ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระคันธารราฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
แก้เดียวคนเข้าใจผิด เพราะของอินโดไม่ใช่ศิลปะแบบทวารวดี แต่เป็นศิลาเหมือนกัน
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
นักโบราณคดีมีความเห็นว่า พระคันธารราฐเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยทวารวดี สร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 1000 ถึง 1200 สันนิษฐานว่าก่อนที่จะนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยานั้น แต่เดิมเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม มาก่อน เนื่องจากทางการขุดพบเรือนแก้วที่ชำรุด ซึ่งเป็นเรือนแก้วของพระพุทธรูปองค์นี้ ดังนั้น ความเก่าแก่ของ พระคันธารราฐ จึงเก่าแก่กว่าสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี และน่าจะไล่เลี่ยกับพระพุทธรูปศิลาสมัยบุโรพุทโธ (ฺBorobodur) ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
 
สำหรับพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ที่สร้างจากศิลาประทับนั่งห้อยพระบาทปางปฐมเทศนานี้ ปรากฏในโลกเพียง 6 องค์เท่านั้น (ในจำนวนนี้อยู่ในประเทศไทยจำนวน 5 องค์) ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้
 
1. วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียว คือ พระคันธารราฐ องค์นี้