ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันเข้าพรรษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8005382 สร้างโดย 2001:44C8:4445:DEDD:1:2:26EB:F14 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{มุมมองสากล}}
{{พุทธศาสนา}}
{{ความหมายอื่น|วันสำคัญทางพุทธศาสนา|เข้าพรรษาความหมายอื่น|เข้าพรรษา}}
[[ไฟล์:Vassa inWat Up Mung.jpg|170px|thumb|วันเข้าพรรษา หรือ การเข้าพรรษา เป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่ง[[พุทธศาสนิกชน]]ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อละเว้น[[อกุศล|สิ่งไม่ดี]]เพื่อพยายาม[[กุศล|ประกอบความดี]]ในช่วงนี้อีกด้วย]]
 
'''วันเข้าพรรษา ''' ([[บาลี]]: {{lang-pi|วสฺส}}, [[สันสกฤต]]: {{lang-sa|วรฺษ}}, {{lang-en|Vassa}}, [[เขมร]]: វស្សា, [[พม่า]]: ဝါဆို) เป็น[[วันสำคัญในพุทธศาสนา]]วันหนึ่งที่[[พระสงฆ์]][[เถรวาท]]จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา 3 เดือนตามที่[[พระธรรมวินัย]]บัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือภาษาปากว่า '''จำพรรษา''' ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง พระสงฆ์จะไม่จำพรรษาไม่ได้ เนื่องจากรูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฏตามพระวินัย<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 '''วัสสูปนายิกขันธกะ'''. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52</ref> การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ[[วันออกพรรษา]]
 
วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลหวังหวังหวังเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางศาสนาพุทธที่สำคัญเทศกาลหนึ่งใน[[ประเทศไทย]] โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วง[[ฤดูฝน]] โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจาก[[วันอาสาฬหบูชา]] (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาว[[ชาวไทย]]ทั้ง[[พระมหากษัตริย์]]และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่[[สมัยสุโขทัย]]
 
สาเหตุที่[[พระพุทธเจ้า]]ทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระ[[ธรรม]][[วินัย]]จากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
 
ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญ[[ใส่บาตร]] ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถืออ้อยอ้อยอ้อย[[บรรพชา]][[อุปสมบท]]เป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
 
นอกจากนี้ ในปี [[พ.ศ. 2551]] รัฐบาลได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/142/13.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วันงดดื่มสุราแหงชาติ], เล่ม ๑๒๕, ตอนพิเศษ ๑๔๒ ง, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑, หน้า ๑๓</ref> โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่ม[[แอลกอฮอล์]]ทั่วราชอาณาจักร<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/095/6.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์], เล่ม ๑๒๖, ตอนพิเศษ ๙๕ ง, ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒, หน้า ๖</ref> ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย<ref>[http://www.stopdrink.com/index.php โครงการรณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์]. เว็บไซต์ stopdrink. เรียกข้อมูลเมื่อ 22-6-52</ref>
 
== ความสำคัญ ==
บรรทัด 18:
# ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้[[ภิกษุ]]สงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
# หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
# เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติ[[ปฏิบัติธรรม]]สำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียน[[พระธรรมวินัย]]ตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง [[วันออกพรรษา]]
# เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับ[[กุลบุตร]]ผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่[[พระพุทธศาสนา]]ต่อไป
# เพื่อให้[[พุทธศาสนิกชน]] ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวาย[[จตุปัจจัย]]ไทยธรรม งดเว้น[[อบายมุข]] และมีโอกาสได้ฟัง[[พระธรรมเทศนา]]ตลอดเวลาเข้าพรรษา
 
== มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าอนุญาตการจำพรรษาแก่พระสงฆ์ ==
[[ไฟล์:Buddhist monks in Phetchabun.jpg|170px|thumb|left|ในสมัยก่อน การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในฤดูฝน มีความยากลำบาก และเป็นช่วงฤดูทำ[[ไร่]][[นา]]ของชาวบ้าน [[พระพุทธเจ้า]]จึงวางระเบียบให้พระสงฆ์หยุดการเดินทางเพื่อประจำอยู่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่งในช่วง[[ฤดูฝน]]]]
 
ในสมัยต้น[[พุทธกาล]] พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงวางระเบียบเรื่องการเข้าพรรษาไว้ แต่การเข้าพรรษานั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกปฏิบัติกันมาโดยปกติเนื่องด้วยพุทธจริยาวัตรในอันที่จะไม่ออกไปจาริกตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะการคมนาคมมีความลำบาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ในช่วงต้นพุทธกาลมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นพระอริยะบุคคล จึงทราบดีว่าสิ่งใดที่พระสงฆ์ควรหรือไม่ควรกระทำ
 
ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มากขึ้น และด้วยพระพุทธจริยาที่[[พระพุทธเจ้า]]จะไม่ทรงบัญญัติพระวินัยล่วงหน้า ทำให้พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรงบัญญัติเรื่องให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษาไว้ด้วย จึงเกิดเหตุการณ์กลุ่มพระสงฆ์[[ฉัพพัคคีย์]]พากันออกเดินทางเผยแผ่[[พระพุทธศาสนา]]ในที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวก[[พระสงฆ์]]ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่[[นักบวช]]ใน[[ศาสนา]]อื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่[[พระภิกษุสงฆ์]][[จาริก]]ไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อ[[พระพุทธเจ้า]]ทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้[[ภิกษุ]]ประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือนดังกล่าว<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 '''วัสสูปนายิกขันธกะ''' - เรื่องภิกษุหลายรูป. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52</ref>
 
== การเข้าพรรษาของพระสงฆ์ตามพระวินัยปิฎก ==
บรรทัด 37:
 
=== ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ ===
 
การเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท <ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 '''วัสสูปนายิกขันธกะ''' - การจำพรรษา 2 อย่าง. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52</ref><ref>ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ, ''[http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1260 ปุริมพรรษา]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}'', อ้างอิงจากหน้าเว็บเมื่อ 2 กรกฎาคม 2549</ref> คือ
 
เส้น 57 ⟶ 56:
 
=== อานิสงส์การจำพรรษาของพระสงฆ์ที่จำครบพรรษา ===
 
เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หัวข้อประจำขันธกะ. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=3214&Z=3257&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 17-6-52</ref> คือ
 
เส้น 194 ⟶ 192:
การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษานี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า '''พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา'''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00090539.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๑/๒๕๔๕ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๔๕], เล่ม ๑๑๙, ตอน พิเศษ ๖๗ ง , ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๓๐</ref> ซึ่งเดิมก่อน [[พ.ศ. 2501]] เรียกเพียง '''การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเข้าพรรษา'''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2499/D/057/2067.PDF หมายกำหนดการ พระราชกุศลเข้าวรรษา ๒๔๙๙], เล่ม ๗๓, ตอน ๕๗, ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๒๐๖๗</ref> แต่หลังจากที่ทางคณะสงฆ์มีการกำหนดให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง (ก่อนหน้าวันเข้าพรรษา 1 วัน) ในปี พ.ศ. 2501 แล้ว<ref name="อาสาฬสังฆนายก">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/D/057/2169.PDF ประกาศสำนักสังฆนายก เรื่อง กำหนดพิธีอาสาฬหบูชา], เล่ม ๗๕, ตอน ๕๗, ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑, หน้า ๒๑๖๙</ref> [[สำนักพระราชวัง]]จึงได้กำหนดเพิ่มการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันอาสฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยอีกวันหนึ่ง<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/D/058/1.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๒/๒๕๐๑ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศการเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๐๑], เล่ม ๗๕, ตอน ๕๘ ง ฉบับพิเศษ, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑, หน้า ๑</ref> รวมเป็นสองวัน
 
การพระราชพิธีนี้โดยปกติมี [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหากษัตริย์ไทย]] เป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/D/060/99.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๔/๒๕๓๙ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๙], เล่ม ๑๑๔, ตอน พิเศษ ๖๑ ง, ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐, หน้า ๘๙</ref> และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/B/014/193.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๗/๑/๒๕๕๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับเปลี่ยนแปลง)], เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑๔ ข , ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑๙๓</ref> โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัดใน[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] [[วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร]] และภายใน[[พระบรมมหาราชวัง]] การสำคัญของพระราชพิธีคือการถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่[[พระพุทธปฏิมา]]และ[[พระราชาคณะ]] รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระราชาคณะ [[ฐานานุกรม]] [[เปรียญ]] ซึ่งรับอาราธานามารับ[[บิณฑบาต]]ใน[[พระบรมมหาราชวัง]]จำนวน 150 รูป ในวันเข้าพรรษาทุกปี<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00126547.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๓/๒๕๔๖ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๔๖], เล่ม ๑๒๐, ตอน พิเศษ ๗๖ ง, ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า ๗๘</ref> เป็นต้น ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ขององค์[[พระมหากษัตริย์]]ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
=== พิธีสามัญ ===
เส้น 202 ⟶ 200:
# ร่วมกิจกรรมทำเทียนพรรษาหรือหลอดไฟถวายแก่พระสงฆ์
# ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่[[ภิกษุ]][[สามเณร]]
# ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟัง[[พระธรรมเทศนา]] รักษา[[อุโบสถศีล]] ตลอดพรรษากาล
# อธิษฐานตั้งใจทำความดี หรืองดการทำชั่วอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น งดเว้น[[อบายมุข]]ต่าง ๆ เป็นต้น
 
== วันเข้าพรรษาในประเทศอื่น ๆ ==
ในปัจจุบัน มี[[พระสงฆ์]]จากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะพระสงฆ์จาก[[ประเทศไทย]] [[พม่า]] [[ศรีลังกา]] และบางส่วนของ[[ญี่ปุ่น]] จะไปทำพิธีวันเข้าพรรษาที่[[ประเทศอินเดีย]]และ[[ประเทศเนปาล]] ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น [[พุทธคยา]] เมือง[[ราชคฤห์]] [[สารนาถ]] เมือง[[กุสินารา]] สวน[[ลุมพินี]] เมือง[[กบิลพัสดุ์]] เมือง[[สาวัตถี]] และกรุง[[นิวเดลี]] เป็นต้น<ref name="จำพรรษาในอินเดีย">[http://www.komchadluek.net/detail/20120927/140984/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%28%E0%B9%92%29.html#.UfplEdKmgZZ เข้าพรรษา ณ แดนพุทธภูมิ(๒)]</ref> ขณะเดียวกันในส่วนอื่น ๆ ของ[[ประเทศอินเดีย]] ต่างก็ถือว่าวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่มต้นการถือศีลและปฏิบัติธรรมไปจนครบ 3 เดือน และกำหนดให้วันเข้าพรรษาให้เป็นวันเริ่มการทำความดีเช่นเดียวกัน<ref name="จำพรรษาในอินเดีย"/>
 
สำหรับใน[[ประเทศอินเดีย]]นั้น ไม่ได้กำหนดให้วันเข้าพรรษาและ[[วันอาสาฬหบูชา]]เป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศเหมือนกับ[[วันวิสาขบูชา]]<ref>[http://www.oknation.net/blog/mylifeandwork/2009/08/08/entry-1 เข้าพรรษา ณ แดนพุทธภูมิ]</ref> ส่วนประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันเข้าพรรษาและ[[วันอาสาฬหบูชา]]ให้เท่าเทียมกับ[[วันวิสาขบูชา]]ด้วย
เส้น 229 ⟶ 227:
{{วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย}}
{{วันหยุดราชการไทย}}
 
[[หมวดหมู่:วันสำคัญทางศาสนาพุทธ|ขเข้าพรรษา]]
{{เรียงลำดับ|ข้าพรรษา}}
[[หมวดหมู่:วันสำคัญทางศาสนาพุทธ|ขเข้าพรรษา]]
[[หมวดหมู่:วันสำคัญทางศาสนาที่นับโดยปฏิทินจันทรคติ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ]]