ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
| website = http://www.flyorientthai.com
}}
'''โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์''' ({{lang-en|Orient Thai Airlines}}) เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2538 และยกเลิกให้บริการถาวรใน ปี พ.ศ. 2561 <ref>https://www.prachachat.net/tourism/news-232802</ref>เนื่องจากถูกสั่งพักใบอนุญาตทำการบินแบบไม่มีกำหนด เดิมใช้ชื่อว่า โอเรียนท์ เอ็กซ์เพรส แอร์ โดยเปิดให้บริการเที่ยวบินเส้นทางภายในประเทศระหว่างภูมิภาค ด้วยเครื่องบินแบบโบอิง 727 จำนวน 2 ลำ บินจาก[[เชียงใหม่]]ไปยัง[[อุบลราชธานี]] [[อุดรธานี]] [[ขอนแก่น]] ฯลฯ และในปลายปี พ.ศ. 2539 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ และได้นำเข้าเครื่องบินแบบล็อกฮีต แอล-1011 ไทรสตาร์ จำนวน 2 ลำ บินจากกรุงเทพมหานครไปเชียงใหม่และ[[ภูเก็ต]] โดยแวะพักที่[[ท่าอากาศยานอู่ตะเภา]] ด้วยสาเหตุที่ประเทศไทยยังไม่เปิดเสรีการบิน น่านฟ้าผูกขาดโดย [[การบินไทย]] หลังจากนั้นสายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จึงได้งดให้บริการเที่ยวบินเส้นทางภายในประเทศชั่วคราว และหันไปเปิดให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำร่วมกับสายการบิน [[กัมพูเชีย แอร์ไลน์]] ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน และในปี พ.ศ. 2544 เมื่อประเทศไทยเปิดเสรีการบิน น่านฟ้าไม่มีการผูกขาด สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จึงได้นำเข้าเครื่องบินแบบโบอิง 747 คลาสสิก จำนวน 2 ลำ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ได้เปิดเส้นทางไปยัง[[ฮ่องกง]] และในเดือนเมษายนปีเดียวกัน ได้เปิดเส้นทางไปยัง[[โซล]] ([[ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน|อินชอน]]) ในปี พ.ศ. 2545 ได้นำเข้าเครื่องบินแบบ โบอิง 747 คลาสสิก และล็อกฮีต แอล-1011 ไทรสตาร์ มาประจำการเพิ่มเติม และได้เปิดเส้นทางเพิ่มเติมไปยัง[[กัวลาลัมเปอร์]] โดยแวะพักที่[[สิงคโปร์]] หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2546 จึงได้ก่อตั้ง [[วัน-ทู-โก]] โดย สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดสายการบินแรกของประเทศไทย ภายใต้การบริหารงานของ สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่
 
== สายการบินโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ได้ให้บริการไปยังจุดหมายดังต่อไปนี้ ==