ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจียง ไคเชก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 107:
สงครามสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของราชสำนักชิง ทำให้จีนต้องถูกบีบบังคับให้ลงนามใน[[สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ]] ความอัปยศดังกล่าวทำให้เจียงเห็นว่าจีนควรเรียนรู้บทเรียนจากสงครามครั้งนี้และควรศึกษาจากความสำเร็จทางการทหารของญี่ปุ่น แม้ว่าเจียงจะไม่ชอบการที่ญี่ปุ่นได้รุกรานและข่มเหงประเทศจีนก็ตาม แต่เขากลับเห็นว่าหากประเทศจีนจะเข้มแข็งได้ต้องเรียนรู้จากศัตรู เขาจึงคิดจำใจไปเรียนทางด้านการทหารที่ญี่ปุ่นและหาวิธีเดินทางไปญี่ปุ่น
 
เจียงได้ขออนุญาติอนุญาตมารดาของเขาเพื่อไปเรียนโรงเรียนการทหารของญี่ปุ่น ในช่วงแรกเธอคัดค้าน แต่ด้วยความมุมานะและพยายามอ้อนวอนมารดาของเจียงให้คล้อยตามจนในที่สุดมารดาของเขาก็อนุญาติอนุญาตและสนับสนุนทางด้านการเงินไปต่างประเทศ<ref>{{cite book |title=《董顯光自傳:一個中國農夫的自述》 |location=台北 |publisher=台灣新生報社 |year=1981}}</ref> ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1906 เมื่อเจียงเดินทางถึงญี่ปุ่นเขาพยายามสมัครเข้าโรงเรียนทหารทันทีแต่กลับถูกปฏิเสธและเมื่อเงินที่ได้มาเริ่มขัดสนเขาจึงเดินทางกลับประเทศจีน
 
ในปีเดียวกันเมื่อเจียงเดินทางกลับมา เหมาฝูเหม่ยภรรยาของเขาได้ให้กำเนิดบุตรชายแก่เจียงคนแรก เจียงตั้งชื่อลูกชายว่า [[เจียง จิงกั๋ว]] ต่อมาเจียงได้เข้าสมัครการฝึกฝนการทหารที่[[โรงเรียนการทหารเป่าติ้ง]]ที่เป็นสถาบันการทหารที่สนับสนุนโดยราชวงศ์ชิง เมื่อเจียงได้เข้ารับการฝึกที่เป่าติ้ง เขาได้ฝึกฝนอย่างขยันหมั่นเพียรและเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาตลอดสร้างความประทับใจให้แก่ครูฝึกและเพื่อนทหารเป็นอย่างมาก จนกระทั่งเจียงได้ขึ้นชั้นปี 2 ของโรงเรียนทหาร เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนตัวแทนนักเรียนทหารแลกเปลี่ยนจีน หนึ่งในสี่นายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารของญี่ปุ่น<ref name=傳1 >{{cite book |editor=[[王成斌]]等[[主編]] |title=《民國高級將領列傳》(1) |location=北京 |publisher=[[解放軍出版社]] |year=1998 |isbn=7506502615 }}</ref>
บรรทัด 118:
 
<gallery widths="200px" heights="220px">
Fileไฟล์:jiangjp.jpg|เจียงไคเชกในเครื่องแบบทหารญี่ปุ่น ขณะศึกษาที่ญีปุ่น
Fileไฟล์:Chiang-Kai-shek 24.jpg|เจียงไคเชกขณะสังกัดหน่วยทะคะดะ
</gallery>
===ในฐานะนักปฏิวัติ===
ระหว่างที่เรียนที่ญี่ปุ่นนี้เองเจียงได้ข่าวการเคลื่อนไหวของดร. [[ซุน ยัตเซ็น]] ผู้ซึ่งต้องลี้ภัยหนีการตามล่ามาอยู่ญี่ปุ่นเนื่องจากเป็นผู้นำในขบวนการปฎิวัติปฏิวัติเพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิงหรือ "[[ถงเหมิงฮุ่ย]]" เจียงยังได้พบกับ[[เฉิน ฉี่เหม่ย]]ที่เป็นชาวเจ้อเจียงเหมือนกัน เฉินฉี่เหม่ยได้ช่วยสอนด้านลัทธิการเมืองให้กับเจียง เขาเปรียบเสมือนเป็นครูที่ดีและต่อมาได้กลายมาเป็นสหายคนสนิทของเจียง ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในคำปราศรัยของดร.ซุนที่จะปฏิวัติเพื่อล้มล้างการปกครองของราชวงศ์ชิงและก่อตั้งสาธารณรัฐ ปีเดียวกันนั้นเฉิน ฉี่เหม่ยได้พาเจียงเข้าร่วมขบวนการถงเหมิงฮุ่ย
 
เจียงรู้สึกตื่นเต้นและชื่นชมความกล้าหาญของนักปฏิวัติพวกนี้และคิดว่าเขาควรจะถือปืน หัดวางแผน เคลื่อนไหวทางการเมืองเหมือนนักปฏิวัติบ้าง เขาตัดทรงผมหางเปียแบบแมนจูทิ้งในที่สุด