ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุลัยมานผู้เกรียงไกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 95:
ในปี [[ค.ศ. 1542]] เมื่อต่างก็ต้องเผชิญกับอันตรายจากการขยายอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก[[พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]]ก็ทรงรื้อฟื้นข้อตกลงพันธมิตรฝรั่งเศส-ออตโตมัน ซึ่งเป็นผลทำให้สุลต่านสุลัยมานทรงส่งกองเรือ 100 ลำ<ref>Kinross, 53</ref> ภายใต้การนำของ[[คาเอียร์ อัด ดิน|บาร์บารอสซา เฮย์เรดดิน ปาชา]]ไปช่วยฝรั่งเศสทางด้านตะวันตกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บาร์บารอสซาปล้นสดมฝั่งทะเล[[เนเปิลส์]]และ[[ซิซิลี]]ก่อนที่จะไปถึงฝรั่งเศส พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงตั้งตูลองให้เป็นกองบัญชาการของกองทัพเรือของจักรวรรดิออตโตมัน การรณงค์ครั้งนี้เป็นครั้งเดียวกับที่บาร์บารอสซาโจมตีและยึด[[นีซ]] ในปี [[ค.ศ. 1543]] ภายในปี [[ค.ศ. 1544]] ก็ได้มีการสงบศึกระหว่างพระเจ้าฟร็องซัวกับจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ซึ่งก็เท่ากับเป็นการยุติการเป็นพันธมิตรระหว่างฝรั่งเศสและจักรวรรดิออตโตมัน
 
ทางด้านอื่นของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่ออัศวินแห่งโรดส์ไปตั้งหลักแหล่งใหม่ที่มอลตาเป็น[[อัศวินฮอสปิทัลเลอร์]]ในปี [[ค.ศ. 1530]] การเป็นศัตรูต่อกองเรือมุสลิมของอัศวินในบริเวณนั้นสร้างความไม่พึงพอใจให้แก่จักรวรรดิออตโตมันผู้รวบรวมกองกำลังใหญ่เพื่อจะไปกำหราบอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ให้เสร็จสิ้น จักรวรรดิออตโตมันยกทัพไปรุกรานมอลตาในปี [[ค.ศ. 1565]] และเริ่มเข้าล้อมเมืองเมื่อวันที่ [[18 พฤษภาคม]] และไม่ได้สิ้นสุดลงจนกระทั่งถึงวันที่ [[11 กันยายน]] [[ค.ศ. 1565]] เมื่อเริ่มแรกสถานะการณ์ก็คล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นที่[[โรดส์]] เมื่อเมืองต่างๆต่าง ๆ ถูกทำลายไปเป็นส่วนมากและครึ่งหนึ่งของอัศวินถูกสังหาร แต่มอลตาได้รับความช่วยเหลือจาก[[สเปน]]ซึ่งเป็นผลให้ฝ่ายออตโตมันต้องสูญเสียกองกำลังไปถึง 30,000 คนก่อนที่จะพ่ายแพ้<ref>[http://www.malta.com/about-malta/history-of-malta.html The History of Malta]</ref> [[การล้อมมอลตา (ค.ศ. 1565)|การล้อมมอลตา]]เป็นยุทธการที่[[ยุโรป]]ถือว่าเป็นยุทธการที่สำคัญที่สุดยุทธการหนึ่งของยุโรปที่[[วอลแตร์]]ถึงกับกล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นที่รู้จักกันมากเท่ากับการล้อมมอลตา” และเป็นยุทธการครั้งแรกที่ทำให้ยุโรปยุติความเชื่อในความคงกระพันของ[[จักรวรรดิออตโตมัน]] และเป็นการเริ่มต้นของความมีอิทธิพลของ[[สเปน]]ในบริเวณเมดิเตอเรเนียน<ref>Fernand Braudel, ''The Mediterranean and the Mediterranean World in the Age of Philip II'', vol. II ( University of California Press: Berkeley, 1995).</ref>
 
== การปฏิรูปทางด้านกฎหมายและด้านการศึกษา ==