ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โขน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พี่ชายทศกัณฐ์ชื่อกุเปรัน ไม่ใช่กุเรปัน (ชื่อนี้น่าจะเป็นอิเหนา)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้[[หน้า|ใบหน้า]]จริงเช่นเดียวกับ[[ละคร]] แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทน[[ชุดเกราะ|เกราะ]] เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือ[[ลายกระจัง]]ตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัว[[ลิง]]จะเป็นลายวง[[ทักษิณาวรรต]]<ref>[http://www.cp.eng.chula.ac.th/cg/khon_web/khon_archive/costume_main.php?partid=00050100000000000000# เครื่องแต่งกายยืนเครื่องโขน]</ref> โดยสมมุติเป็น[[ขนสัตว์|ขน]]ของ[[ลิง]]หรือ[[หมี]] ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็น[[ทำนอง]]เรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้[[กาพย์ยานี]]และ[[กาพย์ฉบัง]]<ref>[http://www.snr.ac.th/elearning/orrawan-thai/page9.html บทพากย์ในการแสดงโขน]</ref> โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้<ref>[http://student.swu.ac.th/sc501010561/index.html การพากย์ การเจรจาในโขน]</ref> ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่อง[[รามเกียรติ์]]และ[[อุณรุท]] ปัจจุบัน[[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]]มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และ[[กรมศิลปากร]] มีหน้าที่ในการจัดการแสดง<ref name="คำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ">คำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, [[มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]], ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ [[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]</ref>
 
== ประวัติ ==
โขนจัดเป็น[[นาฏกรรม]]ที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า '''"โขน"''' ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงใน[[วรรณคดี|วรรณคดีไทย]]เรื่อง[[ลิลิตพระลอ]]ที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงาน[[ศพ|พระศพ]]ของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า ''"ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราว[[เทียน]]"''<ref>[http://student.swu.ac.th/hm471010167/โขน.htm การแสดงมหรสพในลิลิตพระลอ] {{ลิงก์เสีย}}</ref> โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายใน[[ภาษา]]ต่าง ๆ ดังนี้<ref>[http://art.hcu.ac.th/khon/history.html ประวัติและความเป็นมาของโขน]</ref><ref> ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโขน กรมศิลปากร]</ref>
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โขน"