ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลัยมานผู้เกรียงไกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 117:
ภายใต้การปกครองของสุลต่านสุลัยมานจักรวรรดิออตโตมันก็เข้าสู่ยุคทองทาง[[วัฒนธรรม]] สมาคมช่างศิลป์หลวงหลายแขนงที่เรียกว่า “Ehl-i Hiref” หรือ “สมาคมผู้มีพรสวรรค์” ก็ได้มีการก่อตั้งขึ้นมาเป็นจำนวนร้อย สมาคมช่างศิลป์เหล่านี้ที่บริหารจากราชสำนักใน[[พระราชวังโทพคาปิ]] หลังจากการฝึกงานแล้วศิลปินและช่างก็สามารถเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปในแขนงที่ต้องการและได้รับรายได้สี่ครั้งต่อปี รายการการจ่ายเงินประจำปีก็ยังมีเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความมีบทบาทในการอุปถัมภ์ศิลปะของพระองค์ หลักฐานแรกของสมาคมช่างศิลป์มีมาตั้งแต่ [[ค.ศ. 1526]] ที่เป็นรายชื่อของสมาคม 40 สมาคมพร้อมด้วยสมาชิกกว่า 600 คน “สมาคมผู้มีพรสวรรค์” เป็นสิ่งที่ดึงดูดศิลปินผู้มีฝีมือมายังราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานทั้งจากในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามด้วยกัน และจากดินแดนที่ทรงพิชิตได้ในยุโรปซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการผสมผสานทางศิลปะระหว่างวัฒนธรรมอิสลาม ตุรกี และยุโรป<ref>Atıl, [http://www.saudiaramcoworld.com/issue/198704/the.golden.age.of.ottoman.art.htm The Golden Age of Ottoman Art], 24–33.</ref> ศิลปินที่เป็นข้าราชสำนักก็มีด้วยกันหลายสาขาที่รวมทั้ง จิตรกร ผู้ประกอบหนังสือ ช่างงานขนสัตว์ ช่างอัญมณี และช่างทองเป็นต้น ขณะที่ศิลปะในสมัยการปกครองก่อนหน้านั้นเป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเปอร์เชีย แต่ศิลปะในรัชสมัยของพระองค์เป็นศิลปะที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตนเองโดยเฉพาะ<ref>Mansel, 70</ref>
 
นอกจากการสนับสนุนในด้านศิลปะแล้วสุลต่านสุลัยมานเองก็ยังทรงเป็นกวีผู้มีความสามารถและทรงพระราชนิพนธ์ได้ทั้งในภาษาเปอร์เซียและภาษาตุรกีโดยทรงใช้[[นามปากกา]]ว่า “Muhibbi” (คนรัก) ข้อเขียนของพระองค์บางข้อกลายมาเป็นสุภาษิตที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น “ทุกคนมีความประสงค์ที่จะหมายความอย่างเดียวกัน แต่ต่างคนต่างก็มีเรื่องราวที่ต่างกัน” เมื่อพระราชโอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี [[ค.ศ. 1543]] สุลต่านสุลัยมานก็ทรงประพันธ์[[เลขอักษร]] (chronogram) ที่สะเทือนอารมณ์เพื่อเป็นเกียรติแก่ปีนั้น: “ยุพราชผู้ไม่มีผู้ใดเท่าเทียม สุลต่านเมห์เหม็ดของข้า” พระนิพนธ์ที่ทรงเป็นภาษาตุรกีที่เทียบเท่ากับปี ฮ.ศ. 950 ที่เทียบเท่ากับปี [[ค.ศ. 1543]] อันเป็นปีสิ้นพระชนม์ของพระราชโอรส<ref name=byegm>Halman, [http://web.archive.org/web/20060309091926/http://www.byegm.gov.tr/yayinlarimiz/NEWSPOT/1999/JulyAug/N6.htm Suleyman the Magnificent Poet]</ref><ref>[http://www.turkcebilgi.net/kim-kimdir/m/muhibbi-kanuni-sultan-suleyman-31612.html Muhibbî (Kanunî Sultan Süleyman) {{tr icon}}] In Turkish the chronogram reads شهزاده‌لر گزيده‌سی سلطان محمدم (''Şehzadeler güzidesi Sultan Muhammed’üm''), in which the Arabic Abjad numerals total 950, the equivalent in the Islamic calendar of 1543&nbsp;AD.</ref> นอกจากงานประพันธ์ของพระองค์แล้วก็ยังมีงานประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของนักประพันธ์อื่นๆอื่น ๆ เช่น[[ฟูซูลิ]] และ [[บาคี]] นักประวัติศาสตร์วรรณกรรม อี. เจ. ดับเบิลยู. กิบบ์ตั้งข้อสังเกตว่า “ไม่มีสมัยใด แม้แต่ในตุรกีเอง ที่มีการส่งเสริมสนับสนุนการกวีเท่ากับในรัชสมัยของสุลต่านพระองค์นี้”<ref name=byegm /> บทเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดของพระองค์คือ:
<br />{{quote|''มนุษย์เรามีความคิดว่าความมั่งคั่งและอำนาจคือสิ่งที่เป็นที่เลิศที่สุดที่เกิดขึ้นได้,''</br>
''แต่ในโลกนี้ความมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด''</br>