ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังกรโกโมโด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
| range_map_width = 256px
}}
'''มังกรโคโมโด''' ({{lang-en|Komodo dragon}}; [[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Varanus komodoensis'') เป็น[[สัตว์เลื้อยคลาน]]ในอันดับ[[กิ้งก่า]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่ง มีถิ่นอาศัยอยู่บน[[เกาะโกโมโด|เกาะโคโมโด]], รินจา, [[เกาะโฟลเร็ซ|โฟลเร็ซ]] และ[[กีลีโมตัง]]ใน[[ประเทศอินโดนีเซีย]] อยู่ใน[[Varanidae|วงศ์และสกุลเดียวกับเหี้ย]] (Varanidae) จัดเป็นตะกวดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 2-3 [[เมตร]] (6.6 ถึง 9.8 [[ฟุต]]) และมีน้ำหนักประมาณ 90 [[กิโลกรัม]] (150 [[ปอนด์ (หน่วยมวล)|ปอนด์]])
 
มังกรโกโมโดมีรูปร่างหน้าตาเหมือนตัวเงินตัวทองชนิดอื่นทั่วไป แต่ทว่ามีลำตัวใหญ่และยาวกว่ามาก มีลำตัว[[สีเทา]]ออก[[ดำ]]กว่า
 
== บทนำ ==
====ประวัติ ====
[[ภาพ:Extant Monitor lizards-Megalania SIZE.png|thumb|left|ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์ (มังกรโกโมโด คือ หมายเลข 1)]]
มังกรโคโมโดเป็นที่รู้จักครั้งแรกของชาวโลก เมื่อพันตรีปีเตอร์ เอาเวินส์ ทหาร[[ชาวดัตช์]] ซึ่งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สัตววิทยาและสวนพฤกษศาสตร์ชวาที่เมืองเบยเตินซอร์ค (ปัจจุบันคือ[[โบโกร์]]) ได้ยินเรื่องราวของมันและต้องการข้อมูลของมัน ดังนั้นในปี [[ค.ศ. 1910]] เขาได้ติดต่อไปยังข้าหลวงของเกาะโฟลเร็ซ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาะโกโคโมโด ข้าหลวงซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาสมัครเล่นคนหนึ่งรับปากว่าจะหาข้อมูลมาให้
 
ต่อมาในปี [[ค.ศ. 1912]] นักบินผู้หนึ่งเกิดเครื่องยนต์ขัดข้องขณะบินผ่านเกาะโกโมโด จึงต้องนำเครื่องลงฉุกเฉินที่นั่น [[เครื่องบิน]]เสียหายแต่ตัวนักบินไม่เป็นอะไร ทว่าเมื่อเขาออกมาจากเครื่องก็ต้องตกใจ เมื่อพบว่ามีสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ หน้าตาเหมือนสัตว์ดึกดำบรรพ์รายล้อมเครื่องบิน เขารีบวิ่งหนีออกมาทันที และรอดชีวิตออกมาได้ นี่นับเป็นครั้งแรกที่ชาวยุโรปได้พบกับ[[จระเข้]]บกในตำนานของชาวพื้นเมือง ในปีเดียวกันข้าหลวงแห่งเกาะโฟลเร็ซได้ไปที่นั่น และได้รับการยืนยันเรื่องสัตว์ดังกล่าว จากนั้นข้าหลวงได้มีโอกาสยิงสัตว์ดังกล่าวได้ตัวหนึ่ง และส่งหนังยาว 2.20 เมตรของมันไปให้เอาเวินส์ และบอกว่ามันไม่ใช่จระเข้แต่ใกล้เคียงพวกเหี้ยมากกว่า จากนั้นไม่นาน ทางสวนพฤกษศาสตร์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปยังเกาะโกโมโด และสามารถจับสัตว์ดังกล่าวเป็น ๆ ได้ถึง 4 ตัว มีอยู่ตัวหนึ่งยาวถึง 3 เมตร เอาเวินส์ได้เขียนเรื่องของมันลงวารสารวิชาการ และตั้ง[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ให้มันว่า ''Varanus komodoensis'' แปลว่า "เหี้ยแห่งโกโคโมโด" แต่ด้วยขนาดอันใหญ่โตของมัน ทำให้ผู้คนเรียกมันว่า "มังกรโกโคโมโด" อย่างที่รู้จักกัน<ref>[http://dek-d.com/board/view.php?id=542027 มังกรโกโมโด ตำนานที่มีชีวิต]</ref>
 
แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับมังกรโกโคโมโดก็ยังเป็นที่รู้จักน้อยมาก เนื่องด้วยจากที่อยู่บนเกาะห่างไกลและภาวะจาก[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ในปี ค.ศ. 1926 จึงได้มีการศึกษามังกรโกโมโดอย่างจริงจังโดยคณะนักวิทยาศาสตร์และนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน โดยได้มีภาพยนตร์เกี่ยวกับวิถีชีวิตของมังกรโกโคโมโดในธรรมชาติ ภาพยนตร์ชุดนี้ได้สร้างความฮือฮาเป็นอย่างยิ่ง และในปีถัดมา มังกรโกโคโมโดที่มีชีวิต 2 ตัวก็ได้ถูกส่งไปยังทวีปยุโรป แม้จะมีรูปร่างหน้าตาน่ากลัว แต่มังกรโกโคโมโดทั้ง 2 ตัวนี้กลับมีอุปนิสัยอ่อนโยนน่ารัก<ref name="มัง">{{cite news | url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2015-01-05/18/| title=ท่องโลกกว้าง
: เจาะความลับของธรรมชาติ ตอน สีสันและลวดลาย และ ก่อกำเนิด|work=ไทยพีบีเอส |date=2015-01-05 |accessdate=2015-01-06}}</ref>
 
==== อุปนิสัย ====
[[ภาพ:Komodo dragon stalking deer.png|thumb|left|มังกรโกโมโดตามล่า[[กวางป่า]]]]
มังกรโคโมโดเป็นสัตว์ที่พบได้เฉพาะบนเกาะโกโคโมโดและหมู่เกาะใกล้เคียงเท่านั้น ไม่พบในที่อื่นใดของโลกอีก มีอุปนิสัยดุร้าย ชอบอยู่เป็นฝูง มังกรโกโคโมโดเป็น[[สัตว์กินเนื้อ]]เป็นอาหาร จะวิ่งล่าเหยื่อด้วยการซุ่มจู่โจมกัดเหยื่อด้วยฟันที่คม แต่มันจะวิ่งไล่ได้เพียงครั้งเดียว ถ้าหากมันจับเหยื่อไม่ได้ มันจะต้องหยุดนิ่งเพื่อชาร์จพลังสำหรับการวิ่งครั้งใหม่ มังกรโกโมโดเป็นสัตว์ไม่มีพิษแต่ก็เสมือนว่ามีพิษ เนื่องจากใน[[น้ำลาย]]ของมันมีเชื้อ[[แบคทีเรีย]]อยู่มากกว่าถึง 50 ชนิด เหยื่อที่ถูกกัดจะเกิดอาการ[[โลหิตเป็นพิษ]] และจะถึงแก่[[ความตาย]]ในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งบางครั้งเมื่อเหยื่อที่มังกรโคโมโดกัดและทิ้งน้ำลายไว้ใน[[แผล]] หลบหนีไป มังกรโกโมโดจะติดตามไปเพื่อรอให้เหยื่อตายก่อนจะลงมือกินอีกด้วย เหยื่อของมังกรโกโมโดตามธรรมชาตินั้น มักเป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]ขนาดใหญ่ เช่น [[กวาง]] หรือ[[วัว]][[ควาย]]ของชาวบ้าน
 
มังกรโกโมโดอาจจู่โจม[[มนุษย์]]บ้าง แต่มีไม่บ่อยนัก ซึ่งผู้ที่มันจะจู่โจมมักจะเป็นผู้ที่อ่อนแอหรือบาดเจ็บ แต่ในต้นปี [[ค.ศ. 2009]] มีรายงานว่ามังกรโกโมโดได้รุมกัดชายหนุ่มคนหนึ่งจนถึงแก่ชีวิต ขณะที่เขากำลังเก็บ[[ผลไม้]]อยู่<ref>[http://news.sanook.com/497671/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%8B%E0%B8%A7%E0%B8%A2-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/ หนุ่มอินโดสุดซวย! มังกรโกโมโดรุมกัดเสียชีวิตขณะเก็บผลไม้]</ref>
 
ในปัจจุบันนี้มีมังกรโคโมโดจัดเป็นสัตว์ที่มีสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยมีปริมาณเหลืออยู่ราว 4,000 ตัว จากสาเหตุจำนวนผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะเพิ่มขึ้น เหยื่อของมันถูกล่าจนลดน้อยลง การขยายตัวของกสิกรรมทำลายพื้นที่หากินของมัน อีกทั้งยังเป็น[[สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น|สัตว์ที่พบได้เฉพาะถิ่น]]อีกด้วย
 
==== ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ====
ด้วยความใหญ่โตและอุปนิสัยอันน่าสะพรึงกลัว ทำให้มังกรโกโมโดได้ถูกกล่าวถึงใน[[วัฒนธรรมสมัยนิยม|วัฒนธรรมร่วมสมัย]]มากมาย เช่น [[ภาพยนตร์]]สัญชาติ[[ฮอลลีวูด]]เรื่อง ''[[โคตรเหี้ยมดึกดำบรรพ์พันธุ์ล้างโลก|Komodo]]'' ในปี [[ค.ศ. 1999]]<ref>[http://www.imdb.com/title/tt0172669/ ''Komodo'' จาก[[IMDb]]]</ref>, ''[[โคโมโด้ กองทัพมังกรกลายพันธุ์|The Curse of the Komodo]]'' ในปี [[ค.ศ. 2004]]<ref>[http://www.imdb.com/title/tt0346811/ ''The Curse of the Komodo'' จาก IMDb]</ref> และ ''[[โกโมโด ปะทะ คิง คอบร้า|Komodo vs King Cobra]]'' ในปี [[ค.ศ. 2005]]<ref>[http://www.imdb.com/title/tt0455583/ ''Komodo vs King Cobra'' จาก IMDb]</ref> เป็นต้น
 
== นิเวศวิทยา ==
มังกรโคโมโดเป็นเหี้ยพันธุ์ใหญ่ที่สุดของโลก โตเต็มที่เมื่อมีอายุได้สิบห้าปี และมีอายุยืนกว่าห้าสิบปีในป่าธรรมชาติ ชาวพื้นเมืองบนเกาะโกโคโมโดเรียกมันว่า โอรา (ora) หรือจระเข้บก ส่วนบนเกาะโฟลเร็ซเรียกว่า บียาวักรักซาซา (biawak raksasa) หมายถึง เหี้ยหรือตะกวดยักษ์ <ref>http://www.komkid.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%94-komodo/
</ref> มังกรโกโคโมโดเป็นสัตว์ผู้ล่า เดิมเหยื่อของมันเกิดขึ้นเพื่อล่าช้างแคระที่บัดนี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มันก็สามารถล้มควาย กวาง แพะ หรือแม้กระทั่งลูกของมังกรโกโคโมโดด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ลูกของมังกรโกโคโมโดจึงใช้เวลาช่วงแรก ๆ ของชีวิตอยู่บนยอดของต้นไม้เพื่อไม่ให้ถูกกิน และจะป้องกันตัวด้วยการกลิ้งไปมาในมูลหรือปัสสาวะของเหยื่อ เพื่อไม่ให้ตัวที่ใหญ่กว่ากิน มังกรโกโมโดกินอาหารเดือนละครั้ง และสามารถกินได้มากถึง 3 ใน 4 ของน้ำหนักตัว<ref>http://animaldiversity.ummz.umich.edu/accounts/Varanus_komodoensis/ </ref> โดยกินด้วยการกลืนลงไปเลยโดยไม่เคี้ยว<ref name="ช่อง"/>
 
== ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของมังกรโกโคโมโดและญาติ ==
บรรพบุรุษของมังกรโคโมโดมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับไดโนเสาร์<ref>http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2423397/</ref><ref>http://www.plosone.org/article/info:doi%2F10.1371%2Fjournal.pone.0007241</ref> โดยมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 300 ล้านปีมาแล้ว (ยุคคาร์บอนิเฟอรัส) และเริ่มแยกออกจากกันเมื่อประมาณ 250 ล้านปีก่อน โดยไดโนเสาร์เริ่มมีวิวัฒนาการในการเดิน 2 ขา ส่วนมังกรโกโคโมโดยังคลาน 4 เท้า เมื่อ 100 ล้านปีก่อน ต้นตระกูลของมังกรโกโคโมโด เริ่มออกเดินทางจากเอเชียมุ่งสู่ยุโรป อเมริกาเหนือ และเดินทางมายังออสเตรเลียเมื่อ 15 ล้านปีก่อน โดยเดินทางผ่านอินโดนีเซีย เมื่อระดับนํ้าทะเลเพิ่มสูงขึ้น แผ่นดินอินโดนีเซียถูกแยกเป็นเกาะ ๆ มังกรโกโมโดจึงตกค้างอยู่ตามเกาะเหล่านั้นมาจนทุกวันนี้
<ref>http://www.mwit.ac.th/~physicslab/content_01/sutut/komodo.pdf</ref>
 
== การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการ ==
เส้น 69 ⟶ 68:
 
====การสืบพันธุ์====
ดูบทความหลักที่ ''[[การเจริญเป็นตัวอ่อนโดยไม่ต้องผสมพันธุ์|การเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์]]''
 
มังกรโคโมโดตัวผู้จะต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงตัวเมีย ในฤดูผสมพันธุ์ที่อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม การผสมพันธุ์จะเริ่มต้นที่ตัวผู้ใช้ข้างแก้มถูไปตามข้างลำตัวของตัวเมีย ตัวเมียโดยปกติแล้ว จะวางไข่ครั้งละ 20 ฟอง ใช้เวลาฟักราว 7-8 เดือน ลูกมังกรโคโมโดจะฟักเป็นตัวในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นฤดูที่มีแมลงชุกชุมมากที่สุด เนื่องจากเป็นอาหารของมังกรโคโมโดวัยอ่อน ในช่วงที่ยังเป็นวัยอ่อนซึ่งสีของลำตัวยังไม่เหมือนกับตัวเต็มวัย ส่วนมากจะใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้โดยสามารถปีนป่ายต้นไม้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากต้องหลบหนีจากมังกรโกโมโดตัวเต็มวัยที่กินมังกรโกโมโดวัยอ่อนเป็นอาหาร ซึ่งเป็นสัญชาติญาณในการกำจัดคู่แข่ง<ref name="ช่อง">[http://www.clip007.com/hourly-rerun/ch7/2016-01-25/04/ สารคดี พิษร้ายสายพันธุ์มรณะ ทางช่อง 7]</ref>
 
นอกจากนี้แล้ว ยังมีกรณีที่มังกรโคโมโดตัวเมีย 2 ตัว ที่[[สวนสัตว์เชสเตอร์]]ในเชสเตอร์ใน[[กรุงลอนดอน]] [[สหราชอาณาจักร]] ได้ออกไข่แล้วฟักออกมาเป็นตัวโดยที่ไม่ต้องมีการ[[ผสมพันธุ์]]กับตัวผู้ [[นักวิทยาศาสตร์]]เปิดเผยว่า การสืบพันธุ์โดยไม่ใช้เพศนั้น ([[การเจริญเป็นตัวอ่อนโดยไม่ต้องผสมพันธุ์|การเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์]]) เกิดขึ้นกับ[[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]]ราว 70 ชนิด เช่น [[งู]], [[ปลาฉลาม]], [[กิ้งก่า]] หรือแม้แต่[[ไก่งวง]]หรือ[[ปลากระเบน]] แต่มักถูกมองว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก การให้กำเนิดโดยไม่ใช้เพศผู้ของมังกรโกโมโดนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว<ref>[http://foosci.com/node/438 พบฉลามมีลูกโดยไม่ผสมพันธุ์]</ref><ref>[http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=393124&chapter=31 เวอร์จินเบิร์ธ !! มังกรโกโมโดสาวฟักไข่โดยไม่ใช้ตัวผู้]</ref>
 
ในกรณีของมังกรโกโมโดพบว่า ลูกมังกรโกโมโดที่เกิดจากไข่ที่เกิดจากการเกิดโดยไม่ผสมพันธุ์นั้นเป็นตัวผู้ทั้งหมด เนื่องจากมังกรโกโมโดตัวเมียมี[[โครโมโซมเพศ]] 2 ชุด ที่แตกต่างกัน คือ W และ Z ขณะที่ตัวผู้มีโครโมโซมที่เหมือนกัน 2 ชุด คือ Z และ Z ถ้าไม่มีตัวผู้จะเหลือโครโมโซม W และ Z ในตัวเมีย ในกรณีนี้ตัวเมียจะแบ่งเซลล์ไข่ของตัวเองออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมีโครโมโซม W และอีกส่วนเป็นโครโมโซม Z จากนั้นตัวเมียจะทำสำเนาตัวเองเป็นโครโมโซม W และ W กับ Z และ Z สำหรับมังกรโกโมโดโครโมโซม W และ W จะไม่ทำงาน ดังนั้นจึงมีเพียงแต่โครโมโซม Z และ Z เท่านั้น จึงทำให้ไข่ที่เกิดมาเป็นตัวผู้ทั้งหมด ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการในอดีต ที่บรรพบุรุษของมังกรโกโมโดเดินทางยังเกาะโกโมโดจากแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยังมีจำนวนประชากรที่น้อยและขาดแคลน ทำให้ต้องพัฒนาตัวเองขึ้นมาเช่นนี้