ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพุทธโสธร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
}}
 
'''หลวงพ่อโสธร''' หรือ '''หลวงพ่อพระพุทธโสธร''' เป็น[[พระพุทธรูป]]สำคัญของ[[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ[[วัดโสธรวรารามวรวิหาร]] [[อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา|อำเภอเมือง]] จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปหินทราย 11 ชิ้น สมัยอยุธยาตอนต้น หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ พระพักตร์ค่อนข้างกลมแป้น พระขนงโก่งเล็กน้อย พระเนตรเล็กหรี่ เหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์เล็ก สีพระพักตร์ขรึมแบบอยุธยา ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูน ในภายหลังและลงรักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว ศิลปะล้านช้าง (ปัจจุบันกะเทาะปูนออกแล้ว)
 
== พุทธลักษณะ ==
บรรทัด 37:
ส่วนองค์สุดท้ายได้ลอยไปอยู่ใน[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ประชาชนละแวกนั้นก็หลั่งไหลมาอาราธนาขึ้นฝั่งฉุดขึ้นเป็นการใหญ่แต่ก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เล่ากันว่ามีประชาชนพากันมาฉุดนับได้ถึงสามแสนคน จึงเรียกสถานที่นั้นว่า ''สามแสน'' ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น ''สามเสน'' และเรียกกันอยู่ทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ก็ลอยไปผุดขึ้นที่[[คลองสำโรง]] จังหวัด[[สมุทรปราการ]] ประชาชนจึงได้ได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่[[วัดบางพลีใหญ่ใน|วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม]]หรือ[[วัดบางพลีใหญ่ใน]]ตราบจนทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกรูปหนึ่งของเมืองไทย คือ [[หลวงพ่อโต (บางพลี)|หลวงพ่อโต]] วัดบางพลีใหญ่ใน<ref>http://www.heritage.thaigov.net/religion/pra/index05.htm#top</ref>
 
บางตำนานได้เล่าว่ามีพระพุทธรูปพี่น้องอยู่ห้าองค์ อีกสององค์คือ '''หลวงพ่อไร่ขิง''' [[วัดไร่ขิง]] จังหวัด[[นครปฐม]] และ '''หลวงพ่อ(ทอง)เขาตะเครา''' [[วัดเขาตะเครา]] จังหวัด[[เพชรบุรี]] และบางพื้นที่เล่าเป็นพระพุทธรูปพี่น้องหกองค์ โดยเพิ่ม '''หลวงปู่หิน''' [[วัดอ่างศิลา]] จังหวัด[[ชลบุรี]] ด้วย
 
[[ไฟล์:พระพุทธโสธร.jpg|right|thumb|พระพุทธโสธร เมื่อยังถูกปูนหุ้มเป็นศิลปะล้านช้างอยู่]]
 
== ประวัติศาสตร์ ==
 
หลวงพ่อโสธร น่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธร มานานแล้ว อย่างน้อยๆ ก็ ถึง สมัยเจ้าสามพระยา (500-600 ปีก่อน) เป็นพระหินทรายประกอบสมัยอยุธยา และเดิมที วัดนี้ก็ชื่อโสธร ตามชื่อคลองโสธร มานานแล้ว ไม่มีหลักฐานที่บอกว่าชื่อ วัดหงษ์ เพราะ เสาหงษ์หัก เลยชื่อ เสาทอน เพี้ยนมาเป็นโสธร ตามตำนานหลวงพ่อโสธร นิราศฉะเชิงเทราและโคลงนิราศปราจีนบุรี ที่แต่งในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อกวีเดินทางผ่านบ้านโสธร ก็กล่าวถึงเพียงวัดโสธรเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงหลวงพ่อโสธรเลย
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พ.ศ.2416 พระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ได้สร้างพระอุโบสถ[[วัดโสธรวรารามวรวิหาร]] และสร้างถนนดินจากหน้าเมืองมาวัดโสธร 26 เส้น นางมีภรรยาได้สร้างศาลาและขุดสระกึ่งกลางถนน สันนิฐานว่าการบูรณะครั้งนั้น ได้พอกปูนปั้นหลวงพ่อโสธรทำให้กลายเป็นพุทธศิลป์ล้านช้าง เพราะกลุ่มช่างที่บูรณะมาจากเมืองพนมสารคาม หลังจากนั้นก็ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา<ref>https://www.facebook.com/groups/1589234758024165/permalink/1637499019864405/</ref>
 
ส่วนตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำมานั้น สันนิฐานว่ามาจากกลุ่มคนมอญแถววัดโสธรที่นำตำนานพระลอยน้ำจาก[[พระราชพงศาวดารเหนือ]] มาอธิบายประวัติหลวงพ่อโสธร
 
== พระอุโบสถหลังใหม่ ==
 
แต่เดิม หลวงพ่อพุทธโสธรประทับอยู่ในโบสถ์หลังเก่าที่มีขนาดเล็กซึ่งสร้างใหม่ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รวมกับพระพุทธรูปองค์อื่นๆอีก 18 องค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509 [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จราชดำเนินมาที่วัดแห่งนี้ มีพระราชปรารภเรื่องความคับแคบของพระอุโบสถเดิม พระจิรปุณโญ (ด. เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาสจึงได้รวบรวมเงินบริจาคเพื่อจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงเป็นองค์ประธานการสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 <ref name="eit"/>
เส้น 48 ⟶ 58:
 
ศิลปะภายในพระอุโบสถหลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพ[[จิตรกรรมฝาผนัง]]โดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร [[จตุโลกบาล]] [[สวรรค์ชั้นดาวดึงส์]] [[พรหมโลก]] ดวงดาว และ[[จักรวาล]] โดยตำแหน่งของดวงดาวบนเพดาน กำหนดตำแหน่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ
 
อนึ่ง ในการสร้างพระอุโบสถใหม่ครั้งนั้น [[กรมศิลปากร]]ได้ทำการกะเทาะปูนปั้นที่หุ้มองค์หลวงพ่อโสธรออก ทำให้พบว่าหลวงพ่อโสธรเป็นหินทราย 11 ชิ้น ศิลปะอยุธยาตอนต้น โดย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] พระพรหมคุณาภรณ์ (จิรปุญโญ ด.เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาส[[วัดโสธรวรารามวรวิหาร]] และดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ อดีตอธิบดี[[กรมศิลปากร]] ได้ร่วมเป็นพยานบุคคลในการปฏิบัติงานกะเทาะปูนหลวงพ่อโสธรด้วย<ref>https://www.facebook.com/groups/1701315680134641/permalink/1773220919610783/</ref>
 
[[ไฟล์:34291.jpg|right|thumb|พระพุทธโสธรและพระพุทธรูป18องค์]]