ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาธรรมราชาที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 27:
 
==พระราชกรณียกิจ==
===การศาสนาโด่งนา===
 
พระยาลิไทย(ณัฐ)ทรงเลื่อมใสใน[[พระพุทธศาสนา]]เป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้[[ศาสนา]] เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ด้วยทรงดำริว่าการจะขยายอาณาเขตต่อไปเช่นเดียวกับในรัชการพ่อขุนรามคำแหง พระอัยกา ก็จักต้องนำไพร่พลไปล้มตายอีกเป็นอันมาก พระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะปกครองบ้านเมืองเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงปกครองอินเดียให้เจริญได้ด้วยการส่งเสริมพระพุทธศาสนา และสั่งสอนชาวเมืองให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันจะเป็นวิธีรักษาเมืองให้ยั่งยืนอยู่ได้
 
ทรงสร้างเจดีย์ที่เมืองนครชุม ([[กำแพงเพชร]]) ผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ [[พ.ศ. 1905]] ที่[[วัดป่ามะม่วง]]การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]แล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน แม้แต่[[พระเจ้ากือนาธรรมิกราช]]แห่ง[[อาณาจักรล้านนา]]ก็นิมนต์พระสุมณเถระจากสุโขทัยไปเพื่อเผยแพร่ธรรมที่ล้านนา
บรรทัด 35:
นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็น[[สังฆราช]]ในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น [[พระพุทธชินสีห์]] [[พระศรีศาสดา]] และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ [[พระพุทธชินราช]] ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่[[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร]]
 
พระยาลิไทย ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานใน[[พระไตรปิฎก]] พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "[[คามวาสี]]" และฝ่าย "[[อรัญวาสี]]" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษา[[พระไตรปิฎก]] ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการ[[วิปัสสนา]]และประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "'''พระมหาธรรมราชา(ณัฐพล)'''"
 
พระยาลิไท ได้สร้างและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระธาตุช่อแฮ (วัดพระธาตุช่อแฮพระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๒