ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลัยมานผู้เกรียงไกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎อิบรอฮิม ปาชา: เคาะวรรค
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 154:
พระชายาสองพระองค์ของสุลต่านสุลัยมานมีพระราชโอรสด้วยกันแปดพระองค์ และสี่พระองค์รอดมาจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1550: [[เซห์ซาด มุสตาฟา]] [[สุลต่านเซลิมที่ 2|เซลิม]] เบยซิด, และจิฮานเกร์ ในบรรดาสี่พระองค์มุสตาฟาเป็นคนเดียวเท่านั้นที่มิได้เป็นโอรสของร็อกเซลานาแต่เป็นโอรสของสุลต่านกึลบาฮาร์ (“กุหลาบแห่งฤดูใบไม้ผลิ”) และเป็นผู้มีสิทธิเหนือกว่าพระราชโอรสของร็อกเซลานาในการสืบสันตติวงศ์ ร็อกเซลานาทราบว่าถ้ามุสตาฟาได้เป็นสุลต่านพระโอรสของพระองค์ก็จะถูกสังหาร ตามธรรมเนียมในการขึ้นครองราชย์ของสุลต่านออตโตมันที่ผู้ขึ้นครองเป็นสุลต่านจะสังหารพี่น้องที่เป็นชายทุกคนโดยไม่มีการยกเว้น
 
มุสตาฟาทรงเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถกว่าบรรดาพี่น้องคนอื่นๆอื่น ๆ และได้รับการสนับสนุนโดย[[ปาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชา]]ผู้ขณะนั้นยังเป็นคนสนิทของสุลต่าน ราชทูตออสเตรียกล่าวถึงมุสตาฟาว่าในบรรดาพระราชโอรสของสุลต่านสุลัยมานแล้วมุสตาฟาก็เป็นผู้ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีและมีพระชนมายุที่เหมาะสมที่จะขึ้นครองราชย์ซึ่งขณะนั้นก็ราว 24 หรือ 25 พรรษา ราชทูตก็เปรยต่อไปว่าขออย่าให้ผู้มีความเก่งกล้าเช่นมุสตาฟามีโอกาสเข้ามาใกล้ยุโรป และกล่าวต่อไปถึง “ความสามารถอันเป็นธรรมชาติ” ของพระองค์<ref>Clot, 155</ref>
 
เป็นที่เชื่อกันร็อกเซลานามีส่วนเกี่ยวข้องกันการเสนอชื่อผู้ที่จะมาสืบราชบัลลังก์ต่อจากสุลต่านสุลัยมาน แม้ว่าในฐานะที่เป็นพระชายาของสุลต่านแล้วร็อกเซลานาก็ไม่น่าจะมีอำนาจอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับสตรีในยุคเดียวกัน แต่ทั้งนี้ก็มิได้เป็นการหยุดยั้งร็อกเซลานาในการพยายามใช้อิทธิพลทางการเมือง โดยเฉพาะเมื่อจักรวรรดิไม่มีกฎเกณฑ์อย่างเป็นทางการในการแต่งตั้งรัชทายาท การหาตัวผู้สืบราชบัลลังก์จึงมักจะเป็นกระบวนการที่มักทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างผู้คิดว่าตนมีสิทธิในราชบัลลังก์ ซึ่งเป็นผลทำให้มีการเสียชีวิตกันบ้าง และเพื่อที่จะเป็นการป้องกันการเสียชีวิตของพระโอรสร็อกเซลานาก็พยายามใช้อิทธิพลในการกำจัดผู้ที่สนับสนุนมุสตาฟาในการขึ้นครองราชบัลลังก์<ref name="Mansel, 84."/>