ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดสุราษฎร์ธานี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
E chang (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
| เว็บบอร์ด = http://www.suratboard.com/board/index.php
}}
'''จังหวัดสุราษฎร์ธานี''' มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า '''สุราษฎร์ฯ''' ใช้อักษรย่อ '''สฎ''' เป็นจังหวัดใน[[ภาคใต้ (ประเทศไทย)|ภาคใต้ตอนบน]] มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นอันดับ 6 ของ[[ประเทศไทย]] และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานโดย มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เก่าแก่มากมาย<ref>[http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/suratahani2.htm พัฒนาการทางประวัติศาสตร์: จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หอมรดกไทย]</ref> และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและ[[:หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี|อุทยานแห่งชาติ]]หลายแห่ง มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ [[จังหวัดชุมพร|ชุมพร]] [[จังหวัดนครศรีธรรมราช|นครศรีธรรมราช]] [[จังหวัดกระบี่|กระบี่]] [[จังหวัดพังงา|พังงา]] และ[[จังหวัดระนอง|ระนอง]]
 
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 108 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจาก[[จังหวัดพังงา]]ที่มี 155 เกาะ และ[[จังหวัดภูเก็ต]]ที่มี 154 เกาะ<ref>{{cite web|url=http://www.youtube.com/watch?v=b0J-uQy42vM|title=แฟนพันธุ์แท้ 25 เมษายน 2557 - เกาะทะเลไทย|date=25 April 2014|accessdate=29 April 2014|publisher=แฟนพันธุ์แท้}}</ref> เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น [[อำเภอเกาะสมุย|เกาะสมุย]] [[เกาะพะงัน]] [[เกาะเต่า]] และ[[อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง|หมู่เกาะอ่างทอง]] เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนว[[เทือกเขาตะนาวศรี]] [[เทือกเขาภูเก็ต]] และ[[เทือกเขานครศรีธรรมราช]] <ref>[http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/South/EconomicReport/DocLib_Structure/structure_south.pdf โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้โดยธนาคารแห่งประเทศไทย หน้า 1]</ref> แถบบริเวณ[[จังหวัดระนอง]] [[จังหวัดชุมพร]] [[จังหวัดพังงา]] [[จังหวัดภูเก็ต]] และ[[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม
บรรทัด 45:
สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น [[พระบรมธาตุไชยา]] พระธาตุศรีสุราษฎร์ [[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา]] ซากเมืองโบราณ[[อาณาจักรศรีวิชัย|สมัยอาณาจักรศรีวิชัย]] แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ [[:หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี|อุทยานแห่งชาติ]]ทั้ง[[:หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี|อุทยานแห่งชาติทางบก]] และ[[:หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในจังหวัดสุราษฎร์ธานี|อุทยานแห่งชาติทางทะเล]] น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย
 
นอกจากนี้ ยังมีผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น [[ไข่เค็ม|ไข่เค็มไชยา]] [[หอยนางรม]] และ[[เงาะโรงเรียน]] ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวัดว่า "เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ"
 
== สัญลักษณ์ประจำจังหวัด ==
บรรทัด 86:
== ประวัติศาสตร์ ==
 
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นที่ตั้งของเมืองเก่า เป็นศูนย์กลางของ[[อาณาจักรศรีวิชัย|เมืองศรีวิชัย]] มีหลักฐานแสดงถึงการตั้งรกรากและเส้นทางสายไหมในอดีต พื้นที่[[อำเภอไชยา]]เจริญขึ้นจนเป็น[[อาณาจักรศรีวิชัย]]ในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองในอดีตว่าอาณาจักรศรีวิชัยมียิ่งใหญ่ครอบครองทั่วทั้งแหลมมลายูมหาอำนาจทางทะเลและการค้าสมัยโบราณ ภายหลังยังเชื่อว่า เมื่อ[[อาณาจักรตามพรลิงก์]]หรือ[[จังหวัดนครศรีธรรมราช|เมืองนครศรีธรรมราช]]มีความรุ่งเรืองมากขึ้นนั้น ทำให้อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงจนลดขนาดกลายเป็นเมืองไชยาก็และเป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของ[[จังหวัดนครศรีธรรมราช|เมืองนครศรีธรรมราช]]ด้วย ชื่อว่า "[[อาณาจักรศรีวิชัย|เมืองบันไทยสมอ]]"<ref name="ประวัติ">[http://gis.suratthani.go.th/poc/index.php ระบบสารสนเทศจังหวัดสุราษฎร์ธานี] เรียกดู "ประวัติความเป็นมา" </ref>
 
นอกจากนี้ในยุคใกล้เคียงกันนั้นยังพบความเจริญรุ่งเรืองของเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปี ได้แก่ [[อำเภอเวียงสระ|เมืองเวียงสระ]] [[อำเภอคีรีรัฐนิคม|เมืองคีรีรัฐนิคม]] และ[[ท่าทอง|เมืองท่าทอง]] โดยเชื่อว่า[[พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช]] [[:หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์นครศรีธรรมราช|ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช]]นั้นอพยพย้ายเมืองมาจาก[[อำเภอเวียงสระ|เมืองเวียงสระ]] เนื่องจากเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาด<ref name="เมืองโบราณ">ฐานข้อมูลท้องถิ่น, [http://www.kunkru.sru.ac.th/rLocal/stories.php?story=01/09/12/7550341 เมืองโบราณ], สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี </ref> และเมื่อ[[จังหวัดนครศรีธรรมราช|เมืองนครศรีธรรมราช]]เจริญรุ่งเรืองนั้น ได้ยก[[อำเภอไชยา|เมืองไชยา]] และ[[ท่าทอง|เมืองท่าทอง]] เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของตนด้วย
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งอู่เรื่อพระที่นั่งและเรือรบเพื่อใช้ในราชการที่[[อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี|อ่าวบ้านดอน]] ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงให้ย้ายที่ตั้งเมืองท่าทองมายัง[[อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี|อ่าวบ้านดอน]] พร้อมทั้งยกฐานะให้เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อ[[กรุงเทพมหานคร]] และพระราชทานชื่อว่า "[[ท่าทอง|เมืองกาญจนดิษฐ์]]"<ref name="ประวัติ" /> โดยแต่งตั้งให้[[ท่าทอง|พระยากาญจนดิษฐ์บดี]]เป็นเจ้าเมืองดูแลการปกครอง