (พินอิน: Yáng Zĭ) เนื่องจากกลุ่มแรกๆที่ได้ยินชื่อแม่น้ำหยางจึจินคือกลุ่ม[[มิชชันนารี]]และพ่อค้า ชื่อแม่น้ำนี้จึงถูกเรียกแทนแม่น้ำทั้งสาย ในเวลาต่อมาชื่อของแม่น้ำหยางจื่อเจียงได้รับการพิจารณาว่าเป็นชื่อที่เกี่ยวกับ[[ประวัติศาสตร์]]และ[[วรรณคดี]]ของประเทศจีน ชื่อใหม่ของแม่น้ำหยางจื่อเจียงคือ แม่น้ำฉางเจียง (อักษรจีนตัวเต็ม:長江;อักษรจีนตัวย่อ:长江; พินอิน: Cháng Jiāng) ซึ่งมีความหมายว่า แม่น้ำสายยาว (Long River) ซึ่ง[[ชาวตะวันตก]]ก็เรียกเช่นเดียวกันนี้ในบางครั้ง
 
แม่น้ำแยงซีถูกเรียกต่างชื่อกันไปตามเส้นทางของลำน้ำเช่นเดียวกับแม่น้ำหลายๆสาย เช่น ต้นทางของแม่น้ำแยงซีถูกเรียกโดย[[ชาวทิเบต]]ว่า ตางชู (ตัวอักษรจีน:当曲, ความหมายว่า [[บึง]]แม่น้ำหรือ [[หนอง]]แม่น้ำ) ตามทางของแม่น้ำแยงซีถูกเรียกว่า แม่น้ำถัวทัว (อักษรจีน: 沱沱河) ลาดลงมาอีกเรียกว่า แม่น้ำถงเทียน (อักษรจีน: 通天河, ให้ความหมายทาง[[วรรณกรรม]]ว่า ผ่านแม่น้ำ[[สวรรค์]]) นอกจากนี้แล้วแม่น้ำแยงซียังถูกเรียกว่า แม่น้ำจินชา (อักษรจีน: 金沙江; พินอิน: Jīnshā Jiāng, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำหาดทรายทอง) จากเส้นทางน้ำไหลผ่านช่องแคบระหว่าง[[เทือกเขา]]ต่างๆสู่ [[แม่น้ำแม่กลอง|แม่น้ำแม่กอง]]และ [[แม่น้ำสาละวิน]] ก่อนที่จะไหลผ่านเข้าสู่ที่ราบลุ่มเสฉวน หรือ ชิชวน (อักษรจีน: 四川; พินอิน: Sì Chuān) ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันตกของจีน
ชาวจีนสมัยก่อนเรียกแม่น้ำแยงซีเพียงสั้นๆว่า เจียง (อักษรจีน: 江; พินอิน: Jiāng) หรือ ต้าเจียง (อักษรจีน: 大江; พินอิน: Dà Jiāng, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำใหญ่) ซึ่งต่อมาชาวจีนเรียกแทนแม่น้ำว่า เจียง ชาวทิเบตเรียกแม่น้ำว่า บีร์ชู (ภาษาทิเบต: འབྲི་ཆུ་; วายลี่: 'bri chu, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำแม่วัวป่า) แม่น้ำแยงซียังถูกเรียกว่าเป็นแม่น้ำสายทองคำ อีกด้วย